http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ถึงเวลาของโรคกะบังลมหย่อน

หญิงมีบุตรเสี่ยงเป็นโรคกะบังลมหย่อน แต่หากรู้วิธีป้องกันแลออกกำลังกายสม่ำเสมอ เท่านี้ก็หายห่วง

หากโรคไส้เลื่อนเป็นสิ่งที่คู่กับผู้ชาย โรคกะบังลมหย่อนก็น่าจะเป็นสงวนสิทธิ์ไว้ให้ผู้หญิงโดยเฉพาะ

ผู้หญิงที่มีลูกแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอดหรือภูมิแพ้ ซึ่งทำให้มีอาการไอจนแรงดันในท้องมากขึ้น ผู้ที่มีประวัติยกของหนักเป็นประจำ มีพฤติกรรมเบ่งถ่ายอุจจาระเนื่องจากท้องผูกเป็นประจำ รวมถึงครอบครัวมีประวัติกล้ามเนื้อกะบังลมไม่แข็งแรง บุคคลเหล่านี้จัดว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคกะบังลมหย่อน

 "ผู้หญิงที่ผ่านการคลอดบุตรด้วยการเบ่งคลอด ซึ่งออกแรงเบ่งคลอดด้วยตัวเอง กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อบริเวณอุ้งเชิงกรานมีความเสี่ยงจะเกิดความหย่อนและเสื่อมของกะบังลมก่อนวัยอันควร รวมถึงสตรีวัยทองที่อยู่ในภาวะขาดฮอร์โมน และผู้ที่อยู่ในภาวะโรคอ้วนซึ่งมักมีลมในท้องมาก ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน" นพ.วันชัย นพนาคีพงษ์ สูติ-นรีแพทย์ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น กล่าว

 สตรีที่มีปัญหากะบังลมหย่อน จะมาพบแพทย์ด้วยอาการต่างกัน เช่น รู้สึกถ่วงในช่องคลอด บางรายมีก้อนซึ่งก็คือมดลูกโผล่ออกมาจากช่องคลอด มีปัญหาปัสสาวะเล็ดหรือถ่ายอุจจาระลำบากร่วมด้วย นอกจากนี้โรคกะบังลมหย่อนอาจทำให้มีอาการเจ็บที่ปีกมดลูก หรือปวดถ่วงท้องน้อยเหมือนมีอะไรมาจุกอยู่ที่ปากช่องคลอด กลัวว่าจะมีอะไรหลุดออกมา

 คุณหมอ อธิบายว่า อาการปวดหน่วงๆ ถ่วงๆ เกิดจากการที่อวัยวะภายใน เช่น ลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเคยอยู่ในตำแหน่งเดิมหรือเหนือกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน มีการหย่อนตัวลงมากองอยู่ที่กล้ามเนื้อกะบังลมที่เกิดการหย่อน ในบางคนที่เป็นมากอาจมีเนื้อปลิ้นออกมาทางช่องคลอด และเสียดสีกับเสื้อผ้าจนเป็นแผลได้

 แม้ว่าอาการโดยรวมของโรคนี้จะไม่ร้ายแรง แต่มีผลต่อความมั่นใจในการดำเนินชีวิต เพราะในบางคนอาจปวดปัสสาวะบ่อย หรือมีปัญหาเรื่องการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ทำให้ไม่อยากที่จะเดินทางไปไหน

 วิธีสังเกตว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ ประการแรกหากไม่เคยคลอดบุตรมาก่อน ก็ถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ แต่หากเคยคลอดบุตรมาแล้วให้ลองลุกขึ้นยืน หากรู้สึกปวดหน่วงตรงอุ้งเชิงกราน เหมือนอวัยวะจะหลุด ก็ให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองโรคสำหรับรับการรักษาต่อไป

 การตรวจและรักษาโรค แพทย์จะตรวจด้วยวิธีการอัลตราซาวด์สำหรับหญิงที่ยังไม่เคยมีบุตร แต่มีความเสี่ยงในการเกิดโรค ส่วนหญิงที่ผ่านการมีบุตรแล้ว แพทย์จะแนะนำให้ตรวจภายใน เพื่อคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกไปด้วย

 วิธีการรักษามี 2 รูปแบบขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยคือ การผ่าตัดซึ่งมีทั้งการผ่าเอามดลูกออก การผ่าตัดที่ตัดชิ้นเนื้อที่ปลิ้นออกมาออกและเสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อใหม่ การผ่าตัดรักษาอาการปัสสาวะเล็ด การผ่าตัดปิดช่องคลอด และการรักษาแบบไม่ผ่าตัด ด้วยการขมิบนั่นเอง

 "การป้องกันที่ได้ผลดีที่สุด คือคนที่รู้ตัวว่าเสี่ยงจะเกิดโรค ก็ควรพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองเป็นประจำปีละครั้ง รวมถึงหมั่นออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้ออยู่เสมอ" คุณหมอกล่าว

 โรคนี้สามารถป้องกันได้แต่เนิ่นๆ ด้วยการฝึกขมิบช่องคลอดและทวารหนัก และทำให้บ่อยๆ เพราะยิ่งบ่อยยิ่งดี เป็นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกะบังลม หรือนอนหงายแล้วยกตัวขึ้นในท่าสะพานโค้งก็ช่วยได้

 ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/2796

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,743,956
Page Views2,009,122
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view