http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

รู้จักและเข้าใจกลิ่นคนแก่

รู้จักและเข้าใจ 'กลิ่นคนแก่' ที่ทุกคนต้องเจอเมื่ออายุมากขึ้น 

"กลิ่นคนแก่" คืออะไร เกิดจากสาเหตุใด? ชวนทำความรู้จักกลิ่นเฉพาะตัวที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคนเมื่ออายุมากขึ้น เพื่อเรียนรู้และเข้าใจ "ผู้สูงอายุ" รวมถึงเตรียมพร้อมสำหรับตัวเราเองในวันที่ความชรามาเยือน

ใครที่ไปดูหนังเรื่อง "หลานม่า" มาแล้ว คงจะจำซีนที่สองตัวละคร "มุ่ย" กับ "เอ็ม" คุยกันเรื่อง "กลิ่นคนแก่" กันได้ แม้มุ่ยจะแนะนำว่า ต้องใช้เวลาและความคุ้นชินเท่านั้น กลิ่นถึงจะหายไปจากการรับรู้ แต่หากมองให้ลึกลงไปกว่านี้ ยังมีแง่มุมความอ่อนไหวซ่อนอยู่ โดยเฉพาะผลกระทบทางด้านจิตใจที่อาจบั่นทอนความมั่นใจของ ผู้สูงอายุ หากลูกหลานหรือคนดูแลขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของกลิ่นที่เปลี่ยนไปเมื่ออายุมากขึ้น

"กลิ่นคนแก่" คืออะไร มาจากไหน?

เมื่อพูดถึง "กลิ่นคนแก่" ในมุมทั่วๆ ไป อาจไม่มีคำนิยามตายตัว บางครอบครัวอาจได้กลิ่นที่อธิบายเป็นรูปธรรมไม่ได้ แต่สัมผัสได้ถึงกลิ่นที่ผสมผสานระหว่างกลิ่นข้าวของเครื่องใช้ของผู้สูงอายุ กลิ่นของความรัก ความอบอุ่น และความเป็นมิตร หรือกลิ่นที่เกิดจากการปรุงแต่งเข้าไป เช่น กลิ่นแป้งเย็น กลิ่นยาหม่อง เป็นต้น ที่น่าสนใจคือ หลายคนเปรียบเทียบกลิ่นคนแก่กับกลิ่นหนังสือเก่า ซึ่งคนส่วนใหญ่มองว่าเป็นกลิ่นที่ปลอดภัยและมีความสุข

แต่หากมองในมุมวิชาการ กลิ่นคนแก่เกิดจากอะไร สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 สาเหตุหลักๆ ดังนี้
  • กลไกธรรมชาติตามช่วงวัย : เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น สารต้านอนุมูลอิสระที่ผิวจะค่อยๆ ลดลง ทำให้เวลาที่ต่อมไขมันผลิตไขมันออกมา จะมีปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศได้มากขึ้น เกิดเป็นสารตัวหนึ่งที่เรียกว่า 2-nonenal ซึ่งเป็นแหล่งที่มาหลักของกลิ่นคนแก่นั่นเอง โดยสารตัวนี้มีคุณสมบัติไม่ละลายน้ำ ส่งผลให้กลิ่นติดทนบนเสื้อผ้าหรือข้าวของเครื่องใช้ได้ดี 
  • การเกิดโรคในร่างกาย : มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์อธิบายว่า "กลิ่นคนแก่" เป็นการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพหรือสภาพโรคตามธรรมชาติในร่างกาย ยิ่งอายุมากขึ้น ภูมิคุ้มกันโดยรวมจะค่อยๆ ลดลง ในขณะที่โรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรังต่างๆ ก็จะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น โดยร่างกายมนุษย์มีกรดไขมันที่เรียกว่า "กรดไขมันอิสระ" ผู้ป่วยเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ หรือโรคบางโรคจะมีกรดไขมันอิสระที่มีความเข้มข้นสูงกว่าคนปกติ เมื่อกรดไขมันอิสระเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันก็จะเกิดสาร 2-nonenal ที่มีความเข้มข้นสูง ทำให้กลิ่นชัดเจนยิ่งขึ้น
  • ปัจจัยอื่นๆ : ผลจากการทำงานของเมตาบอลิซึมที่ค่อยๆ เสื่อมลง ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระที่ไม่ดีเช่นเดิม บวกกับเหงื่อและความมันที่มักสะสมบนผิวหนัง รวมถึงการอักเสบที่เกิดจากความเสื่อมของลำไส้ ช่องปาก และระบบอื่นๆ ก็เป็นสาเหตุของการเกิดกลิ่นได้เช่นกัน
    "กลิ่นเฉพาะตัว" กับผู้ใหญ่วัย 40+
    ในวัย 40+ ถือเป็นช่วงวัยที่ค่อยๆ แสดงสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายหลายอย่าง หนึ่งในนั้นก็คือเรื่องของ "กลิ่นเฉพาะตัว" โดยผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์มีรายงานพบว่า ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จะมีสาร 2-nonenal ในปริมาณที่สูงกว่าในเหงื่อและบนผิวหนัง ซึ่งเป็นสารประกอบเดียวกับที่พบในเบียร์บ่ม สามารถอธิบายลักษณะกลิ่นได้ว่า เป็นกลิ่นหญ้าและกลิ่นมันเยิ้ม หากมีการสูบบุหรี่ ไม่ดูแลเรื่องอาหารการกิน หรือสุขอนามัยส่วนตัวก็จะยิ่งส่งผลต่อการผลิตและสะสมของสารประกอบที่มีกลิ่นบนผิวหนัง ทำให้กลิ่นคนแก่ ชัดเจนและรุนแรงขึ้น จนกลายปัญหาต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจตามมาได้

    กลิ่นแก่..แก้ยังไงดี?

    แม้ว่ากลิ่นของร่างกายจะเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติเมื่อคนเราอายุมากขึ้น แต่ก็อาจทำให้ใครหลายคนสูญเสียความมั่นใจ เพราะกลิ่นจะติดไปกับเสื้อผ้า และข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ถ้ารู้สึกไม่สบายใจ ลองเอาวิธีเหล่านี้ไปปรับใช้กับตัวเองหรือผู้สูงอายุที่บ้านกันดูได้

    • อาบน้ำอุ่นหรือเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นบ่อยๆ เพื่อให้รูขุมขนขยาย โดยเฉพาะบริเวณหลังหู หลังคอ หน้าอก และหลัง ช่วยชะล้างคราบต่างๆ ที่ทำให้เกิดกลิ่นตามรูขุมขนได้
    • ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกายที่มีกลิ่นหอม มีสารสกัดจากลูกพลับ หรือส่วนผสมของสารส้ม โดยตามตำราแพทย์แผนจีนโบราณ ถือว่าสารส้มเป็นยาดับกลิ่นที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อตามธรรมชาติ สามารถใช้ขจัดน้ำมันใต้วงแขน เท้า หลัง และหลังใบหูของผู้สูงอายุ ช่วยระงับกลิ่นกายและเหงื่อได้
    • กินอาหารที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี เป็นต้น 
    • ดื่มน้ำให้เพียงพอ จิบบ่อยๆ ระหว่างวัน ช่วยรักษาสมดุลในร่างกาย ชะล้างสิ่งตกค้าง ทำให้ระบบต่างๆ ทำงานได้ปกติ แถมยังช่วยลดกรดไขมัน และผลกระทบจากความรุนแรงของกลิ่นเฉพาะวัยได้ด้วย
    • ลดเนื้อสัตว์และอาหารที่มีไขมันสูง เพราะไขมันในเนื้อสัตว์จะไปกระตุ้นให้ต่อมไขมันขับความมันส่วนเกินออกมามากขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวการสำคัญทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์
    • เลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่คือตัวการที่ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานแย่ลง เกิดการสะสมของเสียในร่างกาย และเกิดกลิ่นตามต่อมผิวหนังที่ต้องขับออกมามากกว่าเดิม
    • ออกกำลังกายหรือพยายามเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อให้ต่อมเหงื่อขยายและขับของเสียออกไป ลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียและสิ่งสกปรก
    • ระบายอากาศบริเวณที่อยู่อาศัยเป็นประจำ เพราะบางครั้งสภาพแวดล้อมในห้องของผู้สูงอายุอาจมีความอับชื้น ส่งผลให้กลิ่นมีความรุนแรงขึ้น
    • ซักเสื้อผ้า ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอนเป็นประจำ แม้ว่าสาร 2-nonenal จะไม่สามารถละลายน้ำได้ แต่น้ำร้อนหรือผลิตภัณฑ์ซักผ้าที่ขจัดคราบไขมันอาจช่วยได้

    เรื่อง "กลิ่นคนแก่" แม้จะเป็นกลิ่นสัจธรรมที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนเมื่ออายุมากขึ้น แต่ก็เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ลูกหลานต้องทำความเข้าใจ ทั้งการปฏิบัติตัว และการดูแล ผู้สูงอายุ ด้วยทัศนคติเชิงบวก เช่นเดียวกับกลุ่มคนที่เข้าสู่วัยเลข 4 ไปจนถึงเลข 5 ควรเท่าทันการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและอารมณ์ โดยเฉพาะความใส่ใจเป็นพิเศษในเรื่องของสุขอนามัยที่ดี

https://www.bangkokbiznews.com/health/well-being/1125142

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,754,046
Page Views2,019,568
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view