http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ปลูกบ้าน...หนีน้ำท่วม

ปลูกบ้าน...หนีน้ำท่วม

การปลูกบ้านในยุคนี้แล้วไม่ต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมในภาคกลาง นับเป็นความโชคดีอย่างที่สุด
โดย..วรากรณ์

       เพราะมหาอุทกภัยคราวนี้ทำเอาบ้านจัดสรรหรูๆ หลากหลายหมู่บ้านที่เพิ่งผุดขึ้นในช่วง 5 ปีหลังนี่เอง ประสบปัญหาน้ำท่วมกันถ้วนหน้า โดยเฉพาะหมู่บ้านย่านปทุมธานี บางบัวทอง บางใหญ่ เป็นต้นอาจเป็นเพราะเป็นที่ราบลุ่ม ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา อีกทั้งน้ำหลากมาเป็นปริมาณมากแบบคาดไม่ถึง ประชาชนจึงตั้งรับไม่ทัน เช่นเดียวกับหมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ 1 ในซอยแจ้งวัฒนะ 14 หมู่บ้านเก่าแก่อายุกว่า 50 ปี ตั้งอยู่เขตดอนเมือง ซึ่งไม่รอดพ้นจากปัญหาน้ำท่วมเช่นกัน เพราะตั้งอยู่ใกล้คลองประปา

      แต่ในจำนวนนี้มีบ้านอยู่ไม่กี่หลังเท่านั้นในหมู่บ้านนี้ที่รอดพ้นจากปัญหาน้ำท่วม หนึ่งในนั้นคือบ้านของ ศ.ดร.ศักดา ปั้นเหน่งเพ็ชร อาจารย์ประจำภาควิชาวาทวิทยา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ถึงแม้น้ำจะท่วมถนนสูงกว่า 1 เมตร ปริมาณน้ำนั้นได้ไหลท่วมเข้ามาถึงบริเวณรอบๆ บ้าน แต่ด้วยวิสัยทัศน์ที่มองการณ์ไกล มีที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมที่ดี อีกทั้งคำนึงถึงปัญหาโลกร้อน ผนวกแนวคิดการสร้างบ้านแบบโบราณ คือ ยกใต้ถุนสูงเพื่อป้องกันมดและปลวกมารบกวน จึงสร้างบ้านให้สูงกว่าถนนมากถึง 2 เมตร ทำให้น้องน้ำไม่เข้ามาที่บริเวณชั้น 1 ของตัวบ้าน และยังเหลือพื้นที่สูงกว่า 1 เมตร ที่ปริมาณน้ำจะแผ้วพานได้

        “ด้วยน้ำปีนี้หลากมาจากทางเหนือเป็นจำนวนมากอย่างที่อาจารย์ไม่เคยคาดคิดมาก่อน จึงไม่มีการเตรียมการป้องกัน เช่น กระสอบทราย หรือก่อปูนขึ้นมาปิดบริเวณหน้าบ้านเลย เพราะคาดไม่ถึง” ศ.ดร.ศักดาเล่าถึงสิ่งที่ไม่คาดคิด จึงไม่ได้เตรียมรับมือ แต่โชคดีที่น้ำไม่เข้าถึงบ้านชั้นที่ 1 แต่น้ำได้ไหลเข้าสู่ห้องเก็บของด้านล่าง แต่ก็ไม่ก่อปัญหามากนัก อาจารย์ศักดาและคุณแม่วัย 90 รวมถึงหลานชายจึงยังสามารถอาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้ได้อยู่

         อาจารย์ศักดา มีแนวคิดในการสร้างบ้านอย่างไรให้รอดพ้นจากปัญหาน้ำท่วมครั้งนี้ ไปติดตาม!

เลือกที่ดินและโครงสร้างบ้านต้องคิดคำนึง
         การเลือกที่ดินเพื่อปลูกบ้านให้รอดพ้นจากปัญหาน้ำท่วม ควรเริ่มตั้งแต่การเลือกซื้อที่ดินบนที่ดอน คือ ที่สูงที่น้ำท่วมถึงได้ยาก อาจารย์ศักดา เล่าว่า ตอนเลือกซื้อที่ดินประมาณ 100 ตารางวา อาจารย์เลือกและคิดเอาไว้ดีแล้วว่าที่ดินผืนนี้เหมาะสม เพราะตั้งอยู่ใกล้ดอนเมือง ใกล้สนามบินดอนเมือง และรถไฟไปมาต่างจังหวัดและต่างประเทศสะดวก ด้วยหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ใครที่ปลูกบ้านก่อนถนนปรับปรุงใหม่มักปลูกสร้างต่ำกว่าถนน บ้านหลายหลังจึงไม่รอดจากน้ำท่วมปีนี้ แต่อาจารย์ซื้อที่ดินและทิ้งเอาไว้ประมาณ 40 ปี แล้วค่อยสร้างบ้านเสร็จเมื่อ 7 ปีที่แล้ว จึงถมดินและยกระดับพื้นบ้านให้เหมาะสมโดยมีสถาปนิกและวิศวกร คือ เดชาสุริยกมลจินดา ที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการก่อสร้างบ้านนับ 50 ปี เป็นผู้ออกแบบและให้คำแนะนำทั้งหมด
         “หลักการเลือกซื้อที่ดินของอาจารย์มีปัจจัยในการเลือก คือ พื้นที่ต้องสูง โดยหลักสี่อยู่ใกล้ดอนเมือง คือ เป็นพื้นที่สูงในกรุงเทพฯ ถ้าน้ำท่วมจากแม่น้ำเจ้าพระยา หรือริมทะเล น้ำจะขึ้นมาทีหลัง แต่น้ำที่ท่วมคราวนี้เป็นน้ำที่หลากมาจากทางเหนือจึงรอดยาก แม้เขาใหญ่เป็นพื้นที่สูงก็ยังท่วม อีกข้อหนึ่ง คือ ไม่ซื้อที่ดินชายน้ำ เพราะเสี่ยงกับการถูกน้ำท่วม”

          โครงสร้างบ้าน เมื่อซื้อที่ดินทิ้งไว้ 40 ปี อาจารย์ได้ฤกษ์ปลูกบ้าน แนวคิดในการสร้างบ้านของอาจารย์สิ่งแรก คือ กลัวปลวก เพราะภาวะโลกร้อนในปัจจุบันทำให้ปลวกเจริญเติบโตรวดเร็วมาก ประกอบกับประเทศไทยเป็นพื้นที่ร้อนและชื้น ยิ่งปลูกสร้างบ้านใกล้พื้นดินจะพบกับปัญหาปลวก แมลงสาบ และมด อีกทั้งอาจารย์ได้แนวคิดมาจากการปลูกสร้างพระราชวังมฤคทายวัน จ.เพชรบุรี ที่รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชดำริให้ปลูกพระราชวังยกพื้นสูง เสาแต่ละต้นมีรางหล่อน้ำเพื่อไม่ให้มดขึ้น อาจารย์จึงนำแนวคิดนี้มาสร้างบ้าน
         “ถ้าเราสร้างบ้านพื้นสูงหน่อยก็จะช่วยลดปัญหาแมลงและสัตว์ได้ ประกอบกับอาจารย์มีคุณแม่วัย 90 มาอยู่ด้วย ซึ่งข้อเข่าท่านก็ไม่ดี หมอแนะนำว่าคุณแม่ไม่ควรอยู่บ้านที่มีความชื้น ดังนั้นบ้านจึงควรยกใต้ถุนสูง และทำห้องใต้ดินเพื่อช่วยระบายอากาศ บ้านจึงเย็น โดยไม่เคยคิดเลยว่าจะมาเจอปัญหาน้ำท่วม” อาจารย์ศักดา วาดแปลนบ้านคร่าวๆ เสนอสถาปนิกและวิศวกร ว่า ต้องการบ้านพื้นสูง 1.20 เมตรจากระดับพื้นดิน และถมดินเพิ่มสูงจากพื้นถนนอีก 30 เซนติเมตร รวมระดับพื้นบ้านที่หนาอีกประมาณ 50 เซนติเมตร รวมเบ็ดเสร็จบ้านจึงสูงกว่าพื้นถนนราว 2 เมตร หากน้ำไม่ท่วมสูงกว่า 2 เมตร อาจารย์ศักดาจะอยู่บ้านได้สบาย แม้การเดินทางเข้าออกหมู่บ้านจะลำบากไปสักหน่อย
         ด้วยเห็นใจเพื่อนบ้านที่ปลูกสร้างบ้านมานาน อาจารย์ศักดา เสนอความคิดเห็นว่า บ้านที่ปลูกสร้างใหม่ๆ ไม่ควรถมดินสูงกว่าระดับถนนมากเกิน 30 เซนติเมตร เพื่อแสดงความเห็นใจแก่เพื่อนบ้านที่ปลูกบ้านมานาน หากเกิดน้ำท่วม เพื่อนบ้านจะกลายเป็นแอ่งรับน้ำไปโดยปริยาย ทำให้เพื่อนบ้านเดือดร้อน

         ปลูกบ้านตามภูมิปัญญาไทย
         ภูมิปัญญาไทยโบราณนี้ดีหนักหนา อาจารย์ศักดา นำภูมิปัญญาไทย คือ ปลูกบ้านมีใต้ถุนสูง เนื่องจากเมืองไทยอยู่ในเขตมรสุม มีหน้าฝน และเป็นเมืองที่ระดับพื้นดินไม่สูงกว่าระดับน้ำมากนัก การปลูกบ้านที่มีใต้ถุนระดับ 1.20-1.50 เมตรจะดีกว่า เพราะใต้ถุนจะกลายเป็นที่เก็บของได้อีกด้วย ไม่เพียงนำความดีของภูมิปัญญาไทยเท่านั้น อาจารย์ศักดา ยังดึงสไตล์ที่ดีของอเมริกันมาผนวกเข้าไว้ด้วยกัน
         บ้านหลังนี้นอกจากปลูกสร้างมีห้องเก็บของชั้นล่างแล้ว ยังปลูกสูง 2 ชั้น โดยออกแบบให้มีเพดานชั้น 1 สูงถึง 3 เมตร เพื่อความโปร่งโล่งของบ้านคล้ายบ้านฝรั่ง ส่วนชั้น 2 เพดานยังยกสูงขึ้นไปอีก 2.40 เมตร เพื่อให้มีช่องลมระบายความร้อนออกจากตัวบ้าน ทำให้บ้านไม่ร้อนจนเกินไป จึงไม่ต้องพึ่งเครื่องปรับอากาศ ตัวการหนึ่งที่สร้างปัญหาโลกร้อน
         “อาจารย์อยากได้บ้านหลังคาสูง เพราะต้องการให้ลมพัดผ่าน เพื่อลดปัญหาภาวะโลกร้อน ไม่ต้องใช้เครื่องปรับอากาศ แต่ต้องยอมรับว่าเมืองไทยร้อน อาจารย์จึงทำห้องรับแขกห้องหนึ่งให้มีประตูปิดเปิด และติดเครื่องปรับอากาศไว้ใช้ยามหน้าร้อน อีกทั้งบ้านอาจารย์ยังมีระเบียงบ้านสไตล์อเมริกันกึ่งๆโอเพนแอร์ จึงรับลมธรรมชาติได้ดี”

          คำนึงถึงทิศทางลม ทิศทางลมของประเทศไทย ลมมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ ด้านหลังบ้าน อาจารย์ศักดา จึงหันออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ หน้าต่างบ้านด้านหลังทั้งหมดเลือกแบบเฟรนช์ วินโดวส์ คือ กรอบหน้าต่างต่ำอยู่ติดพื้น เพื่อเปิดรับลมได้เต็มที่ ส่วนด้านข้างบ้านปิดค่อนข้างมิดชิด เพื่อป้องกันลมหนาวในช่วงฤดูหนาว ทำให้มีลมพัดเย็นตลอดทั้งวัน ใช้อย่างมากก็แค่พัดลม ช่วยลดปัญหาโลกร้อน

        ใส่ใจระบบไฟฟ้า ควรมีการแยกแผงไฟ ทั้งชั้นใต้ถุน ไฟชั้นล่าง และไฟชั้นบน เวลาเกิดน้ำท่วมบริเวณชั้นล่างจะได้สับคัตเอาต์ตัดไฟเฉพาะจุดที่น้ำท่วมได้ นอกจากนี้ยังต้องใส่ใจกับการลาดเทของพื้นบ้านระหว่างหน้าบ้านหลังบ้าน รวมทั้งทำระบบระบายน้ำให้ดี

        “ระดับการลาดเอียงของบ้านในการเทปูน สังเกตหน้าบ้านอยู่ต่ำกว่าระดับหลังบ้านอยู่ 10 เซนติเมตร ทำให้เวลาน้ำลด น้ำหลังบ้านจะแห้งก่อนหน้าบ้าน อีกทั้งมีการออกแบบรางระบายน้ำเป็นรูปตัวแอลจากหลังบ้านอ้อมไปหน้าบ้าน เพราะคนโบราณถือไม่ให้ทำรางระบายน้ำรอบบ้าน จึงมีการออกแบบรางระบายน้ำเป็นรูปตัวแอล ทำให้บริเวณบ้านไม่มีน้ำขัง ซึ่งการลาดเทของบ้านสำคัญมากห้องน้ำควรมีท่อระบายอากาศ เพื่อทำให้ชักโครกไหลระบายได้ดี เนื่องจากไม่มีการกดอากาศภายในโถสุขภัณฑ์”

         เลือกเฟอร์นิเจอร์และการเลือกวัสดุ ไม่ควรทำแบบบิลต์อิน ยิ่งเฟอร์นิเจอร์บิลต์อินเป็นไม้ยิ่งน่าเสียดายยามน้ำท่วม หากเป็นเฟอร์นิเจอร์ยกลอยตัว จะสามารถยกหนีน้ำไปอยู่ที่ชั้น 2 ของบ้านได้ ส่วนวัสดุพื้นบ้านควรเป็นกระเบื้อง เพื่อป้องกันความชื้นจากพื้นดิน ไม่ควรปูด้วยพรม เพื่อป้องกันการเป็นมะเร็งที่ปอดเพราะความชื้น

         เตรียมรับมือปีหน้า
         ปีนี้นับเป็นความโชคดีที่ระดับน้ำขึ้นไม่ถึงตัวบ้าน แต่เพื่อปลอดภัยไว้ก่อน ปีหน้า อาจารย์ศักดา เตรียมรับมือกับปัญหาน้ำท่วมก็คือ หากฟังสถานการณ์น้ำปีหน้าหากมาสูงกว่า 2-3 เมตร ก็ต้องเตรียมยกเฟอร์นิเจอร์ขึ้นชั้น 2 เตรียมก่ออิฐมาปิดบริเวณหน้าบ้าน และเตรียมกระสอบทรายมาอุดช่องโหว่ต่างๆ รวมทั้งเตรียมเครื่องสูบน้ำมาสูบน้ำที่ทะลักผ่านแนวกระสอบทรายออกมา
        “การใช้กระสอบทรายคือการป้องกันเพียงเหตุการณ์เฉพาะหน้า การก่อกำแพงจะช่วยป้องกันน้ำได้ดีกว่าจากการศึกษาปัญหาน้ำท่วมในปีนี้ หรือถ้าน้ำท่วมสูงก็อาจจะย้ายคุณแม่ไปอยู่บ้านที่ต่างจังหวัดเลย คือย้ายก่อนที่น้ำจะท่วม แต่เนื่องจากคุณแม่อายุมากแล้วและรักบ้าน ให้ย้ายออกในปีนี้คุณแม่ไม่ยอม แต่ถ้าปีหน้าจะต้องรีบอพยพก่อน เพราะหากเกิดเจ็บป่วยจะลำบาก สิ่งที่เป็นกังวล คือ การตัดน้ำตัดไฟ ในปีหน้าถ้าหากมีระดับน้ำขนาดนี้ อยากจะขอแนะนำบ้านที่มีผู้สูงอายุ คนเจ็บป่วย หรือเด็กเล็ก ควรอพยพไปก่อนเลย เพราะหากเกิดอะไรขึ้นจะลำบาก ยิ่งมีการตัดน้ำตัดไฟจะลำบากมาก แต่เป็นคนหนุ่มคนสาวอาจจะก่อผนังปูนกั้นไว้เลยแข็งแรงกว่า กระสอบทรายก็ใช้แค่อุดท่อระบายน้ำ แต่ที่บ้านอาจารย์แม้จะทำท่อระบายน้ำไว้รอบบ้าน แม้น้ำจะเอ่อขึ้นมาจากท่อระบายน้ำแต่ก็ไม่ถึงพื้นบ้าน เอ่ออยู่ในท่อ เพราะพื้นบ้านอาจารย์ยกพื้นสูง พื้นบ้านสูงเนี่ยได้ประโยชน์มากๆ”

ที่มา : นสพ.โพสต์ทูเดย์
http://www.posttoday.com/ไลฟ์สไตล์/ไลฟ์/121505/ปลูกบ้าน-หนีน้ำท่วม

 

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 10/03/2024
สถิติผู้เข้าชม1,735,931
Page Views2,000,795
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
view