http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ฝ้าและผลิตภัณฑ์ขจัดฝ้า

ช่วงนี้แดดแรงจริง ๆ ค่ะ อากาศร้อนมาก ๆ ฉลาดซื้อขอเอาใจสาว ๆ และคงต้องรวมหนุ่ม ๆ ด้วยเพราะสมัยนี้ หนุ่ม ๆ เขาก็หันมาใส่ใจการดูแลผิวไม่แพ้สาว ๆ กันเลยทีเดียว

 ความรู้ที่เก็บมาฝากก็มาจาก คอลัมน์ “สวยอย่างฉลาด” ในนิตยสารฉลาดซื้อ เขียนโดย รศ.ดร.พิมลพรรณ พิทยานุกุล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 ฝ้าและผลิตภัณฑ์ขจัดฝ้า

สาเหตุหลักของการเกิดฝ้านั้นเกิดจากผิวหนังมีการสะสมเม็ดสีหรือที่เรียกว่า “เมลานินพิกเม้นท์” (Melanin pigment) มากเกินไป และกระจายไม่สม่ำเสมอทั่วผิวหน้า

เซลล์สร้างเม็ดสีคือ เมลาโนไซท์ (Melanocytes) เป็นเซลล์ชนิดหนึ่งของหนังกำพร้า มีหน้าที่สร้างเม็ดสีให้ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังคนเรามีสีผิว ถ้าเซลล์เหล่านี้เกิดผิดปกติโดยเกิดการสร้างเม็ดสีมากเกินไปหรือน้อยเกินไปในบางตำแหน่งของผิวหนัง ก็อาจทำให้ผิวหนังเป็นรอยด่างดำส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณผิวหน้า

ความผิดปกติในการทำงานของเซลล์สร้างเม็ดสีนั้น เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย เช่น หญิงที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิด หญิงในวัยหมดประจำเดือน และผู้ที่ใช้เครื่องสำอางผสมฮอร์โมนเพศ

นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งภายนอกร่างกายคือ แสงแดดจากดวงอาทิตย์ จะทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการสร้างเม็ดสีมากขึ้น ดังนั้นการเกิดฝ้าจึงมักเกิดขึ้นกับคนเอเชียซึ่งมีแสงแดดมากตลอดทั้งปี
 
หลักการยับยั้งการสร้างเม็ดสีนั้นทำได้โดยการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่มีชื่อว่า ไทโรซิเนส (Tyrosinase enzyme) ดังนั้นผลิตภัณฑ์ขจัดฝ้าทุกชนิดจึงประกอบไปด้วยตัวยาสำคัญที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของไทโรซิเนส ทำให้เม็ดสีไม่ถูกสร้างขึ้น

 ตัวยาที่ได้ผลมากคือ ไฮโดรควิโนน ความเข้มข้นระหว่าง 2.0 % ถึง 4.0% ในรูปแบบของครีมหรือขี้ผึ้ง ซึ่งจัดอยู่ในประเภทของ ยา ไม่ใช่ เครื่องสำอาง

ข้อเสียของไฮโดรควิโนนคือ เมื่อทายาเป็นประจำ ฝ้าจะค่อย ๆ จางหายไปจนเกิดรอยด่างขาว และเมื่อหยุดใช้ยาฝ้าหรือรอยด่างดำจะกลับมาใหม่อีก เป็นเช่นนี้เรื่อย ๆ

ที่สำคัญคือ ผู้ที่ได้รับยาไฮโดรควิโนน หากผิวหน้าได้รับแสงแดดจะเกิดอาการแพ้แดด ระคายเคือง แดง บวม และ อักเสบได้ง่ายจึงไม่ควรใช้ หรือควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผิวหนัง

ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เคมีได้ค้นพบสารเคมีใหม่ ๆ ที่มีลักษณะกลไกการทำงานคล้ายไฮโครควิโนนมากมายแต่ปลอดภัยกว่า เช่น สารสกัดจากพืชสมุนไพร bearberry extracts ซึ่งมีสาร สำคัญคือ อาร์บูติน (arbutine)

สารดังกล่าวเมื่อถูกดูดซึมเข้าสู่ผิวหนัง จะมีการสลายตัวกลายเป็นไฮโดรควิโนนทำให้มีประสิทธิภาพยับยั้งการสร้างเม็ดสีได้เช่นกัน จะพบได้ในเครื่องสำอางหลายชนิดที่มีสารสกัดชนิดนี้เป็นองค์ประกอบ แต่ใช้ได้ปลอดภัยกว่าไฮโดรควิโนนเนื่องจากเป็นสารสกัดจากธรรมชาติซึ่งมีความเข้มข้นต่ำ

อย่างไรก็ตามมีนักวิจัยหลาย ๆ ท่านที่แสดงความเป็นห่วงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นคล้ายไฮโดรควิโนน ผู้ที่ใช้เครื่องสำอางดังกล่าวจึงควรใช้ควบคู่กับครีมกันแดด

 สารสำคัญที่ถูกค้นพบและใช้ในเครื่องสำอางอีกหลาย ๆ ชนิดที่มีกลไกการทำงานคือยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนสไม่ให้สร้างเม็ดสีที่พบบนฉลากเครื่องสำอาง เช่น โคจิก แอซิค (Kojicacid) สารสกัดจากใบหม่อน (mulberry extract) และล่าสุดมีการนำสารเทนนินที่พบในพืชทั่ว ๆ ไป เช่น จากใบชา มาผสมในเครื่องสำอางเพื่อช่วยให้หน้าขาว กลไกหลักก็คือเทนนินจากพืชสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนสได้เช่นกัน

ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ จะขึ้นอยู่กับการที่สารสำคัญที่อยู่ในเนื้อครีมสามารถแทรกซึมเข้าสู่ผิวหนังชั้นลึกลงไปได้หรือไม่ หากไม่ได้หรือได้แต่น้อยมาก ประสิทธิผลก็จะไม่เกิด เพราะฝ้า หรือ “ กลุ่มของเม็ดสี” นั้นอยู่ในผิวหนังขั้นที่ลึกลงไป
เราจึงพบโดยทั่วไปว่าผลิตภัณฑ์ขจัดฝ้าไม่ได้ผลแต่หากเป็นยาแรง ๆ เช่นไฮโครดวิโนน หรือยาควบคุมพิเศษอื่นก็เกิดอันตรายและก็ไม่หายขาดอยู่ดี

 ดังนั้นวิธีการดีที่สุดคือป้องกันผิวหน้าไม่ให้ได้รับแสงแดดจัดโดยตรงและใช้ครีมกันแดด

เมื่ออ่านถึงตรงนี้ผู้บริโภคหลายๆ ท่านอาจคิดได้ว่าจำเป็นหรือไม่ในการใช้ผลิตภัณฑ์ขจัดฝ้า หรือผลิตภัณฑ์ช่วยให้หน้าขาวขึ้น เพราะไม่ใช่เครื่องสำอางธรรมดา ๆ แต่มีอันตรายแฝงอยู่ได้ในหลายผลิตภัณฑ์ทีเดียว

 ที่มา : http://www.consumerthai.org/main/index.php?option=com_content&view=article&id=2167:2012-04-02-04-21-44&catid=104:สาระดีดีจากฉลาดซื้อ&Itemid=206

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 10/03/2024
สถิติผู้เข้าชม1,735,945
Page Views2,000,809
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
view