http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เข้าสู่สังคมสูงวัย

5 สถานการณ์ควรรู้ เมื่อเข้าสู่สังคมสูงวัย

ด้วยอัตราการเกิดที่ลดลง และคนมีอายุยืนขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยก้าวสู่สังคมสูงวัยเป็นที่เรียบร้อย จากข้อมูลสถิติที่เกี่ยวข้อง เรามาดูกันว่ามีเรื่องใดบ้างที่ควรรู้ไว้ เพื่อเตรียมรับมือกับสังคมสูงวัย

1) วัยแรงงานรับภาระดูแลผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น เมื่อผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้น แต่จำนวนคนเกิดใหม่ลดลง ทำให้สัดส่วนวัยแรงงานต่อผู้สูงอายุมีจำนวนลดลง จากเดิมวัยแรงงาน 7 คนต่อผู้สูงอายุ 1 คน ลดลงเหลือ 4.4 คน ต่อผู้สูงอายุ 1 คน และเหลือเพียง 2.8 คนต่อผู้สูงอายุ 1 ในปี 2573 หมายความว่า วัยแรงงานต้องรับภาระในการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น

2) ผู้สูงอายุอยู่เพียงลำพังมากขึ้น จำนวนผู้สูงอายุที่อยู่ลำพังคนเดียว และอยู่ลำพังกับคู่สมรสมีจำนวนเพิ่มขึ้น ปี 2545 มีผู้สูงอายุ 2 กลุ่มนี้จำนวนร้อยละ 22 ของผู้สูงอายุทั้งหมด และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 24 ,27 และ 28 ในปี 2550 2554 และ 2557 ตามลำดับ

3) ผู้สูงอายุพึ่งพิงรายได้จากลูกหลานลดลง ปี 2550 มีผู้สูงอายุกว่าครึ่ง(ร้อยละ 52 ของผู้สูงอายุทั้งหมด) มีรายได้หลักจากเงินที่ลูกให้ แต่สัดส่วนดังกล่าวเริ่มลดลงเหลือร้อยละ 37 ในปี 2557 ขณะที่ผู้สูงอายุที่มีรายได้หลักจากการทำงานกลับมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 29 เป็นร้อยละ 34 ในปี 2557

4) แรงงานในระบบมีแนวโน้มลดลง เมื่อนำจำนวนประชากรที่มีอายุ 20–24 ปี ซึ่งเป็นวัยที่เพิ่งจบการศึกษาระดับปริญญาตรี และกำลังจะกลายเป็นแรงงานหน้าใหม่ที่เข้าสู่ตลาดแรงงาน มาเทียบกับจำนวนประชากรที่มีอายุ 60–64 ปี ซึ่งเข้าสู่ช่วงเกษียณอายุ และกำลังออกจากตลาดแรงงาน เรียกง่ายๆ ว่า นำจำนวนคนที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงานมาเทียบกับคนที่กำลังจะออกจากระบบ ว่าสามารถเข้ามาทดแทนได้เพียงพอหรือไม่ จะเห็นได้ว่าตัวเลขของแรงงานหน้าใหม่ที่เข้ามาในระบบกลับลดลง ขณะที่แรงงานหน้าเก่าที่จะออกจากระบบมีจำนวนสูงขึ้น

5) รัฐมีรายจ่ายด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น เมื่อคนมีอายุมากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ซึ่งรัฐได้ดำเนินนโยบายระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ บัตรทอง มาตั้งแต่ปี 2545 เพื่อเป็นสวัสดิการให้กับประชาชน สิ่งที่ตามมาคือรัฐย่อมมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น จากเดิม ปี 2537 รายจ่ายสุขภาพคนไทยเฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่ 2,160 บาท/คน เพิ่มขึ้นเป็น 3,211 บาท/คน และ 4,032 บาท/คน ในปี 2545 และ 2548 ตามลำดับ และปี 2556 มีรายจ่ายสุขภาพอยู่ที่ 7,354 บาท/คน ซึ่งค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่เกิดขึ้น จากเดิมในปี 2537 ก่อนที่จะมีระบบประกันสุขภาพ สัดส่วนที่รัฐจ่ายคิดเป็นร้อยละ 45 ของค่าใช้จ่ายสุขภาพทั้งหมด และภายหลังจากที่มีระบบประกันสุขภาพ ปี 2545 สัดส่วนที่รัฐจ่ายเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 63 และในปี 2556 สัดส่วนค่าใช้จ่ายสุขภาพที่รัฐจ่ายอยู่ที่ร้อยละ 77 ของค่าใช้จ่ายสุขภาพทั้งหมด

นอกจากรัฐมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นแล้ว งบประมาณด้านสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุย่อมเพิ่มสูงขึ้น เมื่อจำนวนประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น โดยในปี 2558 รัฐจ่ายเบื้ยยังชีพให้ผู้สูงอายุจำนวน 7.8 ล้านคน คิดเป็นเงิน 61,577 ล้านบาท(ที่มา: รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2558)

http://www.thaihealth.or.th/Content/45934-5%20สถานการณ์ควรรู้%20เมื่อเข้าสู่สังคมสูงวัย.html

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,743,988
Page Views2,009,155
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view