http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง





  สมาคมพิทักษ์ประโยชน์ผู้บริโภค (สพบ.)

Consumer Protection Association (CPA)

ผลการดำเนินงาน

            ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2514 ได้ดำเนินการพิทักษ์ประโยชน์ผู้บริโภค ให้ได้รับความเป็นธรรม ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบหรือถูกหลอกลวงในการ
เลือกซื้อและใช้เครื่องอุปโภค บริโภค และบริการต่างๆ โดยการออกวางสาระสมาคม รายงานผลการตรวจสอบปริมาณบรรจุสินค้าจำเป็น หามาตรการ
ในการแก้ไขปัญหาของแพง จัดอภิปราย สัมมนาวิชาการ เรื่อง ความปลอดภัยของอาหาร อาทิ ผงชูรส น้ำดื่มบรรจุขวด เผยแพร่ความรู้ผู้บริโภคทาง
วิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์  รายการสดรูปแบบการสนทนาระหว่างวิทยากรและมีช่วงตอบปัญหาผู้บริโภคด้วย และได้เสนอร่างพระราชบัญญัติ
ควบคุมการโฆษณา นำสู่การแต่งตั้งคณะกรรมการ (กบว.) ตรวจสอบโฆษณาสินค้าทางวิทยุและโทรทัศน์ และจัดประชุมสัมมนาวิชาการความรู้
ผู้บริโภคแก่คณะครู และนิสิต นักศึกษาทั่วประเทศ กระตุ้นให้จัดตั้งชมรมคุ้มครองผู้บริโภคในวิทยาลัยครูต่างๆ

              ในปี 2535 ได้รับทุนอุดหนุนองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อการสาธารณสุขจากกระทรวงสาธารณสุข (โดยกองการประกอบโรคศิลปะ) เพื่อ
โครงการเผยแพร่ความรู้ผู้บริโภคสำหรับนักเรียนประถมศึกษาและแม่บ้านทั่วประเทศ รวมทั้งโครงการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยการฝึกอบรม
นักเรียนรู้จักประมาณการแบ่งส่วนการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และการออมยามฉุกเฉินด้วยความปลอดภัย เป็นธรรมและประหยัด รวมทั้งการรักษา
สภาพแวดล้อมเพื่อสุขภาพ สำหรับโครงการการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้ฝึกอบรมนักเรียนวัยเจริญพันธุ์และผู้ปกครองให้ตระหนักถึงคุณค่าและ
ความปลอดภัยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

               ในปี 2542 ได้รับทุนอุดหนุนจากกระทรวงสาธารณสุข (โดยกองการประกอบโรคศิลปะ) เพื่อโครงการเยาวชนผู้พิทักษ์เฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว โดยการฝึกอบรมนักเรียนจังหวัดสระแก้ว
ให้ตระหนักในการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานอาหารเพื่อความปลอดภัยในการบริโภค เช่น น้ำดื่มบรรจุขวด น้ำปลา น้ำส้มสายชู เป็นต้น

              ในปี 2543 ได้รับทุนอุดหนุนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ตามโครงการเสริมสร้างศักยภาพองค์กรผู้บริโภคจัดรายการ
โทรทัศน์ “สภาผู้บริโภค” ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ร่วมกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ต่อเนื่อง 3 ปี เดือนละ 2 ครั้ง ๆ ละ 1 ชั่วโมง โดยเชิญวิทยากรมา
ร่วมสนทนาตามสถานการณ์พร้อมกรณีตัวอย่างปัญหาสำคัญ

              2544 สิงหาคม-กันยายน จัดประชุมอบรมวิชาการในโอกาสครบรอบ 84 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวม 4 รุ่นๆละ 2 วัน รุ่นละ 100 คน
เรื่อง ความรู้ด้านอาหาร โภชนาการ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับนักธุรกิจอิสระและผู้บริโภค ณ โรงแรมเอเชีย เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ใน
วันแรกและวันที่ 2 ฝึกปฏิบัติตรวจสอบผลิตภัณฑ์ทางห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ที่คณะสหเวชศาสตร์กับเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย
ความร่วมมือของคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และสมาคมพิทักษ์ประโยชน์ผู้บริโภค

              2544-2546 ได้รับทุนอุดหนุนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ตามโครงการเสริมสร้างศักยภาพองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองผู้บริโภค และกระทรวงสาธารณสุข (โดยกองการประกอบโรคศิลปะ) เพื่อโครงการพัฒนาประชาคมเพื่อสุขภาพดีถ้วนหน้า เผยแพร่ความรู้ผู้บริโภคเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และผู้นำชุมชนทั่วประเทศ โดยการฝึกปฏิบัติให้นักเรียนรู้จักวิเคราะห์ฉลากและโฆษณา
สินค้าและบริการ ฝึกปฏิบัติการจัดทำแผนภาพรณรงค์ต่อต้านฉลากและโฆษณาสินค้าและบริการ อวดอ้างเกินความจริง ทั้งนี้ได้รับความสนับสนุนด้านวิทยากรและเอกสารเผยแพร่ความรู้จากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โดยปฏิบัติงานร่วมกับโครงการสภาสตรีส่งเสริมผู้บริโภค และได้มอบ
ทุนอุดหนุนกิจกรรมต่อเนื่องให้แต่ละชุมชนและแต่ละโรงเรียนรณรงค์และสรุปรายงานส่งสมาคมก่อนสิ้นปีการศึกษาด้วย ปีละ 4 ภาคๆละ3 จังหวัด ๆ ละ
100 คน รวม 36 จังหวัด ๆ ละ 10 โรงเรียน ๆ ละ 10 คน รวมผู้เข้าโครงการ 360 โรงเรียน ประมาณ 3,600 คน

                   2545 ได้รับทุนจากกระทรวงสาธารณสุข (โดยกองการประกอบโรงศิลปะ) จัดกิจกรรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชนเมือง กรุงเทพมหานคร เช่น เขตคลองสาน บางขุนเทียน บางกอกน้อย ด้วยการฝึกอบรมหญิงวัยเจริญพันธุ์ แม่ลูกอ่อน พี่เลี้ยงเด็ก ณ ศูนย์สาธารณสุขเขตต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร และจัดกิจกรรมวันแม่แห่งชาติ ร่วมกับสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ ในวันที่ 6 สิงหาคม

                  2547-2549 ได้รับทุนอุดหนุนจากกระทรวงสาธารณสุข(โดยกองการสนุบสนุนสุขภาพภาคประชาชน) ให้ดำเนินโครงการพัฒนาประชาคมเพื่อสุขภาพดีถ้วนหน้าต่อเนื่องสำหรับจังหวัด ที่ยังไม่เคยได้จัดกิจกรรมทำนองเดียวกัน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีละ 8 จังหวัด ๆ ละ
10 โรงเรียน ๆ ละ 10คน กับชุมชนใกล้เคียงโรงเรียนชุมชนละ 10 คน รวม 3 ปี ครอบคลุม 24 จังหวัด 170 โรงเรียน 25 ชุมชน รวมผู้เข้าโครงการ
ทั้งสิ้น 1,867 คน ทั้งนี้ได้เพิ่มกิจกรรมในการตรวจสอบหาสารปนเปื้อนในอาหารและเครื่องสำอางที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน และตรวจหาสารปนเปื้อนอันตรายในผลิตภัณฑ์สุขภาพหลายชนิดที่จำหน่ายทั่วไป

                 2550 ได้รับทุนอุดหนุนจากกระทรวงสาธารณสุข (โดยกองสนุบสนุนสุขภาพภาคประชาชน) ให้ดำเนินโครงการส่งเสริมสุขาภิบาลอาหาร
ในโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นโรงเรียนต้นแบบได้แก่ โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม เขตพระนคร โรงเรียนวัดบางนาใน เขตบางนา และโรงเรียน
พูนสิน เขตพระโขนง มีผลให้นักเรียน บุคลากรทางการศึกษาและกรรมการสถานศึกษา รวมประมาณ 2,500 คน มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของสุขาภิบาลอาหารนำไปสู่การอนุมัติงบประมาณปรับปรุงโครงสร้างทางกายภาพของสถานศึกษาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การสุขาภิบาลอาหาร
ที่ปรับปรุงโดยวุฒิอาสาธนาคารสมอง สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

                2551 ได้รับทุนอุดหนุนจากกระทรวงสาธารณสุข (โดยกองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน) ให้ดำเนินโครงการส่งเสริมสุขาภิบาลอาหาร
ในโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร (ต่อเนื่อง)

                ได้รับเงินอุดหนุนกองทุนร่วมใจสงเคราะห์ชุมชน ประจำปี 2551 สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ประเภทการพัฒนาสังคมเพื่อโครงการจริยธรรมและการบริโภคเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขในสังคม ณ โรงเรียนวัดประชาระบือธรรม เขตดุสิต สำหรับนักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 5 จำนวน 100 คน โดยได้รับการสนับสนุนวิทยากรและนิทรรศการจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้วย

                 ได้รับการสนับสนุน จากสำนักงานคณะกรรมการการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเจ้าภาพร่วมจัดประชุมสัมมนาพัฒนาเครือข่ายองค์การเอกชนด้าน
การคุ้มครองผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร เมื่อ 28 สิงหาคม 2551 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลส มหานาค ถนนดำรงรักษ์ กรุงเทพมหานคร ในโอกาสครบ
รอบ 30 ปี การก่อตั้งสมาคมฯมีผู้สนใจเข้าร่วมประชุม 120 คน

                ***2552 ได้รับเงินอุดหนุนจากกองทุนร่วมใจสงเคราะห์ชุมชน สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมเพื่อผู้บริโภค โครงการ
ปรับพฤติกรรมการบริโภคของเด็กไทยเพื่อการพัฒนาสังคม ณ โรงเรียนศรีจิตรา ลำลูกกา ปทุมธานี มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการ 91 คน โดยการให้ความรู้เรื่องสุขาภิบาล อาหารและโภชนาการ ฝึกปฏิบัติการจัดเตรียมอาหารและการรับประทานอาหารร่วมกัน และการเฝ้าระวังตรวจสอบสภาพสุขาภิบาลอาหารและการเลือกบริโภคในชีวิตประจำวัน

               ***สมาคมร่วมกับสถานีวิทยุชุมชนนนทบุรี ต.บางกร่าง อ.เมือง จ. นนทบุรี โครงการแลกเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวัน เรื่อง กิจวัตรและการ
ดูแลตัวเองของผู้สูงอายุ ในชุมชนย่านวัดพุฒิปรางค์ปราโมทย์ ต.บางศรีเมือง อ.เมือง จ.นนทบุรี

 สรุปกิจกรรมสมาคมพิทักษ์ประโยชน์ผู้บริโภค ในรอบปี ๒๕๕๓ 

 ๑. การประชุมใหญ่สามัญประจำปี เมื่อวันอังคารที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๓ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ๓๐๗ ชั้น ๓ ตึกมหิดล สภาสังคมสงเคราะห์
แห่งประเทศไทยฯ สี่แยกตึกชัย ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ มีสมาชิกเข้าร่วมประชุม ๒๓ คน ครบองค์ประชุมตามข้อบังคับ และได้
อนุมัติเงินจำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท เพื่อบำรุงขวัญกำลังใจผู้บาดเจ็บ เนื่องจากเหตุรุนแรง เมื่อ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๓ โดยมีที่ปรึกษา เภสัชกรหญิงวีณะ 
วีระไวทยะ สมทบเพิ่มอีก ๒,๐๐๐ บาท และกรรมการกิตติมศักดิ์ นางสาวพวงทิพย์  โมนฤมิตร สมทบเพิ่ม ๑,๐๐๐ บาท รวมเป็น ๑๓,๐๐๐ บาท

๒. การประชุมกรรมการอำนวยการฯ ไม่น้อยกว่าปีละ ๖ ครั้ง โดยมีที่ปรึกษา กรรมการกิตติมศักดิ์ และผู้ช่วยกรรมการเข้าร่วมประชุมด้วย รวม ๖ ครั้ง

            ครั้งแรก เป็นการประชุมสัญจรประจำปี เมื่อวันอังคารที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๓ ณ ศูนย์สัมมนานครนายก วังรี รีสอร์ท มีกรรมการและสมาชิก
ไปร่วมประชุมรวม ๑๕ คน โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และทัศนศึกษาสถานประกอบการแปรรูปอาหารพืชผักผลไม้และเนื้อสัตว์ เพื่อจัดจำหน่าย
และฝึกปฏิบัติจริงแก่ผู้สนใจทั่วไปจากชุมชน และกลุ่มคนที่หน่วยงานพัฒนาชุมชนประสานส่งมา โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ด้วยหลักสูตรระยะสั้นครบวงจรประมาณครั้งละ ๒-๓ วัน ซึ่งสามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพได้ตามความถนัด

            ส่วนการประชุมครั้งต่อ ๆ ไป ตั้งแต่ครั้งที่ ๒-๖ ได้จัดประชุม ณ ห้องประชุมสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ตามลำดับ ดังนี้

            วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ วันพุธที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๓ วันพุธที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๓ วันพุธที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๓ และวันพุธ
ที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๓

            นอกจากนี้ยังมีการประชุมคณะกรรมการบริหารเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ เพื่อพิจารณาเสนอชื่อผู้แทนเป็นกรรมการขายตรง
และตลาดแบบตรง ตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕

๓. การประชุมสัมมนาการพัฒนาเครือข่ายองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร สนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครอง
ผู้บริโภค วันจันทร์ที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ ณ โรงแรม ที เค พาเลซ (ซอยแจ้งวัฒนะ ๑๕ ตรงข้าม โรงพยาบาลมงกุฏวัฒนะ กรุงเทพฯ) มีผู้เข้าร่วมประชุม ๑๒๑ คน แยกเป็นสมาชิกสมาคม ๑๖ คน ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ๔๓ คน ภาคเอกชน ๓๙ คน ผู้สนใจทั่วไป ๒ คน วุฒิอาสาธนาคารสมองศูนย์นนทบุรี ๑๙ คน กลุ่มสุขภาพกรุงเทพมหานคร ๒ คน ไม่นับรวมวิทยากร ๘ คน และผู้ติดตามอีกจำนวนหนึ่ง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ สคบ. มากกว่า ๖ คน

            จากการประเมินผลตามแบบสอบถามมีความเห็นในระดับดีทั้งเรื่องวิทยากร เนื้อหา ระยะเวลา การมีส่วนร่วม ตลอดจนการประชาสัมพันธ์
การลงทะเบียน พิธีเปิด สถานที่ อาหารและความสนใจของผู้เข้าร่วมประชุม มีเพียง ๑-๒ ราย ในเรื่องสถานที่ประชุมไกล ควรเปลี่ยนเขตอื่นบ้าง น่าจะ
สนับสนุนค่าพาหนะ ควรเชิญวิทยากรภาคเอกชน หลีกเลี่ยงการเชิญวิทยากรที่เป็นเจ้าของธุรกิจ ซึ่งอาจมีการโฆษณาแฝง เป็นต้น

๔. การเป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุมในคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการต่าง ๆ

            ๔.๑ เภสัชกรหญิง รองศาสตราจารย์เทวี  โพธิผละ หรือ เภสัชกรหญิงถวิลวงศ์  สุขประเสริฐ หรือนางสำรวย  โคตรเวียง ในคณะอนุกรรมการ
สอบสวนข้อเท็จจริงเรื่องร้องเรียนสถานพยาบาลของกองการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ๓ ชุด มีการประชุม
รวม ๑๖ ครั้ง

            ๔.๒ เภสัชกรหญิงถวิลวงศ์  สุขประเสริฐ หรือเภสัชกรหญิง รองศาสตราจารย์เทวี  โพธิผละ ในคณะอนุกรรมการฯ เรื่อง ยกระดับมาตรฐาน
การผลิตเครื่องสำอางของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีการประชุมและตรวจประเมินสภาพโรงงาน รวม ๒๘ ครั้ง และคณะอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานเครื่องสำอาง มีการประชุม ๓ ครั้ง

            ๔.๓ เภสัชกรหญิง รองศาสตราจารย์เทวี  โพธิผละ หรือ เภสัชกรหญิงถวิลวงศ์  สุขประเสริฐ ในคณะอนุกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขสำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการรับรองระบบงาน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มีการประชุม ๕ ครั้ง

            ๔.๔ เภสัชกรหญิง รองศาสตราจารย์เทวี  โพธิผละ ในคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (ตามคำสั่ง
สคบ. ที่ ๕๕/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๓) มีการประชุม ๓ ครั้ง

            ๔.๕ นายทวี  กาญจนภู เป็นผู้มีสิทธิคัดเลือกกรรมการสรรหาสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม

            ๔.๖ นายอักกโชต  ระตินัย เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการยาในสาขาผู้แทนองค์กรเอกชน สืบเนื่องแทนผู้ทรงคุณวุฒิที่หมดวาระเมื่อ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๓

            ๔.๗ เภสัชกรหญิง รองศาสตราจารย์เทวี  โพธิผละ เป็นผู้แทนในคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดคุณภาพมาตรฐานและหลักเกณฑ์เงื่อนไข
ในการปฏิบัติด้านอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

            ๔.๘ เภสัชกรหญิงถวิลวงศ์  สุขประเสริฐ หรือ เภสัชกรหญิง รองศาสตราจารย์เทวี  โพธิผละ ในคณะทำงานพิจารณาเกณฑ์มาตรฐานการ
โฆษณาเครื่องสำอาง ตามคำสั่งที่ ๑๕/๒๕๕๒ ลงวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๒

            ๔.๙ เภสัชกรหญิง รองศาสตราจารย์เทวี  โพธิผละ ทำหน้าที่ประธานกรรมการสรรหาฯ สมาชิกและประธาน (ชั่วคราว) สภาองค์กรผู้บริโภค
ในกิจการโทรคมนาคม ตั้งแต่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๒ (และนายอักกโชต  ระตินัย) ทั้ง ๒ คน ได้รับการเลือกกันเองในแต่ละกลุ่มเป็นสมาชิกสภาฯ ภาค
กลาง และผู้ทรงคุณวุฒิ ตามลำดับ ตั้งแต่ตุลาคม ๒๕๕๒ เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ การให้ความเห็นต่อนโยบาย กฎระเบียบ และมาตรการต่าง ๆ ที่
เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งในเชิงรับและเชิงรุก

            ๔.๑๐ เภสัชกรหญิง รองศาสตราจารย์เทวี  โพธิผละ เป็นผู้แทนในคณะอนุกรรมการเผยแพร่ฯ สคบ.

            ๔.๑๑ เภสัชกรหญิง รองศาสตราจารย์เทวี  โพธิผละ และ นางนพวรรณ  ภูวประดิษฐชัย เป็นผู้แทนในคณะกรรมการอำนวยการสมาคม
ประสานงานองค์กรเอกชนเพื่อการสาธารณสุข (ประเทศไทย) มีการประชุมรวม ๖ ครั้ง ติดตามประเมินผลโครงการที่ได้รับทุนอุดหนุน ๕ ครั้ง และ
การประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๑ ครั้ง

            ๔.๑๒ นายอักกโชต  ระตินัย เป็นผู้แทนในคณะกรรมการพิจารณากำหนดให้ธุรกิจให้บริการสถานที่ออกกำลังกาย (Fitness) เป็นธุรกิจที่
ควบคุมสัญญา

๕. การส่งผู้แทนเข้าประชุมสัมมนาวิชาการที่เกี่ยวข้อง จัดโดยหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้

            ๕.๑ ทีวีไทย เพื่อนสื่อสาธารณะ                                                             ๒ ครั้ง

            ๕.๒ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย                                                ๑ ครั้ง

            ๕.๓ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา                                                 ๒ ครั้ง

            ๕.๔ สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม                                     ๔ ครั้ง

            ๕.๕ สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี                                                   ๑ ครั้ง

            ๕.๖ ประชาคมเมืองนนทบุรี                                                                   ๑ ครั้ง

            ๕.๗ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย                                          ๑ ครั้ง

            ๕.๘ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค                                              ๔ ครั้ง

            ๕.๙ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ)                      ๑ ครั้ง

            ๕.๑๐ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์          ๑ ครั้ง

            ๕.๑๑ สภาสตรีแห่งชาติฯ                                                                       ๑ ครั้ง

            ๕.๑๒ สถาบันคลังสมองของชาติ                                                              ๑ ครั้ง

๖. การเผยแพร่ความรู้ผู้บริโภคทางสถานีวิทยุชุมชน FM ๙๖.๒๕/๙๕.๒๕ MHz โดย อาจารย์นิเวศน์  ปัจจุสมัย และ เภสัชกรหญิง รอง
ศาสตราจารย์เทวี  โพธิผละ ประจำวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา ๑๐.๐๐-๑๓.๐๐ น.

๗. กิจกรรมสำคัญ

            ๗.๑ โครงการสร้างสุขวิธีวิถีชีวิตเด็กไทยเพื่อพัฒนาสังคม โดยความสนับสนุนจากกองทุนร่วมใจสงเคราะห์ชุมชน สภาสังคมสงเคราะห์
แห่งประเทศไทยฯ ณ โรงเรียนวัดตำหนักใต้ (วิลาศโอสถานุเคราะห์) สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ ๕ รวม ๗๘ คน

            ๗.๒ โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนดำเนินการโรงเรียนต้นแบบด้านสุขาภิบาลอาหารในเขตกรุงเทพมหานคร ร่วมกับวุฒิ
อาสาธนาคารสมองกลุ่มสุขภาพ กรุงเทพมหานคร รวม ๑๐ โรงเรียน

๘. สมาคมได้ขึ้นทะเบียนเว็บไซด์เรียบร้อยแล้ว ชื่อ consumerprotection.or.th ตั้งแต่วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๓

 
สรุปกิจกรรมสมาคมพิทักษ์ประโยชน์ผู้บริโภค ในรอบปี ๒๕๕๔ 

๑. การประชุมใหญ่สามัญประจำปี เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๔ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ๓๐๗ ชั้น ๓ ตึกมหิดล สภาสังคมสงเคราะห์
แห่งประเทศไทยฯ สี่แยกตึกชัย ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพ ๑๐๔๐๐ สมาชิกเข้าร่วมประชุม ๒๔ คน ครบองค์ประชุมตามข้อบังคับ

๒. การประชุมกรรมการอำนวยการไม่น้อยกว่าปีละ ๖ ครั้ง ตามข้อบังคับ เนื่องจากมีปัญหาเหตุการณ์วิกฤตอุทกภัยช่วงปลายปีไม่สามารถจัด
ประชุมได้ครบ ๖ ครั้งตามข้อบังคับ คงจัดประชุมได้เพียง ๔ ครั้ง ดังนี้

                                ครั้งที่ ๑ เมื่อ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เป็นการประชุมสัญจร รับทราบนโยบายและแลกเปลี่ยนแนวคิดการคุ้มครอง
ผู้บริโภคโดยมีนายนิโรธ  เจริญประกอบ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และคณะผู้บริหาร ณ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ

                                ครั้งที่ ๒ เมื่อ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๔ เป็นการประชุมสัญจร รับทราบนโยบายและแนวคิดการคุ้มครองผู้บริโภคกับผู้บริหาร
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ถนนพระราม ๖ โดยมีนายชัยยง  กฤตผลชัย เลขาธิการและคณะผู้บริหาร ร่วมให้ข้อคิดเห็น

                                ครั้งที่ ๓ เมื่อ ๒๒ มิถุนายน ณ ห้องประชุมสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ

                                ครั้งที่ ๔ เมื่อ ๒๔ สิงหาคม ณ ห้องประชุมสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ

๓. การเป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุมในคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการต่าง ๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                ๓.๑ คณะทำงานโครงการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบสุขาภิบาลอาหาร โดยมีนายทรวง  เหลี่ยมรังสี เป็นประธาน เภสัชกรหญิงวีณะ 
วีระไวทยะ เป็นที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร.รัตนา  พุ่มไพศาล นายปรีชา  สุสันทัด เภสัชกรหญิง รองศาสตราจารย์เทวี  โพธิผละ นางสาวพจนา 
โพธิผละ เป็นคณะทำงาน มีการประชุมเป็นระยะ ๆ

                ๓.๒ คณะอนุกรรมการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โดยมีเภสัชกรหญิง รองศาสตราจารย์เทวี 
โพธิผละ และนายถนัด  มานะพันธุ์นิยม เป็นอนุกรรมการ

                ๓.๓ สมาคมประสานงานองค์กรเอกชนเพื่อการสาธารณสุขประเทศไทย โดยมี เภสัชกรหญิง        รองศาสตราจารย์เทวี  โพธิผละ
และนางนพวรรณ  ภูวประดิษฐชัย เป็นกรรมการมีการประชุม ๗ ครั้ง และนางลักษมี  ปวราจารย์และนางสาวจิรภา  โซวจินดา เข้าร่วมประชุมใหญ่
สามัญประจำปีด้วย

๓.๔ คณะอนุกรรมการรับเรื่องร้องเรียนสถานพยาบาลของการการประกอบโรคศิลปะ โดยมี เภสัชกรหญิง รองศาสตราจารย์เทวี  โพธิผละ เภสัชกร
หญิงถวิลวงศ์  สุขประเสริฐ เภสัชกรหญิงจวบบุญ  รักมนุษย์  นางสาวจิรภา  โซวจินดา และนางสำรวย  โคตรเวียง ผลัดเปลี่ยนเป็นผู้แทนไปร่วม
ประชุม

๓.๕ คณะอนุกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขรับรองหน่วยรับรองของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดย เภสัชกรหญิง
รองศาสตราจารย์เทวี  โพธิผละ หรือ เภสัชกรหญิงถวิลวงศ์  สุขประเสริฐ

๓.๖ คณะกรรมการพัฒนากฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โดย เภสัชกรหญิง รองศาสตราจารย์เทวี  โพธิผละ หรือ นายอักกโชต 
ระตินัย

๓.๗ คณะอนุกรรมการศึกษาและพิจารณาข้อสัญญาและรายการในหลักฐานการรับเงินของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โดย นายอักกโชต 
ระตินัย หรือนางชูเนตร  ศรีเสาวชาติ

๓.๘ กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในทางแพ่ง เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิควบคุมดูแลเด็ก พ.ศ...... โดย
นางนพวรรณ  ภูวประดิษฐชัย เข้าร่วมประชุม

๔. การร่วมประชุมสัมมนาวิชาการ จัดโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                ๔.๑ สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม                                 ๑ ครั้ง

                ๔.๒ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค                                        ๖ ครั้ง

                ๔.๓ สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร                                              ๑ ครั้ง

                ๔.๔ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา                                            ๒ ครั้ง

                ๔.๕ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ                                          ๕ ครั้ง

                ๔.๖ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ                   ๑ ครั้ง

                ๔.๗ สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม                                              ๔ ครั้ง

                ๔.๘ กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน                                              ๑ ครั้ง

                ๔.๙ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม                                     ๑ ครั้ง

                ๔.๑๐ สถาบันคีนันแห่งเอเซียฯ                                                         ๓ ครั้ง

๔.๑๑ คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนฯ วุฒิสภา                                                      ๑ ครั้ง

๔.๑๒ สำนักงาน กสทช.                                                                                ๑ ครั้ง

๔.๑๓ ไทยพีบีเอส                                                                                        ๑ ครั้ง

๔.๑๔ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ                                                                  ๑ ครั้ง

๕. กิจกรรมสำคัญ

                ๕.๑ ร่วมจัดกิจกรรมวันคุ้มครองผู้บริโภคเป็นประจำทุกปี สำหรับปีนี้ระหว่าง ๒๘-๒๙ เมษายน ๒๕๕๔ จัดประกวดคำขวัญ
“สร้างสำนึกเพื่อผู้บริโภค” มีผู้สนใจร่วมเขียนคำขวัญ ๗๕ คำขวัญ ได้รับของชำร่วยทุกคน คณะกรรมการฯ ตัดสินส่งเงินรางวัลไปให้ทาง
ธนาณัติ ปณ. ตั้งแต่ ๘ กันยายน ๒๕๕๔ ดังนี้

“ชนะเลิศ” ๑,๐๐๐ บาท ได้แก่ “หมั่นตรวจดูสินค้า กล้าปกป้องสิทธิ อ่านฉลากเป็นนิจ อย่าคิดเชื่อโฆษณา” เขียนโดย ด.ญ.กัณฐิกา  จันแย้
อายุ ๑๐ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๘๔ ถนนพะเยา-ป่าแดด ต.ท่าวังทอง อ.เมือง จ.พะเยา ๕๖๐๐๐ โทร. ๐๘๗-๕๒๑-๑๔๓๓

“ชมเชย” ๒ รางวัล ๆ ละ ๕๐๐ บาท ได้แก่ “อย่าตกเป็นเหยื่อผู้บริโภค ด้วยการรู้จักคิด รู้จักเลือก” เขียนโดย น.ส.ปาลิตา  จันทโชติ อายุ ๓๔ ปี
ฅอยู่บ้านเลขที่ ๑๔๐ ซอยประชานุกูล ซอย ๑ ถนนรัชดาภิเษก แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ ๑๐๘๐๐ โทร. ๐๘๑-๕๖๔-๙๐๙๗

และ “สร้างจิตสำนึกที่ดี เพื่อผู้บริโภคปลอดภัย” เขียนโดย ว่าที่ร้อยตรีหญิงสุจิตรา  เดชมิตรา อายุ ๒๗ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๓๐/๒ ถนนราษฎร์อุทิศ
แขวงสามเสน เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ ๑๐๕๑๐ โทร. ๐๘๔-๑๒๒-๐๗๒๙

                ๕.๒ โครงการมัคคุเทศก์น้อยร้อยดวงใจสานสังคม ณ โรงเรียนวัดพุฒิปรางค์ปราโมทย์ ต.บางกร่าง    อ.เมือง จ.นนทบุรี มีนักเรียน
ระดับประถมศึกษาปีที่ ๕-๖ เข้าร่วมโครงการ ๒๐ คน ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนร่วมใจสงเคราะห์ชุมชน สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ

                 ๕.๓ โครงการรางวัลองค์กรพัฒนาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี ๒๕๕๔ ซึ่งเสนอโดย นางชูเนตร  ศรีเสาวชาติ และได้ผ่านการ
คัดเลือกรอบแรก ๑ ใน ๒๐ โครงการจากทั้งหมด ๘๐ โครงการ ให้สัมภาษณ์แก่เจ้าหน้าที่โครงการเพิ่มเติม ณ ที่ตั้งองค์กร เมื่อ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๔
ด้วยแล้ว โดย เภสัชกรหญิง  รองศาสตราจารย์เทวี  โพธิผละ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราภัสร์  พากเพียรกิจวัฒนา  และนางชูเนตร  ศรีเสาวชาติ ณ
กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน ซึ่งจะประกาศผลในวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๔

                ๕.๔ โครงการผู้หญิงกลิ้งโลก ซึ่งเสนอโครงการสร้างสุขนิสัยเด็กไทยสู่ความปลอดภัยในการบริโภค เสนอโดย นางชูเนตร  ศรีเสาวชาติ
และคณะ รวม ๔ คน ได้แก่ นางนิเวศน์  ปัจจุสมัย  นางสาวจิรภา   โซวจินดา และนางลักษมี  ปวราจารย์

                ๕.๕ การเปิดเว็บไซต์และสื่ออิเล็คทรอนิคส์

                                www.consumerprotection.or.th

                                email: consumerprotection2521@gmail.com

๕.๕.๑ การให้คำปรึกษา  การรับเรื่องร้องเรียน และนำเสนอหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค

สมาคมฯ รับเรื่องร้องเรียนทางอีเมล์ในชื่อ consumerprotection2521@gmail.com ซึ่งเริ่มเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๔ 
และมีการให้คำปรึกษา ให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชนผู้บริโภค เกี่ยวกับสิทธิของผู้บริโภคและการคุ้มครองผู้บริโภค  รวมทั้งได้รับเรื่อง
ร้องเรียนจากผู้บริโภค โดยสมาคมฯ  นำเสนอหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน ๒ เรื่อง ดังนี้

๑)  เรื่องร้องเรียนการซื้อโทรศัพท์มือถือ

๒)  เรื่องร้องเรียนการใช้โทรศัพท์ เครือข่ายในประเทศ

๕.๕.๒ การเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค  จากการเปิดเว็บไซด์ของสมาคมในชื่อ  www.consumerprotection.or.th  เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๓ โดยมีเนื้อหา สาระโดยสรุป ดังนี้

๑.) สิทธิและหน้าที่ผู้บริโภค  

๒.) สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค  แบ่งออกเป็น  ๕ ด้าน ได้แก่                   

:-ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ                       

: ด้านบริการทางการแพทย์                      

:-ด้านอสังหาริมทรัพย์                             

:-ด้านกิจการโทรคมนาคม                       

:-ด้านอื่น ๆ                                         

๓.) ข่าวสารที่ผู้บริโภคควรรู้  จากแหล่งข่าว ๔ ส่วน คือ

:-หนังสือพิมพ์ทั่วไป

:-หน่วยงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค

:-หน่วยงานด้านสุขภาพ อนามัย สาธารณสุข

:-เครือข่าย องค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองผู้บริโภค

 ๔.) บทความที่ผู้บริโภคควรรู้  จากแหล่งข้อมูล ๕ ส่วน คือ

:-จากการเขียนของกรรมการสมาคม     

:-หนังสือพิมพ์ทั่วไป                   

:-หน่วยงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค

:-หน่วยงานด้านสุขภาพ อนามัย สาธารณสุข

:-เครือข่าย องค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองผู้บริโภค

๕.) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค           

๖.) ความก้าวหน้าขององค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค                            

๗.) การร้องเรียนของผู้บริโภค    

๘.) ข้อมูลเกี่ยวกับสมาคม

จากการเปิดเว็บไซด์ของสมาคม เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๓  จนถึงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๔  มีสถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ ดังนี้

- จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ของสมาคมฯ รวมทั้งสิ้น  ๖๑,๖๔๘ คน 

- จำนวนผู้เปิดอ่านข้อมูลในเว็บไซต์ของสมาคมฯ รวมทั้งสิ้น ๗๐,๗๙๘ คน

จำแนกเป็นเรื่องที่ผู้สนใจตามลำดับ ดังนี้

ลำดับหนึ่ง  ข่าวสารเกี่ยวกับผู้บริโภค 

ลำดับสอง  บทความเกี่ยวกับผู้บริโภค   

ลำดับสาม  สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค  ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ และด้านบริการทางการแพทย์

             

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 10/03/2024
สถิติผู้เข้าชม1,735,920
Page Views2,000,784
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
view