http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

โรคข้อเสื่อมคืออะไร ?

โรคข้อเสื่อมหมายถึง โรคที่มีความผิดปกติที่กระดูกอ่อนผิวข้อและกระดูกบริเวณใกล้ข้อ มีการเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อนผิวข้อทั้งทางด้านรูปร่างทางด้านโครงสร้าง ทางด้านชีวะเคมี และทางด้านชีวะพลศาสตร์ กระดูกอ่อนผิวข้อจะบางลง ทำให้การทำงานของกระดูกอ่อนผิวข้อเสียไป เช่น 

  • หน้าที่ในด้านการกระจายแรงที่มาผ่านข้อ เสียไป
  • หน้าที่ในการให้กระดูกเคลื่อนผ่านกันอย่างนุ่มนวลเสียไป ทำให้เกิดเสียงเวลาเคลื่อนไหว
  • มีการเปลี่ยนแปลงของกระดูกที่อยู่ใกล้ข้อ เช่นมีกระดูกงอกออกทางด้านข้างของข้อ (maginal osteophyte)
  • กระดูกใต้ต่อกระดูกอ่อนมีการหนาตัวขึ้น ทำให้เกิดอาการต่างๆ ของข้อ เช่น ปวดข้อ ข้อฝืด ข้อแช็ง มีเสียงดังที่ข้อ เวลาที่ข้อมีการเคลื่อนไหว
  • องศาของการเคลื่อนไหวของข้อลดลง ข้อโตขึ้นถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจะเกิดการพิการตามมา เช่น ข้อหลวม ข้อโก่ง ข้อบิดเบี้ยว รูปร่างของข้อผิดไป

โรคข้อเสื่อมพบได้บ่อยไหม ?

โรคข้อเสื่อมเป็นดรคที่พบได้บ่อยที่สุดของปัญหาข้อที่เกิดในคนสูงอายุ อุบัติการของโรคขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรค ถ้าการวินิจฉัยโรคอิงการเปลี่ยนแปลงทางภาพเอ็กซ์เรย์โดยไม่คำนึงถีงอาการของ ข้อจะพบอุบัติการของดรคข้อเสื่อมในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ถึงร้อยละ 70 ซึ่งจะสูงกว่าการวินิจฉัยโรคที่คำนึงว่าต้องมีอาการร่วมกับการเปลี่ยนแปลง ทางเอ็กซ์เรย์ ด้วยในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี พบได้ที่ร้อยละ 50 โดยมีองค์ประกอบที่มีผลต่อการพบโรคข้อเสื่อมคือ

  • อายุ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการเกิดโรค โดยพบอุบัติการของโรคข้อเสื่อมเพิ่มขึ้นตามอายุ สามารถเริ่มพบโรคข้อเสื่อมได้ตั้งแต่อายุ 20 ปี เป็นต้นไป คนที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปจะพบโรคนี้ตามอาการทางคลีนิคประมาณร้อยละ 50
  • เพศ พบอุบัติการพอกันทั้งเพศหญิงและชาย แต่ถ้าเปรียบเทียบอายุ ในอายุที่ต่ำกว่า 45 ปี เพศชายจะพบได้มากกว่าในเพศหญิง ในช่วงอายุ 45-54 ปี ทั้งสองเพศจะพบพอๆกันในช่วงอายุมากกว่า 54 ปีขึ้นไปจะพบได้ในเพศหญิงสูงกว่าเพศชาย อาจเป็นผลเนื่องจากวัยทองทำให้การสึกกร่อนของข้อมีมากกว่าในช่วงวัยหมดประจำ เดือน
  • พันธุศาสตร์ ประเพณี อาชีพ ในแต่ละประเทศพบอุบัติการข้อเสื่อมในแต่ละข้อไม่เท่ากันเป็นผลจากพันธุ ศาสตร์ ขนบธรรมเนียมและอาชีพ เช่นในไทยพบโรคข้อเสื่อมของข้อเข่ามาก ในขณะประเทศทางด้านซึกตะวันตกพบโรคข้อเสื่อมของข้อสะโพกมาก ตามอาชีพ อาชีพทำนาก็จะพบโรคข้อเสื่อมของข้อกระดูกสันหลังบั้นเอวมาก ในแม่บ้านมักจะเป็นโรคข้อเสื่อมของข้อนิ้วมือ ในอาชีพแม่ค้าที่ต้องเดินมากก็จะพบโรคข้อเสื่อมของข้อเข่ามาก เป็นต้น

สาเหตุของโรคเกิดจากอะไร ?

โรคข้อเสื่อมมีสาเหตุได้ต่างๆกัน ผู้ป่วยบางรายอาจมีหลายองค์ประกอบในการทำให้เกิดโรค องค์ประกอบทำให้เกิดโรค องค์ประกอบเหล่านี้บางอย่างสามารถหลีกเลี่ยงได้ก็จะไม่ทำให้เกิดโรคข้อ เสื่อม หรือช่วยชลอการเกิดให้ช้าลง องค์ประกอบของการเกิดโรคได้แก่

1. อายุ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด ในการศึกษาการระบาดวิทยาพบว่าอายุมากขึ้นจะยิ่งพบอุบัติการโรคข้อเสื่อมมาก แต่อาการปวดและความพิการไม่จำเป็นต้องเป็นมากขึ้นตามอายุ โดยเมื่ออายุมากขึ้นกระดูกอ่อนผิวข้อมีความทนต่อแรงกดลดลงตามลำดับ จากที่มีการเปลี่ยนแปลงของสารที่อยู่ในกระดูกอ่อนผิวข้อ เช่น โปรตีโอกลัยแคน คอลลาเจนและ
การทำงานของเซล์กระดูกอ่อน (chondrocyte cells) นอกจากนี้ประสาทส่วนปลายเมื่ออายุมากขึ้นจะทำงานลดลง ซึ่งจากการทดลองพบว่าถ้าเส้นประสาทที่มาเลี้ยงข้อเสียไปจะมีผลทำให้โรคข้อ เสื่อมเร็วขึ้นจากการที่ไม่สามารถจัดให้มีแรงผ่านของข้อได้อย่างถูกต้อง แรงหรือ
น้ำหนักที่ผ่านข้อที่ลงที่จุดใดจุดหนึ่งมากเกินไปจะทำให้ตำแหน่งนั้นมีการ เสียหายและทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมต่อมาได้ ดังนั้นเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ประสาทส่วนปลายทำงานลดลง ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้โรคข้อเสื่อมเกิดได้เร็วขึ้น

2. พันธุกรรมและโรคเมตาโบลิซึม โรคข้อเสื่อมพบบ่อยในรายที่มีการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของกระดูกอ่อนผิวข้อ (cartilage matrix) ผู้ป่วยที่เป็นโรคที่มีผลึกไปฝังตัวในกระดูกอ่อนผิวข้อจะทำให้เกิดโรคข้อ เสื่อมได้เร็วกว่าผู้ที่ไม่มีการเกิดผลึก โรคที่ทำให้เกิดมีการฝังตัวของผลึกในกระดูกอ่อนผิวข้อและทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมได้ ได้แก่ โรคเก๊าท์ โรคเก๊าท์เทียม ฮีโมโครมาโตซีส (hemochromatosis) โรควิลสัน (Wilson’s disease) และโรคข้อจากโอโครโนทิส (ochronotic arthropathy) โดยพบมีผลึกของกรดยูเรต (monosodium urate) ผลึกของแคลเซี่ยมไพโรฟอสเฟต (calcium pyrophosphate dihydrate) ผลึกฮีโมสิเดอริน (hemosiderin) ทองแดง กรดโฮโมเจนทิสิทโพลีเมอร์ (homogentisic acid polymers) มาฝังตัวในกระดูกผิวข้อและมีผลทำให้เกิดโรคข้อเสื่อม โดยมีผลโดยตรงต่อกระดูกอ่อนผิวข้อ ในการทำงานขององค์ประกอบต่างๆที่มีในข้อ หรือมีผลทำให้กระดูกอ่อนผิวข้อแข็งขึ้นกว่าปกติ ทำให้การรับการส่งแรงที่มากระทบเปลี่ยนแปลงไป

3. การเปลี่ยนแปลงในเมตาโบลิซึมของการทำงานของเซลกระดูกอ่อน การทำงานของเซลกระดูกอ่อนในคนปกติแตกต่างจากคนที่เป็นโรคข้เสื่อม เป็นภาวะทางพันธุกรรมไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม แต่ภาวะดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นเองหรือมีตัวมากระตุ้นแล้วทำให้เกิดข้อเสื่อม ยังไม่ชัดเจน

4. โรคที่มีข้ออักเสบ (Inflamatory joint disease) โรคข้อเสื่อม โดยตัวของมันเอง ไม่มีเยื่อบุข้ออักเสบ ถ้าเจาะตรวจน้ำจากข้อเสื่อมจะได้เซลล์จากน้ำไขข้อไม่เกิน 2000 /ลบ.มม. ในรายที่เป็นมากจนทำให้เกิดการแตกยุ่ยของผิวกระดูกอ่อน ไม่ว่าจะโดยแรงที่ผ่านเข้ามาหรือเอ็มไซม์ที่มาย่อยชิ้นส่วนที่หลุดออกมาอยู่ ในน้ำไขข้อ จะสามารถกระตุ้นให้เกิดการหลั่งของ คอลลาจิเนส (collagenase) และเอ็มไซม์ไฮโดรไลทิค (hydrolytic enzyme) จากเยื่อบุข้อและจากเซลแมคโคเฟท (macrophage) ทำให้เกิดมีการทำลายโครงสร้งของกระดูกอ่อนได้ในรายที่มีข้ออักเสบ เช่นจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้ออักเสบติดเชื้อหรือข้ออักเสบจากสาเหตุอื่นๆ การทำลายของกระดูกอ่อนผิวข้อเกิดจากเอ็มไซม์ที่หลั่งออกมาจากเยื่อบุข้อ หรือเซลเม็ดเลือดขาว และมีผลทำลายโครงสร้างของกระดูกอ่อนผิวข้อซึ่งจะทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมขึ้น

5. การได้รับบาดเจ็บของข้อ (truama) เป็นที่รู้กันดีว่าในรายที่มีกระดูกหักหรือการบาดเจ็บอันมีผลต่อการ เคลื่อนไหวของข้อซ้ำๆหลายครั้งโดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องผลสุดท้ายจะ ทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมได้ ตัวอย่างลูกสบ้าเคลื่อนหลุดจากต่ำแหน่งบ่อยๆ การหลุดของหัวกระดูกสะโพกบ่อยๆ การออกแรงกระทำซ้ำๆครั้งแล้วครั้งเล่าจะมีผลต่อข้อ โดยทำให้มีการแข็งขึ้นของกระดูกที่อยู่ใต้ต่อกระดูกอ่อน (subchondral bone) และมีผลต่อการฉีกขาดเสียหายของกระดูกอ่อนผิวข้อมากขึ้นตามเวลาที่ผ่านไปแรง ที่ส่งผ่านข้อ

นอกจากน้ำหนักตัวในตำแหน่งข้อที่เกี่ยวกับการรับน้ำหนักแล้วยังมีแรงที่ เป็นผลจากกล้ามเนื้อทำงานหดตัวในขณะร่างกายเคลื่อนไหว ในคนปกติขณะเดินจะมีแรงผ่านข้อเข่าประมาณ 4-5 เท่าของน้ำหนักตัว ในการนั่งยองๆ แรงจะเพิ่มเป็น 10 เท่าของน้ำหนักตัว ซึ่งจะเห็นได้ว่ากระดูกอ่อนต้องทำหน้าที่รับแรงดังกล่าว อาชีพที่ทำให้มีแรงผ่านข้อมากผิดปกติ เช่น คนงานขุดถนนที่ใช้สว่านขุดเจาะถนน หรือในนักกีฬา ในขณะที่มีแรงผ่านข้อมากถ้าโครงสร้างภายในกระดูกอ่อนผิวข้อรับไม่ไหวจะเกิด มีการทำลายของโครงสร้างของกระดูกอ่อนและทำให้การกระจายแรงที่ผ่านข้อเสียไป ขณะเดียวกันกระดูกที่อยู่ใต้ต่อกระดูกอ่อน ก็จะมีการแตกหักแบบเล็กๆ
ขบวนการซ่อมแซมของร่างกายอันได้แก่ การสร้างกระดูกมาแทนที่ (callus formation) และจัดตัวใหม่ของกระดูกภายหลังกระดูกหัก (remodeling) ผลการซ่อมแซมใหม่ทำให้กระดูกแข็งขึ้นทำให้การกระจายแรงก็จะแย่ไปด้วย จะมีผลให้แรงลงที่จุดใดจุดหนึ่งมากเกินกว่าปกติและทำให้เกิดโรคข้อเสื่อม

6. ความอ้วน (obesity) บทบสทของความอ้วนยังเป็นเรื่องถกเถียงกันอยู่บางรายงานสรุปว่า ความอ้วนไม่ได้เป็นองค์ประกอบใดในการทำให้เกิดโรค บางรายงานพบโรคข้อเสื่อมเพิ่มขึ้นในคนอ้วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเพศหญิง และเป็นในข้อที่รับน้ำหนัก เช่น ข้อเข่า เหตุผลที่สำคัญของความอ้วนที่ทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมก็คือแรงกดที่เพิ่มมาก ขึ้นอันเป็นผลจากน้ำหนักตัวและการกระทำซ้ำๆกันทุกวัน จึงทำให้ข้อที่รับน้ำหนักเกิดโรคข้อเสื่อมได้เร็วกว่าปกติ

องค์ประกอบเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคข้อเสื่อม ?

องค์ประกอบเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดโรคข้อเสื่อมที่สำคัญคือ การได้รับบาดเจ็บและการได้รีบแรงผ่านข้อมากเกินไป การใช้ข้อไม่ถูกต้อง อาชีพที่มีการใช้งานของข้อนั้นซ้ำๆที่ทำให้ข้อได้รับบาดเจ็บ และความอ้วน ถ้าผู้อ่านท่านใดรู้ว่าตัวเองมีองค์ประกอบเสี่ยงก็ควรรีบหาทางแก้ไขตำแหน่ง ของข้อที่เป็นโรคข้อเสื่อมได้บ่อยในคนไทยคือ ข้อเข่า ข้อกระดูกสันหลังระดับบั้นเอว ข้อกระดูกสันหลังระดับคอ ข้อปลายนิ้วมือ ขอ้กลางนิ้วมือ ข้อกระดูกนิ้วหัวแม่มือต่อกับกระดูกข้อมือ และข้อโคนนิ้วหัวแม่เท้า ที่บ่อยที่สุดคือข้อเข่า

อาการของโรคข้อเสื่อม

อาการของโรคข้อเสื่อมมักเป็นอาการที่ปรากฏเฉพาะตำแหน่งของข้อที่เป็นใน ระยะแรก อาจจะมีอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย สิ่งหนึ่งที่ต้องตระหนักเสมอก็คือ อาการที่มีจะสัมพันธ์หรือไม่สัมพันธ์กับพยาธิสภาพ หรือการเปลี่ยนแปลงทางเอ็กซ์เรย์ของข้อก็ได้ ท่านผู้อ่านอาจสงสัยว่าหมายความว่าอย่างไร โดยความเป็นจริงแล้วร่างกายจะมีการซ่อมแซมตัวเองอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น เมื่อเกิดอาการโรคข้อเสื่อมจากการเป็นแต่ละครั้งจะทำให้ปวดข้อและกระดูกอ่อน ผิวข้อบางลงอย่างช้าๆ อาการปวดที่มีร่างกายจะซ่อมแซมจนทำให้หายปวด แต่ในการเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อนที่บางลง จะไม่สามารถกลับคืนมาสู่ปกติได้ ดังนั้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคมานานก็จะมีการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างของข้อจะ มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการรักษาในรายที่ได้รับการดูแลรักษาดี โครงสร้างก็จะเสียไปน้อย แต่ในรายที่รักษาไม่ดีโครงสร้างก็จะเสียไปมาก แต่ขณะที่มาพบแพทย์อาจไม่มีอาการของโรคข้อเสื่อม ได้ถ้าผู้ป่วยมีการดูแลรักษาดี

  • อาการปวด เป็นอาการแรกที่จะพบในโรคข้อเสื่อม ระยะแรกการปวดข้อจะเกิดภายหลังการใช้ข้อมากกว่าปกติ แต่มักบอกต่ำแหน่งของการปวดได้ไม่ชัดเจน ผู้ป่วยมักจะบอกเพียงว่าเป็นที่ข้อเข่า ข้อนิ้วมือ มักเป็นข้างหนึ่งข้างใดของร่างกายก่อนในระยะแรก เช่นเป็นข้อเข่าขวาก่อน สักระยะหนึ่งเช่น 2-3 เดือน ถ้าโรคข้อเสื่อมเข่าขวาไม่ได้รับการดูแลรักษาอาการปวดข้อเข่าขวาที่เป็นจะทำ ให้ผูป่วยพยายามลดการใช้งานของข้อเข่าขวา ทำให้ต้องใช้งานข้อเข่าซ้ายมากขึ้น ข้อเข่าซ้ายที่ทำงานมากขึ้นถ้าหากการทำงานมากเกินกว่าความแข็งแรงของ โครงสร้างที่มี ก็จะเริ่มเกิดอาการปวดข้อข้างซ้ายจะเป็นมากขึ้นจากการใช้งานข้อมากกว่าปกติ อาการปวดจะดีขึ้นหรือหายเมื่อได้พักข้อ ถ้าเป็นมากขึ้นจะมีอาการปวดแม้เวลาใช้ข้อเพียงเล็กน้อย และถ้าเป็นมากขึ้นอีก ก็จะปวดแม้เวลาหยุดพักข้อ สิ่งน่าสังเกตุคืออาการปวดจากโรคข้อเสื่อมมักสัมพันธ์กับการใช้งาน และดีขึ้นเมื่อได้รับการพักการใช้ข้อ ซึ่งเป็นวิธีการทางธรรมชาติที่ข่วยดูแลตัวเราให้มีการใช้ข้อให้พอดี สัญญาณปวดข้อถือเป็นอาการเตือนที่สำคัญที่ทำให้เราต้องสำรวจตัวเราว่า มีการใช้งานของข้ออย่างไม่เหมาะสมหรือมากเกินไปหรือไม่ ถ้าพบว่ามีการใช้ข้อไม่เหมาะสมก็ให้แก้ไขการใช้ข้อให้ถูกต้องเพื่อให้ข้อ กลับสู่ปกติโดยเร็ว ถ้าพบว่ามากเกินไปจะได้ลดการใช้งานลง เพื่อให้ข้อได้พักผ่อนและซ่อมแซมให้กลับคืนสู่สภาพเดิมมากที่สุด
  • ข้อฝืด (localized stiffness) เป็นอาการที่เกิดขึ้นภายหลังจากการพักข้อเป็นเวลานาน เช่นนั่งท่าเดียวนานๆ อาการข้อฝืดจะเป็นระยะเวลาสั่นๆไม่นาน ไม่กี่นาทีมีไม่มากที่เป็นนานกว่า 15 นาที ข้อฝืด เป็นอาการชั่วคราว หากได้มีการขยับข้อสัก 2- 3 ครั้ง อาการก็จะดีขึ้นผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเสื่อมของข้อนิ้วมือจะมาพบแพทย์ด้วย อาการกำมือลำบาก มีความรู้สึกฝืด เคลื่อนไหวไม่คล่อง ต้องกำมือและคลายสลับกันไปประมาณ 5-10 นาที อาการถึงจะดีขึ้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเสื่อมของข้อเข่าจะมาพบแพทย์ด้วยอาการข้อแข็งเวลาอยู่ ในท่าใด ท่าหนึ่งเป็นเวลานานๆ เช่น การนั่งรถเดินทางเป็นเวลานาน พอลงจากรถไม่สามารถงอเข่าเพื่อการเดินได้ทำให้ไม่สามารถก้าวเท้าต้องพักกับ ที่สัก 1-2 นาทีพร้อมกับงอเข่าไปมา 2-3 ทีจึงจะสามารถเดินต่อได้
  • ข้อพิการ ผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมนิ้วมือมาพบแพทย์ด้วยอาการข้อนิ้วมือโตขึ้น ข้อนิ้วเกบิดเบี้ยวผิดรูปร่างไป ผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมของโคนนิ้วหัวแม่เท้า ทำให้นิ้วเท้าเกออก ผู้ป่วยที่เป็นโรคเข่าเสื่อมก็จะมาพบแพทย์ด้วยการเดินที่ไม่ปกติโดยเฉพาะ เวลาเดินลงบันได ข้อเข่าโก่ง

อาการปวดเกิดจากอะไร ?

เนื่องจากกระดูกอ่อนผิวข้อไม่มีปลายประสาทไปเลี้ยง อาการที่ปวดจึงเกิด
จากโครงสร้างที่อยู่ในข้อและรอบข้อดังนี้

  • การทำลายกระดูกอ่อนผิวข้อ เป็นลักษณะเฉพาะของโรคข้อเสื่อม แต่กระดูกอ่อนผิวข้อไม่ได้ทำให้เกิดอาการปวด เพราะว่ากระดูกอ่อนผิวข้อไม่มีเส้นประสาทไปเลี้ยงที่เกิดการปวดเป็นผลจาก โครงสร้างที่ถูกทำลาย เศษของกระดูกอ่อนผิวข้อที่หลุดออกมา ส่วนกระดูกอ่อนที่แตกเข้าไปในข้อจะถูกกำจัดโดยเยื่อบุข้อ และกระตุ้นให้เกิดการอักเสบขึ้นในข้อ นอกจากนี้ชิ้นส่วนอื่นๆได้แก่คอลลาเจน โปรตีโอกลัยแคน ผลึกเกลือ และเอ็มไซม์ในน้ำเจาะข้อ ก็จะมีส่วนทำให้เยื่อบุข้ออักเสบ ข้ออักเสบในโรคข้อเสื่อมมักมีความรุนแรงน้อยกว่าโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์และ จากการที่กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายไป ทำให้การเคลื่อนไหวของข้อไม่สามารถกระทำได้อย่างราบเรียบ ทำให้เกิดความรู้สึกว่ามีเสียงดังในข้อ
  • น้ำไขข้อ มีผลทางอ้อมในการเกิดอาการปวด จากการที่ทำให้เยื่อหุ้มข้อโป่งพองขึ้นและลดการเคลื่อนไหว แรงดันของข้อในน้ำไขข้อที่มีจำนวนมากขึ้นจะไปกระตุ้นตัวรับความรู้สึกที่ อยู่ในเยื่อหุ้มข้อ และผลของน้ำไขข้อที่มีมากขึ้นมีผลไปกดหลอดลือดและเส้นประสาท นอกจากนี้น้ำไขข้อที่มีมากจะมีผลต่อการเคลื่อนย้ายสารอาหารและออกซิเจนจาก เยื่อบุข้อไปสู่กระดูกอ่อนผิวข้อ และการรับเอาของเสียจากกระดูกผิวข้อไปยังเยื่อบุหุ้มข้อลดลง เมื่อมีของเสียอยู่ในน้ำไขกระดูกมากก็จะมีผลทำให้เกิดการอักเสบด้วย ดังนั้นการเอาสารที่อยู่ในน้ำไขข้อที่มากเกินไปออกก็เป็นวิธีการรักษาที่มี ประสิทธิภาพแม้จะไม่ได้ให้การรักษาอื่นร่วมด้วย
  • นอกจากนี้น้ำไขข้อของโรคข้อเสื่อมมักจะสูญเสียคุณสมบัติในการหล่อลื่น ทำให้เกิดการเสียดสีผ่านกันของกระดูกอ่อนผิวข้อเกิดแรงเสียดทานสูงกว่าคน ปกติ และยังทำให้ผิวของกระดูกอ่อนเสียไปได้ง่ายกว่าคนปกติ และเกิดอาการปวดขึ้น
  • เยื่อบุข้ออักเสบ การอักเสบของเยื่อบุข้อในโรคข้อเสื่อม มักจะเป็นเล็กน้อยและเป็นจุดที่มาของการปวด การอักเสบของเยื่อบุข้อทำให้เป็นที่มาของการใช้ยาต้านอักเสบ
  • เส้นประสาท เป็นตัวนำความเจ็บปวดจากข้อไปสู่สมอง โดยจุดรับปวดอาจส่งผ่านโดยทางพลศาสตร์ ความร้อน และตัวกระตุ้นต่างๆซึ่งอยู่ในน้ำไขข้อจากขบวนการอักเสบ นอกจากนี้เส้นประสาทในเยื่อบข้อที่ถูกกดทับหรือขาดเลือด สามารถปล่อยสารกระตุ้นให้เกิดอาการปวดและการอักเสบ
  • กระดูกใต้ต่อกระดูกอ่อนผิวข้อ เป็นต้นกำเนิดอาการปวดในโรคข้อเสื่อมจุดหนึ่งโดยในกระดูกเมื่อมีการขาดเลือด มีการหลั่งสารที่กระตุ้นปลายประสาท อาการปวดที่เกิดจากกระดูกขาดออกซิเจนเป็นแบบเจ็บลึก เมื่อกระดูกตาย (avascular necrosis) และขบวนการต่างๆจบลงก็จะเป็นช่วงที่หายปวด การหนาตัวของกระดูกใต้ต่อกระดูกอ่อน และการเกิดช่องว่างเป็นซีสท์ที่ตำแหน่งใต้ต่อกระดูกอ่อนเป็นหลักฐานทางภาพ ถ่ายเอ็กซ์เรย์ว่ามีการซ่อมแซมและการตายของกระดูกเกิดขึ้น การลดปวดจากกระดูกขาดออกซิเจนยังไม่มีการศึกษาอย่างจริงจัง ยาแก้ปวด และยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์พอช่วยได้บ้าง
  • กระดูกงอกออกทางด้านขอบของข้อ ทำให้เกิดอาการปวด โดยทำให้เกิดการยึดของเยื่อบุกระดูก (periosteum) อาการปวด สามารถทำให้เกิดขึ้นโดยการบีบหรือกดเหนือปุ่มกระดูกงอกออกทางด้านขอบของข้อ ที่โตขึ้น การอักเสบมักจะยังคงมีอยู่และรักษาด้วยยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือการฉีดยาที่ตำแหน่งนี้ นอกจากนี้กระดูกงอกออกทางด้านขอบของข้อที่โตขึ้น อาจทำให้เกิดการปวดโดยการกดเส้นประสาทเช่นกระดูกงอกออกทางด้านขอบของข้อ กระดูกสันหลังระดับคอ และระดับบั้นเอวกดเส้นประสาทที่ผ่านออกมาจากไขสันหลัง หรือภายในโพรงกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดอาการปวดและมีอาการชา หรือมีการทำงานของเส้นประสาทผิดปกติ เช่นมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่เส้นประสาทนั้นไปทำหน้าที่
  • เยื่อหุ้มข้อ เส้นเอ็นรอบข้อ และเยื่อบุกระดูก น้ำไขข้อที่มีปริมาณมากจะยืดเยื่อหุ้มข้อ เส้นเอ็นรอบข้อ และเยื่อบุกระดูก นอกจากนี้แรงกดที่ผิดปกติหรืออาจจะเกิดจากความผิดปกติของข้อ จากโรคข้อเสื่อมที่เป็นมากขึ้น เช่นข้อเข่าโก่ง ( varus deformity) มีแรงกดเส้นเอ็นของข้อเข่าทางด้านนอก (lateral) และมีการหย่อนของเส้นเอ็นของข้อเข่าทางด้านใน (medial) ภายใต้ภาวะดังกล่าวการออกกำลังกายเพื่อให้ข้อมีรูปร่างที่ถูกต้อง มีการกลับเข้าสู่ภาวะปกติให้มากที่สุด การคงองศาของการเคลื่อนไหวเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ใช้ป้องกันไม่ให้เกิดยึด เยื่อหุ้มข้อ กดทับเส้นเอ็น ยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์มีคุณค่าถ้ามีการอักเสบเกิดขึ้นร่วม ด้วย
  • ถุงน้ำรอบข้อ อาจมีการอักเสบและเป็นสาเหตุของอาการปวด มักตรวจพบได้จากการตรวจร่างกาย อาการอักเสบมักจะตอบสนองต่อการฉีดสเตียรอยด์ร่วมกับยาชาเฉพาะที่ มากกว่าการใช้ยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์
  • กล้ามเนื้อเกร็งตัว (muscle spasm) อาจเป็นสาเหตุของการปวดในผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม โดยเฉพาะโรคข้อเสื่อมของกระดูกสันหลังระดับคอและระดับบั้นเอว กล้ามเนื้อเกร็งตัวเป็นผลจากการที่กระดูกงอกออกทางด้านบนขอบของข้อกดทับเส้น ประสาท กล้ามเนื้อเกร็งตัวเป็นการป้องกันร่างกายโดยกลไกธรรมชาติของร่างกาย คือ ไม่ให้ร่างกายเคลื่อนไหวเพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกกดทับเส้นประสาทมากขึ้น ซึ่งในทางการแพทย์ได้นำมาประยุกต์รักษาผู้ป่วยโดยการใส่เสื้อพยุงหลัง กล้ามเนื้อเกร็งตัวของส่วนขา ต้องแยกออกจากปวดที่มีสาเหตุมาจากหลอดเลือดหรือรากประสาทถูกกดทับ สิ่งตรวจพบในโรคข้อเสื่อมมีอะไรบ้าง

ในรายที่เป็นน้อยอาจตรวจไม่พบความผิดปกติ ผู้ป่วยที่มาในระยะแรกเริ่มของการเป็นข้อเสื่อมมักตรวจไม่พบความผิดปกติ ในรายที่เป็นมานานจะเริ่มมีโครงสร้างของข้อผิดปกติ สิ่งผิดปกติที่สามารถตรวจพบได้ในโรคข้อเสื่อมมีดังนี้

1. ข้อบวมหรือข้อโตขึ้น มักตรวจพบข้อที่อยู่ใกล้ผิวหนัง โดยเฉพาะข้อนิ้วมือ ข้อบวมในระยะแรกเริ่มเป็นผลจากน้ำไขข้อที่มีมากขึ้น ในระยะหลังเป็นผลจากกระดูกงอกออกทางด้านขอบของข้อ พวกนี้เวลาจับจะรู้สึกแข็งหรือบางรายอาจมีความรู้สึกข้อหนาๆยุ่นๆ เป็นผลจากเยื่อหุ้มข้อมีความหนาตัวขึ้น

2. กดเจ็บ ในรายที่มีข้ออักเสบ ตรวจพบมีการกดเจ็บของข้อที่เป็น มีความเจ็บปวดขณะเคลื่อนข้อ หรือเวลากดกระดูกข้างข้อที่โต ผู้ป่วยก็จะมีความรู้สึกเจ็บได้ การตรวจพบข้ออักเสบ เช่น บวม แดง ร้อน กดเจ็บ อาจพบได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเสื่อมข้อเข่า ข้อนิ้วมือ ที่มีการกำเริบอย่างฉับพลัน ซึ่งบางครั้งแยกจากการอักเสบอื่นได้ลำบาก

3. มีเสียงในข้อในขณะเคลื่อนที่ข้อที่เป็น พบบ่อยที่ข้อเข่าเป็น ผลจากกระดูกอ่อนผิวข้อไม่เรียบเสียดสีกัน ผู้ป่วยบางคนที่ใช้ข้อเข่ามากจากอาชีพหรือการเล่นกีฬาซึ่งมีการใช้ข้อเข่า มาก อาจมาพบแพทย์ด้วยมีเสียงในข้อขณะเคลื่อนไหว

4. องศาการเคลื่อนไหวของข้อลดลง จากที่ผิวของข้อสองข้างไม่เหมาะสมกันกระดูกงอกออกทางด้านขอบของข้อที่ยื่ยอ อกมา และจากชิ้นของกระดูกอ่อนผิวข้อที่แตกออกมาขัดขวางการเคลื่อนข้อ และกล้ามเนื้อรอบข้อหดเกร็งระยะแรกที่เริ่มเป็นอาจจะยังไม่เสียองศาการ เคลื่อนไหว เมื่อเป็นมากขึ้นกระดูกงอกออกทางด้านขอบของข้อร่วมกับกระดูกอ่อนผิวข้อที่ บางลง จะเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้องศาของการเคลื่อนไหวข้อลดลง

ในรายที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ยิ่งเป็นมากและเป็นนานองศาของการเคลื่อนไหวข้อยิ่งลดลงมาก การเคลื่อนไหวของข้อจะน้อยลงจนทำให้เกิดการสูญเสียการทำงานตามปกติ เข่น ไม่สามารถเหยียดนิ้วให้ตรงได้ ไม่สามารถเหยียดข้อเข่าให้ตรงได้ ผู้ป่วยบางรายอาจมาพบด้วยขณะเดินที่มีอาการข้อเข่าขัด ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อเข่าได้ เหมือนมีอะไรมาขวางต้องสลัดเท้าแรงๆ มีเสียงดังกร๊อบถึงจะเดินต่อไปได้ เป็นผลจากส่วนของกระดูกงอกออกทางด้านขอบของข้อ มีการแตกและล่องลอยอยู่ในน้ำไขข้อ เมื่อลอยมาอยู่ในระหว่างผิวกระดูกอ่อน จะไปขัดขวางการเคลื่อนไหว

5. ข้อผิดรูปหรือพิการ ผู้ป่วยบางรายมาหาแพทย์ด้วยเรื่องข้อนิ้วมือโตผิดปกติ ซึ่งเกิดจากกระดูกงอกออกทางด้านข้างของข้อที่งอกออกทางหลังมือ โรคข้อเสื่อมของข้อเข่ามักทำให้เกิดข้อเข่าโก่ง (bowleg) คือข้อเข่าแยกห่างออกจากกัน เวลายืนจะเห็นได้ชัดเจนขึ้น ถ้าผู้ป่วยยังไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็จะเป็นมากขึ้น ในบางรายข้อเข่าด้านหนึ่งเป็นมากกว่าอีกด้านหนึ่งทำให้ข้อเข่าด้านที่เป็น มากบิดเกออกไป ผู้ป่วยบางรายอาจจะมาด้วยลักษณะข้อเข่าเข้ามาชิดกัน ปลายเท้าบิดชึ้ออก เรียกอาการว่าข้อเข่าฉิ่ง

6. ความมั่นคงของข้อเสียไป บางคนบอกว่าข้อหลวม เป็นในผู้ป่วยที่เป็นมาก กระดูกอ่อนผิวข้อบางลง ทำให้ความกระชับของข้อเสียไป มักจะพบได้ในรายที่เป็นมากๆ

7. การเดินผิดปกติ ข้อที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย อาจมาด้วยเรื่องเดินกระเผลก ซึ่งเห็นได้ชัดเจนขึ้นถ้าให้เดินในพื้นที่ขรุขระหรือเดินขึ้นลงบนทางลาด องศาของการเคลื่อนไหวข้อลดลง ไม่สามารถเหยียดข้อเข่าให้ตรงเหมือนในภาวปกติ

8. กล้ามเนื้อรอบข้อลีบเล็กลง ในรายที่เป็นโรคข้อเสื่อม ผู้ป่วยไม่ใช้ข้อจากที่มีอาการปวด กล้ามเนื้อรอบข้อจะลีบเล็กลง

ที่มา : http://www.thailabonline.com/sec21osteo.htm

 

โรคข้อเสื่อมเป็นอย่างไร

ข้อต่อคือส่วนเชื่อมต่อของกระดูกสองท่อน ทำให้กระดูกนั้นเคลื่อนไหวได้ ผิวของข้อจะเรียบปกคลุมด้วยกระดูกอ่อนผิวข้อ และมีเนื้อเยื่อไขข้อสร้างน้ำไขข้อเพื่อหล่อลื่นข้อ ข้อเสื่อม ถือ เป็นภาวะข้ออักเสบอย่างนึง พบได้มากที่สุด มีการสึกหรอของกระดูกอ่อนผิวข้อ มีสารที่ทำให้เกิดการอักเสบออกมา ทำให้ข้อนั้นมีการอักเสบ ปวด บวม เคลื่อนไหวข้อไม่สะดวก
สถานการณ์ของคนไทยกับโรคข้อเสื่อมในปัจจุบัน : ถือเป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนสูงอายุ เนื่องจากปัจจุบันคนเรามีอายุยืนยาวขึ้น ทำให้พบโรคนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ในเมืองไทยเองจะพบว่ามีอุบัติการณ์ของข้อเข่าเสื่อมมากกว่าทางตะวันตก เนื่องจากเราจะใช้ข้อเข่าในชีวิตประจำวันมากกว่า เช่น นั่งพับเพียบ หรือ คุกเข่าไหว้พระ

โรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง

แบ่งเป็น ข้อเสื่อมที่เกิดขึ้นเอง และ ข้อเสื่อมที่เป็นภาวะต่อเนื่องมาจากโรคอื่น ข้อเสื่อมที่เกิดขึ้นเอง ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่มักพบในคนที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป แต่อาจจะไม่มีอาการ ส่วนข้อเสื่อมที่เป็นภาวะต่อเนื่องมาจากโรคอื่น เช่น เคยมีกระดูกหักที่บริเวณข้อ ทำให้ ข้อนั้นเมื่อหายแล้วไม่เรียบ เมื่อมีการเคลื่อนไหว ก็จะมีการสึกหรอ หรือ โรคข้ออักเสบบางชนิด เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ จะมีการทำลายกระดูกใต้ข้อ และผิวข้อ ทำให้ข้อเสื่อม

อาการของโรค ในแต่ละขั้น ขั้นไหนถือว่าเป็นขั้นรุนแรงน่าเป็นห่วง

อาการจะค่อยๆเริ่มเป็นทีละน้อย มีอาการปวดเมื่อย เวลาใช้งานข้อ บางครั้งมีเสียงกรอบแกรบเวลาเคลื่อนไหว อาจจะมีอาการข้อตึงหรือติดเวลาพักใช้ข้อนานๆ เมื่อเป็นมากขึ้น กระดูกผิวข้อสึกหรอมากขึ้น จะทำให้ปวดมากเวลาใช้งานข้อ อาจจะพบว่ามีการผิดรูปของข้อนั้นๆ มีการบวมอักเสบ มีน้าไขข้อมาก และไม่สามารถใช้งานข้อนั้นๆได้ ซึ่งถ้าตรวจด้วยการฉายเอ๊กซ์เรย์จะเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน

โรคนี้รักษาหายขาดได้หรือไม่

เนื่องจากเป็นภาวะจากความเสื่อมของกระดูกผิวข้อ เมื่อเป็นแล้ว เมื่อผู้ป่วยอายุมากขึ้น ก็จะมีโอกาสเป็นซ้ำได้

วิธีการรักษา : การรักษาขึ้นกับอายุ และความรุนแรงของโรค การรักษาด้วยยา ต้านการอักเสบ ยาเสริมกระดูกอ่อน การฉีดน้ำไขข้อเทียม การทำกายภาพบำบัด การรักษาด้วยการผ่าตัด การส่องกล้องล้างผิวข้อ การผ่าตัดซ่อมแซมกระดูกอ่อน การผ่าตัดแก้ไขแนวรับน้ำหนักข้อ การผ่าตัดใส่ข้อเทียม

การบริหารร่างกายและการปฏิบัติตัวหลังเข้ารับการรักษา ท่าทาง อาหารการกินและยาที่ต้องระวัง

ลด ปัจจัยเสี่ยง เช่น ลดน้ำหนักตัว ลดการใช้งานข้อที่มากเกินไป เลี่ยงการยกของหนัก เลี่ยงการคุกเข่า ขัดสมาธิ ขึ้นบันไดสูงๆ การงอข้อในมุมที่มากเกินไป มีอุปกรณ์ประคองข้อ เช่น สนับข้อเข่า ข้อเท้า หรือ เสื้อที่ช่วยรัดประคองบริเวณเอว ออกกำลังกายกล้ามเนื้อพยุงข้อ เช่น กล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อ ต้นคอ กล้ามเนื้อข้อเข่า อาหารไม่ควรทานที่มีแคลอรี่มากเกินไปทำให้สะสมเป็นไขมัน การทานแคลเซี่ยมเสริมจะช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรงขึ้น ส่วนยาที่ทานควรปรึกษากับคุณหมอที่จ่ายยาเสมอๆ ไม่ควรหาซื้อยามาทานเอง อาจจะมีปัญหากับระบบทางเดินอาหารได้

โรคข้อเสื่อมป้องกันได้หรือไม่ อย่างไร

เนื่องจาก เป็นแล้วจะไม่หายขาด เรามีจุดมุ่งหมายจะชะลอภาวะเสื่อม และทำให้สามารถใช้งานข้อนั้นได้พอสมควร ควรระวังอย่าให้เกิดอุบัติเหตุ ออกกำลังกายเช่นการขี่จักรยาน หรือ ว่ายน้ำจะทำให้กระดูกและข้อแข็งแรงขึ้น

มีวิธีการบริหารร่างกายเพื่อป้องกันโรคนี้ได้บ้างหรือไม่ : การออกกำลังกายกล้ามเนื้อพยุงข้อจะทำให้ข้อนั้นๆแข็งแรงขึ้น ขอยกตัวอย่าง การออกกำลังกายง่ายๆสำหรับข้อเข่าเสื่อม ทำโดยนั่งห้อยขาข้างเตียง เกร็งขาให้เข่าเหยียดตรง แล้วยกค้างไว้ จะทำให้กล้ามเนื้อต้นขาเกร็งตัว นับ 1-10 แล้วปล่อยลง ทำสลับกับขาอีกข้างจะทำให้กล้ามเนื้อนั้นแข็งแรงขึ้น

รายการ ThaiClinic.com FM102  เรื่อง โรคข้อเสื่อม
วิทยากร นพ.มนตรี สิริไพบูลย์กิจ ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ
http://www.thaiclinic.com/medbible/oa.html นำมาบางส่วน

ยาที่ใช้รักษาโรคข้อเสื่อม มีอะไรบ้าง

  • ยาแก้ปวด เช่น Paracetamol , tramadol
  • ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น Diclofenae, Piroxicam, indomethacin เป็นต้น
  • ยาสเตียรอยด์ เช่น Prednisolone
  • กลุ่มยาที่ชะลอการดำเนินของโรค เช่น Glucosamin, Sodium hyaluronate

หลักการเลือกใช้ยารักษาโรคข้อเสื่อม

กลุ่มยาแก้ปวด และลดการอักเสบ
1. ถ้ามีอาการปวด ให้กินยา Paracetamol เป็นครั้งคราว ถ้าไม่หายอาจให้ยาแก้ปวดที่แรงขึ้นคือ tramadol และต้องพักข้อที่ปวด เช่น อย่าเดินมาก ยืนมาก หรือเดินขึ้นลงบันได และใช้น้ำร้อนประคบ
2. ถ้ามีอาการปวดมาก อาจใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ซึ่งไม่ควรกินติดต่อกันนานๆ เพราะอาจเกิดผลข้างเคียง และต้องระมัดระวังการใช้ยาในผู้สูงอายุ และผู้ที่เป็นโรคกระเพาะ
3. ถ้าอาการไม่ดีขึ้น เป็นมาก อาจฉีดสเตียรอยด์เข้าในข้อ

เนื่องจากยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย อยากทราบผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย ได้แก่

ผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร : อาจมีผลต่อกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เกิดแผลและมีเลือดออกได้ ดังนั้นผู้ป่วยที่มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงนี้สูง เช่น ผู้ป่วยสูงอายุ มีประวัติเป็นโรคกระเพาะ ก็ควรจะใช้ยาเพื่อป้องกันผลข้างเคียงดังกล่าว เช่น ใช้ยาลดกรด แนะนำให้กินยานี้หลังอาหารทันที

ผลข้างเคียงต่อไต : อาจมีผลทำให้เลือดที่มาเลี้ยงที่ไตลดลง ค่า BUN, Serum Creatinine สูงขึ้น อาจทำให้เกิดการดิ่งของน้ำและเกลือแร่ ทำให้เกิดอาการบวมน้ำ

ข้อควรระวังในการใช้ยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ มีอะไรบ้าง

  • ผู้ป่วยที่สูงอายุ
  • ผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคถุงลมโป่งพอง

ปัญหาที่พบบ่อยเกี่ยวกับการใช้ยารักษาโรคข้อเสื่อม ที่พบมีอะไรบ้าง

ผู้ป่วยมักซื้อยามากินเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ผู้ป่วยที่สูงอายุและใช้ยานี้รับประทานเป็นประจำแต่ไม่มีการตรวจดูการทำงานการไต เมื่อใช้ไปนานๆอาจมีผลต่อไตได้ผู้ป่วยมักซื้อยาลูกกลอนมาทานเอง โดยคิดว่าเป็นยาสมุนไพรกินแล้วหายปวด ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วยาลูกกลอนที่ใช้แก้ปวดข้อ มักจะใส่ยาสเตียรอยด์ซึ่งเป็นยาที่มีผลต่อร่างกายมาก ถ้ารับประทานประจำจะทำให้เกิดเลือดออกในกระเพาะ กดการทำงานของไขกระดูก หน้าบวม

ข้อแนะนำการใช้ยาในการรักษาโรคข้อเสื่อม

ู้ป่วยไม่ควรซื้อยามากินเอง* โดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร สำหรับผู้ป่วยที่สูงอายุ
และใช้ยานี้รับประทานเป็นประจำ ควรจะต้องตรวจดูการทำงานการไต เพราะเมื่อใช้ไปนานๆอาจมีผลต่อไตได้
http://www.pharm.chula.ac.th/clinic101_5/article/artitis.htm

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,744,049
Page Views2,009,218
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view