http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรืออาหารเสริม

โดยเภสัชกรหญิง รศ.เทวี โพธิผละ

“อาหารเสริม” หรือที่ อย. กาหนดให้เรียกว่า “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร” มักจะมีรูปลักษณ์ใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์ยา แต่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ยา เพราะมีปริมาณสารออกฤทธิ์ไม่ถึงขนาดในการป้องกันบาบัด รักษาโรค หรือเปลี่ยนแปลงระบบการทางาน ตลอดจนโครงสร้างของร่างกายได้

ธุรกิจการจัดจาหน่ายผลิตภัณฑ์นี้จะต้องได้รับอนุญาตจาก อย. และแสดงเครื่องหมาย อย. พร้อมเลข 13 หลัก บนฉลาก มักจะจาหน่ายในรูปแบบการขายตรง เครือข่ายลูกโซ่ ปากต่อปาก ในวงสังคมน่าไว้วางใจ เช่น สานักปฏิบัติธรรม ทาให้น่าเลื่อมใสว่าไม่เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ ซึ่งระยะต่อมาได้พัฒนาเป็นการจัดสัมมนาเชิงวิชาการเชิญชวนเข้าร่วมโครงการ “Future Business Trends” ที่กาหนดให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาต้องแต่งกายสุภาพ (Business Look) ทาให้น่าเชื่อถือ รวมทั้งการจัดบรรยายเดี่ยวรายบุคคลเฉพาะเรื่องทานอง Talk show ให้เห็นความสาคัญในการใช้นวตกรรมผลิตภัณฑ์ป้องกันโรค และการร่วมโครงการเผยแพร่ต่อไปเพื่อบุญกุศล สังคมส่วนรวมมีสุขภาพดี รวมทั้งตัวอย่างผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการเข้าร่วมโครงการอย่างมหาศาล สิ้นสุดด้วยการเจรจารายบุคคลเพื่อเข้าร่วมโครงการตามกลยุทธ์นักการตลาดต่อไป

การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถส่งผลให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงขึ้นได้ เพราะการที่คนเราจะมีสุขภาพที่ดีได้นั้น ต้องได้รับสารอาหารที่จาเป็นต่อร่างกาย จากการบริโภคอาหารที่หลากหลาย ครบ ๕ หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นประจา รวมทั้งต้องมีการออกกาลังกายและการพักผ่อนที่เหมาะสม

การอนุญาตธุรกิจผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสานักงานคณะกรรมการอาหารและยานั้น จะมุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัยในการบริโภคเป็นหลัก โดยไม่ได้พิจารณาเพื่อรับรองเรื่องประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ว่าสามารถบาบัด รักษา หรือบรรเทาโรคได้จริง จึงห้ามมิให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทาการโฆษณาเผยแพร่ด้วยวิธีการใด ๆ ในเชิงก่อให้เกิดความเข้าใจผิดว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสามารถบาบัด รักษา หรือบรรเทาโรคใด ๆ ซึ่งการโฆษณาเช่นนั้น ถือว่าเป็นการกล่าวอ้างสรรพคุณทางยา ทั้งนี้การโฆษณาโดยการแจกแจงคุณประโยชน์ของสารอาหารที่เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้น สามารถกระทาได้ต่อเมื่อมีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่ามีคุณประโยชน์ตามที่กล่าวอ้างจริง และต้องแสดงข้อมูลบนฉลากโภชนาการ พร้อมทั้งข้อความคาเตือนในการใช้และเลข ๑๓ หลักในกรอบเครื่องหมาย อย. ส่วนเลขทะเบียนยาที่อนุญาตจะกาหนดแตกต่างไปไม่ใช้เครื่องหมาย อย.

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายชนิด ที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง มักมีการลักลอบใส่ยาแผนปัจจุบัน หรือสารที่ออกฤทธิ์ทางยาลงไปในอาหาร ส่งผลให้ผู้บริโภคที่แพ้ยาเหล่านั้นเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น ผู้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หากได้รับยาลดความอ้วน “ไซบูทรามีน” เป็นต้น

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 10/03/2024
สถิติผู้เข้าชม1,735,921
Page Views2,000,785
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
view