http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง





                                                 

สมาคมพิทักษ์ประโยชน์ผู้บริโภค (สพบ.)

Consumer Protection Association (CPA)

ประวัติความเป็นมา

                 สมาคมพิทักษ์ประโยชน์ผู้บริโภค เป็นองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองผู้บริโภคที่พัฒนามาจากกระบวนการต่อต้านสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่น ณ ห้างไดมารู ราชประสงค์ กรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มนิสิต นักศึกษาและเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข อาทิ เภสัชกรหญิงวีณะ วีระไวทยะ ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2514 ซึ่งต่อมานายแพทย์จิตต์ เหมะจุฑา และนายแพทย์อมร นนทสุต ได้เป็นแกนนำจัดตั้งองค์การพิทักษ์ประโยชน์ผู้บริโภค

                 ในปี 2518 ได้เป็นสมาชิกสหสัมพันธ์นานาชาติองค์การผู้บริโภค IOCU ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น CI(Consumer International) ในลักษณะสมาชิกแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคทั่วโลก และส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมนานาชาติที่จัดให้มีขึ้นทุกรอบ 3 ปี

                ดำเนินการร่วมโครงการสภาสตรีส่งเสริมผู้บริโภคผลักดันให้มีการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค และได้ทำการจดทะเบียนจัดตั้งสมาคม ตามข้อบังคับสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2486 แก้ไขโดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 211 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2521 ในสมัย ฯพณฯนายกรัฐมนตรี นายธานินทร์ กรัยวิเชียร (ก่อนกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคฉบับแรกประกาศบังคับใช้ในปี 2522) โดยมีนายแพทย์จิตต์ เหมะจุฑา ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นนายกสมาคม และนางวารณีย์ จันทรวิฑุร เป็นอุปนายกผู้จัดการสมาคม

               ในปี 2534 ได้รับอนุญาตจากประธานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (ดร.สายสุรี จุติกุล) ตามหนังสือที่ นร.0109.01/799 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2534 ให้มีสำนักงาน ณ อาคาร 11 บริเวณโรงเรียนนายร้อย จปร.(เดิม) ทำเนียบรัฐบาล

               ในปี 2535 ได้รับอนุญาตให้ใช้สถานที่วังกลมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร เป็นที่ตั้งสำนักงานร่วมกับสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย ตามหนังสือที่ มท.0712/76722 ลงวันที่ 22 กันยายน 2535

               ในปี 2542 ได้ขึ้นทะเบียนเป็นองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ในการพัฒนางานสาธารณสุขทะเบียนเลขที่ ส 69 ตามหนังสือรับรองที่ 195/2542 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2542 โดยกองการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข และได้เป็นองค์กรสมาชิกสามัญตลอดชีพของสมาคม ประสานงานองค์กรเอกชนเพื่อการสาธารณสุข (ประเทศไทย)

              กับได้จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเครื่องหมายสมาคมวงกลมขอบสีน้ำเงินพื้นสีเหลืองหรือขาว มีรูปคนทรงเลขาคณิตสีแดงหรือสีน้ำเงินกางแขนแทรกระหว่างตัวอักษรสีน้ำเงิน สพบ โดย ส และ บ อยู่ที่ปลายแขนข้างละตัว และ พ อยู่ด้านล่างรูปคน ทั้งหมดอยู่เหนือสองมือสีน้ำเงิน ชูในท่าประคองรับ และมีตัวหนังสือแดงหรือน้ำเงินว่า “สมาคมพิทักษ์ประโยชน์ผู้บริโภค” ช่วงล่างตามแนวขอบล่างภายในพื้นที่สีเหลืองหรือขาว

               ในปี 2544 ได้รับการรับรองเป็นองค์กรสมาชิกสามัญตลอดชีพของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูประถัมภ์ ทะเบียนเลขที่ 722 เมื่อวันที่ เมษายน 2544

               กับการแก้ไขข้อบังคับในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ต้องมีสมาชิกสามัญมาประชุมอย่างน้อย 20 คน จึงจะครบองค์ประชุม

               ต่อมาสมาคมฯ ได้รับการรับรองให้เป็นสมาคมที่มีสิทธิและอำนาจฟ้องคดี เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 เป็นสมาคมแรก เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2545 ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

              ในปี 2547 ได้รับอนุญาตให้ใช้สถานที่กองสนุบสนุนสุขภาพภาคประชาชน เป็นสถานที่ทำการของสมาคมฯ ตามหนังสือที่ สธ 0705.3.2/4 ลงวันที่ 16 มกราคม 2547

             ในปี 2550ได้รับอนุมัติเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ตามความในมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546 เมื่อ 1 มิถุนายน 2550 ทะเบียนเลขที่ 1109

             นับเป็นเวลา 42 ปีที่สมาคมฯได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล 

 วิสัยทัศน์(VISION)

เป็นสมาคมที่ดำเนินการเพื่อพิทักษ์สิทธิประโยชน์ของผู้บริโภคไทย โดยไม่มีผลประโยชน์ทางการค้า

พันธกิจ(MISSION)

ร่วมพิทักษ์ผู้บริโภคโดยผู้บริโภค เพื่อผู้บริโภค รู้รักษ์ปกป้อง สิทธิของตนเองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๔๑ให้ได้รับความปลอดภัย เป็นธรรมและประหยัดเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้บริโภค

นโยบาย

1.สนับสนุนให้ผู้บริโภครู้จักรักษาสิทธิผู้บริโภคตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

2.เสริมสร้างความรู้ผู้บริโภคด้านการเลือกใช้สินค้าและบริการอย่างปลอดภัย เป็นธรรมและประหยัด

3.ส่งเสริมความปลอดภัยของอาหารและสิ่งแวดล้อม โดยการเผยแพร่ความรู้ ฝึกปฏิบัติพฤติกรรมผู้ที่เกี่ยวข้องตามเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาล

4.สร้างแนวทางในการเป็นตัวแทนผู้บริโภคดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิผู้บริโภคตามกฎหมาย

5.ให้ความร่วมมือเสนอความคิดเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดมาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภค

วัตถุประสงค์

๑.รักษาสิทธิและประโยชน์ของผู้บริโภค

๒.เป็นตัวแทนผู้บริโภคในการร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม

๓.ศึกษา วิจัย เปรียบเทียบคุณภาพของสินค้าและบริการ

๔.เผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค

๕.ส่งเสริมให้มีการกำหนดมาตรฐานและรับรองคุณภาพของสินค้าและบริการ

๖.เสนอแนะ สนับสนุน และประสานงานกับหน่วยงานราชการสมาคมและองค์กรที่มีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองผู้บริโภค

๗.ดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิผู้บริโภคแทนสมาชิกตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๘ (พ.ศ.๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒
   โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๔๐ วรรค ๑ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒

๘.ไม่ดำเนินการเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า

ที่ปรึกษา และคณะกรรมการ (อยู่ระหว่างปรับปรุง)

ที่ปรึกษา

เภสัชกรหญิงวีณะ วีระไวทยะ                        พลตรีหญิง คุณหญิงอัสนีย์ เสาวภาพ              

เภสัชกรหญิงนฤมล  โกมลเสวิน                    นายสง่า ดามาพงษ์        

นายถนัด มานะพันธ์ุนิยม                              นายธสรณ์อัฑฒ์ ธนิทธิพันธ์ 

นายสุนทร ทรัพย์ตันติกุล                                                                        

คณะกรรมการ

รศ.ดร. สมใจ วิชัยดิษฐ                                นายกสมาคม                              

นายทิพวัฒน์ จลานันทวงศ์                           อุปนายก

นายทวี กาญจนภู                                       อุปนายก

ผศ.ดร. วราภัสร์ พากเพียรกิจวัฒนา                เหรัญญิก
 
นางชูเนตร  ศรีเสาวชาติ                               วิเทศสัมพันธ์

นางสาวนงนุช บุณยเกียรติ                            ปฏิคม

นางสาวจุฑามาศ เดชเกตุ                             ประชาสัมพันธ์

นางสาววารุณี ธนวรานิช                               สาราณียกร

นางนภาสิริ  ผาสุกวนิช                                 ฝ่ายวิจัย

นายสุนทร  ทรัพย์ตันติกุล                             ฝ่ายวิชาการ

นายวีระศักดิ์  สมหา                                    ฝ่ายกฎหมาย

นางจุติพร  มั่งคั่ง                                        ฝ่ายปฏิบัติการพิเศษ

นางกมลรัตน์  บุญมาก                                 นายทะเบียน

นางสาวสุชาดา  พากเพียรกิจวัฒนา                 เลขาธิการ

กรรมการกิตติมศักดิ์ (อยู่ระหว่างปรับปรุง)

นายอักกโชติ  ระตินัย                                  ผศ. รัชนี ลาชโรจน์   

ผศ.ดร.วชิรญา บัวศรี                                   ผศ.จรูญศรี พลเวียง       (อยู่ระหว่างปรับปรุง)


ประวัติย่อสมาคม

พ.ศ. ๒๕๑๔ (ปลายปี) จัดตั้งองค์การพิทักษ์ประโยชน์ผู้บริโภค โดย นายแพทย์จิตต์  เหมะจุฑา 

นายแพทย์อมร  นนทสุต  (อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข) และเภสัชกรหญิงวีณะ  วีระไวทยะ

พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นสมาชิกสหพันธ์นานาชาติองค์กรผู้บริโภค (IOCU = International Organization

of Consumer Union ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น CI = Consumer International)

พ.ศ. ๒๕๒๑, ๒๓ สิงหาคม เลขอนุญาตที่ ต ๑๖๕/๒๕๒๑

        นางวารณีย์  จันทรวิฑุร เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดการจัดตั้งตามคำสั่ง และข้อบังคับ

ของกรมการศาสนา ณ แขวงบางซื่อ กรุงเทพมหานคร

พ.ศ. ๒๕๒๒, ๑๒ กันยายน เลขลำดับทะเบียนสมาคม จ ๑๖๕๙ ตามคำสั่งผู้บังคับการตำรวจสันติบาล

โดยมีนางวารณีย์  จันทรวิฑุร ผู้เริ่มการฯ เป็นอุปนายกผู้จัดการสมาคม และนายแพทย์จิตต์  เหมะจุฑา

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นนายกสมาคม ณ สำนักงานแห่งใหญ่ของสมาคม ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๑๒๙๓/๓

ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร

พ.ศ. ๒๕๓๔, ๑๕ สิงหาคม ได้รับอนุญาตจากประธานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (ดร.สายสุรี  จุติกุล)

ตามหนังสือที่ นร ๐๑๐๙.๐๑/๗๙๙ ให้มีสำนักงาน ณ อาคาร ๑๑ บริเวณโรงเรียนนายร้อยจปร. (เดิม)

ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพมหานคร

พ.ศ. ๒๕๓๕, ๒๒ กันยายน ตามหนังสือที่ มท ๐๗๑๒/๗๖๗๒๒ ได้รับอนุญาตให้ใช้สถานที่วังกรมหลวง

สิงหวิกรมเกรียงไกร เป็นที่ตั้งสำนักงานร่วมกับสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย

พ.ศ. ๒๕๔๒, ๙ กุมภาพันธ์ ทะเบียนเลขที่ ๑๖๕๙ ได้จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ เรื่อง เครื่องหมาย

สมาคมเป็นอักษรย่อ “สพบ” และเป็นภาษาอังกฤษว่า Consumer Protection Association มีชื่อย่อว่า CPA

กับย้ายสำนักงานไปอยู่ ณ อาคาร ๔ ตำหนักกรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร ภายในกรมประชาสงเคราะห์

ถนนกรุงเกษม เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

พ.ศ. ๒๕๔๒, ๑๐ กุมภาพันธ์ ตามหนังสือที่ ๑๙๕ ได้ขึ้นทะเบียนเป็นองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ในการ

พัฒนางานสาธารณสุข ทะเบียนเลขที่ ส ๖๙ โดยกองการประกอบโรคศิลปะ สำนักงานปลัดกระทรวง

สาธารณสุข และได้เป็นองค์กรสมาชิกสามัญตลอดชีพของสมาคมประสานงานองค์กรเอกชนเพื่อการสาธารณสุข

(ประเทศไทย)

พ.ศ. ๒๕๔๕, ๑๘ มิถุนายน ได้รับการรับรองให้สมาคมมีสิทธิและอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของ

ผู้บริโภค ตามกฎกระทรวงฯ ออกตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒

พ.ศ. ๒๕๕๐, ๑ มิถุนายน ทะเบียนเลขที่ ๑๑๐๙ ได้รับการรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ตามความใน

มาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. ๒๕๔๖

พ.ศ. ๒๕๕๑, ๙ กันยายน ทะเบียนเลขที่ ๑๖๕๙ ได้รับอนุญาตให้แก้ไขข้อบังคับสถานที่ตั้งสำนักงานเป็น

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน อาคาร ๕ ชั้น ๔ ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

กับปรับปรุงวัตถุประสงค์สำคัญคือ ดำเนินคดีแทนผู้บริโภคที่เป็นสมาชิกตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๘

(พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ และตัดวัตถุประสงค์

เดิมที่ว่าไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

พ.ศ. ๒๕๕๘, ๑๔ ธันวาคม ตามแบบ สค.๕ ทะเบียนเลขที่ ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติม เรื่อง คณะกรรมการข้อ ๔

ให้ที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี เลือกกรรมการที่ครบวาระแล้วจำนวนไม่น้อยกว่า ๕ คน คงเป็นกรรมการ

ต่อไป และเลือกสมาชิกสามัญตลอดชีพจำนวนอีก ๙ คน รวมเป็น ๑๔ คน เป็นคณะกรรมการ

ตำแหน่งต่าง ๆ ตามข้อบังคับเรื่องคณะกรรมการฯ ข้อ ๒

พ.ศ. ๒๕๕๙, ๒๗ เมษายน เปิดลายน์กลุ่มเฉพาะกรรมการฯ สมาคมพิทักษ์ประโยชน์ผู้บริโภค

พ.ศ. ๒๕๕๖, ๒๗ เมษายน เปิดลายน์กลุ่มผู้สนใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง สมาคมพิทักษ์ประโยชน์ผู้บริโภค

และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค

พ.ศ. ๒๕๖๑, ๑๑ กันยายน ๒๕๖๑ การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม (ตามวาระ

กำหนดในข้อบังคับ)

๒๓ เมษายน ๒๕๖๔ การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคมทั้งชุด

๑๔ กรกฏาคม ๒๕๖๖ การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคมทั้งชุด


         
                                                        *********************** 

หมายเหตุ            
๑. กิจกรรมสำคัญ ได้แก่ การเผยแพร่ความรู้ผู้บริโภคทางสื่อต่าง ๆ และการอบรมนักเรียน

    เป็นครั้งคราว เริ่มตั้งแต่การร่วมเป็นคณะอนุกรรมการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้

    ผู้บริโภคตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

๒ ผู้แทนสมาคมได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    กับการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นลำดับมา ดังนี้

๒.๑ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ได้มีคำสั่งคณะกรรมการ

สถานพยาบาลแต่งตั้งให้ผู้แทนสมาคมพิทักษ์ประโยชน์ผู้บริโภค เป็นอนุกรรมการ

ในคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเรื่องร้องเรียนฯ เป็นลำดับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๑

๒.๒ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โดย นางชูเนตร  ศรีเสาวชาติ กรรม

การวิเทศสัมพันธ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครอง

ผู้บริโภค ตั้งแต่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๘ - ๒๒ กันยายน ๒๕๖๑ และวาระที่ ๒ ตั้งแต่

๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๑-๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๔ และวาระที่ ๓ ตั้งแต่ ๓ กันยายน ๒๕๖๔

- ๓ กันยายน ๒๕๖๗ และคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาได้มีคำสั่งแต่งตั้งนางชูเนตรฯ

เป็นกรรมการในคณะอนุกรรมการศึกษาและพิจารณาข้อสัญญาและรายการในหลักฐาน

การรับเงินวาระ ๒ ปี ตั้งแต่วันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๒ และวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๔

ตามลำดับ และในปี ๒๕๖๓ นายทวี กาญจนภู กรรมการฝ่ายวิจัยได้รับแต่งตั้งให้เป็น

ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรง

๒.๓ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานภาคประชาชน

โดยมีผู้แทนสมาคมร่วมพิจารณาประเด็นการคุ้มการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์

สุขภาพ เป็นลำดับมาตั้งแต่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๙ โดยสมาคมส่ง นางนิเวศน์  ปัจจุสมัย

กรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ นางจุติพร มั่งคั่ง กรรมการฝ่ายวิชาการ นางสาววรรษกร 

ภิญโญสินวัฒน์ ผู้ช่วยฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ หมุนเวียนเป็นผู้แทนตามลำดับ และปัจจุบัน

เป็นนางสาววารุณ ธนวรานิช สาราณียกร และปี ๒๕๖๓ นายทวี กาญจนภู กรรมการ

ฝ่ายวิจัย ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเครื่องสำอาง เมื่อ

วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๓

๒.๔ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนสิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา มี

คำสั่งแต่งตั้ง ภญ.รศ.เทวี โพธิผละ นายกสมาคมเป็นที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการ

ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๒

๒.๕ สภาองค์กรของผู้บริโภค มีคำสั่งแต่งตั้ง นางชูเนตร  ศรีเสาวชาติ กรรมการวิเทศ

สัมพันธ์ เป็นกรรมการในคณะอนุกรรมการด้านสินค้าและบริการทั่วไป สภาองค์กรของ

ผู้บริโภคเมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ วาระ ๔ ปี

ช่องทางการติดต่อสื่อสาร :

สมาคมเปิดช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลโดยเว็บไซต์ชื่อ consumerprotection.or.th เมื่อ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๓
และเปิดช่องทางการติดต่อทางอีเมลชื่อ consumerprotection2521@gmail.com เมื่อ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๔   
และเปิดไลน์สมาคม เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖

 

   

            

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 10/03/2024
สถิติผู้เข้าชม1,735,961
Page Views2,000,825
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
view