http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

“ไม่ตรงปก – คอลเซ็นเตอร์” ติดยอดแย่ ปัญหาผู้บริโภค

“ไม่ตรงปก – คอลเซ็นเตอร์” ติดยอดแย่ ปัญหาผู้บริโภค

สภาผู้บริโภค – องค์กรผู้บริโภค ร่วมแลกเปลี่ยนสถานการณ์ปัญหาผู้บริโภคทั่วประเทศ และในจังหวัดต่าง ๆ  โดยในภาพรวมพบปัญหาซื้อสินค้าออนไลน์ไม่ตรงปก – แก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกหลวง ร้องเรียนสูงสุด ขณะที่ภาคตะวันตกพบอาหารสุขภาพไม่ปลอดภัยเกลื่อนตลาดนัด ภาคใต้พบปัญหาถังแก๊สหมดอายุ แต่ยังถูกใช้ในตลาด ส่วนภาคเหนือเรียกร้องขอเปิดก่อนจ่ายคือสิทธิผู้บริโภค

วันที่ 15 มีนาคม สภาองค์กรของผู้บริโภค จัดประชุมสภาผู้บริโภคสามัญ ครั้งที่ 1/2567  เพื่อประเมินสถานการณ์ปัญหาของผู้บริโภคทั่วประเทศ โดยมีคณะกรรมการนโยบายสภาผู้บริโภค สมาชิกองค์กรผู้บริโภค  หน่วยงานประจำจังหวัด หน่วยงานเขตพื้นที่ และเจ้าหน้าที่สำนักงานสภาผู้บริโภคเข้าร่วมประชุมด้วย

สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาผู้บริโภค กล่าวถึงสถานการณ์ผู้บริโภคในช่วงที่ผ่านมาว่า สภาผู้บริโภคได้มีการพัฒนาและยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคไทยมาอย่างต่อเนื่อง นับจากปี 2564 จนถึงปัจจุบัน โดยที่ผ่านมาสามารถไกลเกลี่ย ปัญหาที่ผู้บริโภคเข้ามาร้องเรียนและช่วยเหลือจนยุติเรื่องร้องเรียนจนได้รับเงินเยียวยา 358 ล้านบาท รวมไปถึงการนำเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภคเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในชั้นศาลได้ถึง 75 คดี และทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงความเป็นธรรมได้กว่า 69,672 คน 

แม้จะมีการขับเคลื่อนการปัญหาผู้บริโภคได้อย่างกว้างขวาง แต่สถานการณ์ปัญหาผู้บริโภคในพื้นที่ทั่วประเทศยังคงพบว่า ปัญหาการซื้อของออนไลน์  ซื้อของไม่ตรงปก  ภัยทางการเงิน แก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวง และ ปัญหาขนส่งมวลชนสาธารณะที่มีความเหลื่อมล้ำผู้บริโภคไม่สามารถเข้าถึงการบริการได้ ยังคงต้องผลักดันให้เกิดการแก้ไขเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิ และยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภค

อย่างไรก็ตามสำหรับการขับเคลื่อนในปีนี้ สภาผู้บริโภคมีเป้าหมายในการขยายองค์กรสมาชิกให้ครบ 77 จังหวัดทั่วประเทศและเสนอให้ยกระดับผู้บริโภคไทยเทียบเท่าผู้บริโภคสากลโดยการแก้พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค 2522 เพื่อเพิ่มความคุ้มครองผู้บริโภคให้ชัดเจนและเป็นสากลมากขึ้น ทั้งในเรื่องอำนาจต่อรองให้กับผู้บริโภค การปกป้องผู้บริโภค การสนับสนุนองค์กรฟ้องคดีแทนผู้บริโภคซึ่งต้องมีตัวแทนในสัดส่วนที่ชัดเจน

ขณะเดียวกันนี้ ได้มีการแสดงความคิดเห็นงานคุ้มครองผู้บริโภคทั่วประเทศ เริ่มจาก จุฑา สังขชาติ หัวหน้าหน่วยประจำจังหวัดสงขลา สภาผู้บริโภค ได้ร่วมสะท้อนปัญหาผู้บริโภคในพื้นที่ภาคใต้ ว่า สถานการณ์ปัญหาของผู้บริโภคในพื้นที่ภาคใต้ที่พบมากอันดับหนึ่งคือ ภัยทางการเงิน แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ส่งข้อความหลอกหลวง โอนเงิน และรองลงมาคือการซื้อขายสินคาออนไลน์  อันดับที่สามคือ การบริการสุขภาพที่ไม่ได้รับการบริการตามที่กล่าวอ้างไว้

นอกจากนี้ผู้บริโภค จังหวัดสงขลาและสุราษฎร์ธานี ยังมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยจากการใช้ถังแก๊สหมดอายุจึงร่วมกันขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ เพื่อให้เกิดมาตรฐานและการกำกับดูแลการใช้ถังแก๊สที่ปลอดภัย

“เมื่อปี 2566 ที่ผ่านมามีผู้บริโภคมาร้องเรียนว่าตรวจสอบข้างถังแก๊สแล้วพบว่าหมดอายุตั้งแต่ปี 2565 จึงเกรงว่าจะไม่ปลอดภัยเพราะรู้สึกเหมือนมีลูกระเบิดอยู่ที่บ้าน ติดต่อไปที่ร้านขอเปลี่ยนถังแก๊สแล้วที่ร้านบอกว่าภายในร้านมีถังแก๊สที่หมดอายุแล้ว ทำให้ผู้บริโภครายนี้กังวลหนักขึ้นเพราะไม่ใช่บ้านของเขาแต่มีผู้บริโภครายอื่น ๆ ด้วย จึงติดต่อมาให้สภาผู้บริโภคช่วยเหลือ จนสามารถเปลี่ยนถังแก๊สได้ และผู้บริโภครายนี้บอกว่าอยากให้แก้ปัญหาเรื่องนี้ให้ผู้บริโภครายอื่น ๆ ด้วย จึงเริ่มสำรวจและทำแนวทางขับเคลื่อนเรื่องนี้ร่วมกัน” จุฑากล่าว

จุฑา กล่าวว่า หลังจากมีการสำรวจพบว่า ถังแก๊สในจังหวัดสงขลาทั้ง 16 อำเภอมีพบว่า ร้อยละ 20 เป็นถังแก๊สที่หมดอายุ เช่นเดียวกับที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีพบว่าถังแก๊สในตลาดส่วนใหญ่หมดอายุ จึงนำข้อมูลดังกล่าวไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้กำกับดูแลและจะขับเคลื่อนในเชิงนโยบายว่าไม่ควรจะมีถังแก๊สหมดอายุถูกนำมาใช้งานเพื่อความปลอดภัย

“ควรจะมีการสำรวจถังแก๊สที่หมดอายุ และนำไปตรวจสอบว่ายังสามารถใช้งานอีกต่อไปได้หรือไม่ เพราะถังแก๊สมีอายุการใช้งาน 5 ปี เมื่อครบอายุแล้วถังเหล่านี้จะถูกนำกลับไปตรวจสอบว่ายังใช้งานได้หรือไม่ ถ้ายังใช้ได้จะติดสติ๊กเกอร์กำหนดวันหมดอายุใหม่ แต่ขณะนี้ถังแก๊สที่หมดอายุแล้วไม่ได้ถูกนำกลับไปให้ตรวจสอบแต่ยังมีการใช้งาน ซึ่งอันตรายอาจจะเกิดขึ้นได้ทำให้จังหวัดสงขลาและสุราษฏร์ธานี นำปัญหานี้มาขับเคลื่อนร่วมกัน เพื่อให้มีการกำกับมาตรฐานความปลอดภัย”

ขณะที่ปัญหาผู้บริโภคในภาคตะวันตก อมาวสี หนองพรมมา เจ้าหน้าที่รับเรื่องราวร้องเรียน สภาผู้บริโภค จังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า ผู้บริโภคใน จังหวัดกาญจนบุรี ได้ขับเคลื่อนในการสร้างมาตรฐานในการตรวจสอบทุเรียนอ่อน หลังจากมีผู้บริโภคร้องเรียนว่า ซื้อทุเรียนทองผาภูมิไปแล้วพบปัญหาทุเรียนอ่อน และร้องมาที่สภาผู้บริโภค เมื่อเราไปตรวจสอบก็พบว่าเป็นทุเรียนอ่อนจริง ๆ โดยไกลเกลี่ยจนผู้บริโภคได้รับเงินคืนจำนวน 400 บาท

อย่างไรก็ตามหลังพบทุเรียนอ่อน สภาผู้บริโภค จ.กาญจนบุรี ได้โพสต์แจ้งเตือนผู้บริโภค และมีสื่อมวลชน เช่น ไทยพีบีเอสสนใจและนำไปเผยแพร่กระทั่งรัฐวิสาหกิจชุมชนที่ปลูกทุเรียนติดต่อเข้าเพื่อแก้ปัญหาร่วมกันเนื่องจากว่าส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของทุเรียทองผาภูมิ กระทั่งนายอำเภอทองผาภูมิได้สำรวจตลาดและมีนโยบายให้ผู้ขายทุเรียนทองผาภูมิทุกรายติดสติ๊กเกอร์ ว่ามาจากสวนไหน พร้อมเบอร์โทรศัพท์ เพื่อให้ผู้บริโภคติดต่อได้

ส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชลดา บุญเกษม กรรมการสภาองค์กรของผู้บริโภค ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ผู้บริโภคในจังหวัดอยุธยากำลังขับเคลื่อนเรื่องขนส่งสาธารณะปลอดภัยเป็นธรรมในเมืองมรดกโลก เนื่องจากอยุธยาเป็นเมืองท่องเที่ยว ที่ไม่มีสถานีขนส่งประจำจังหวัดทำให้นักท่องเที่ยวไม่รู้ต้องไปขึ้นรถสาธารณะที่ไหน จึงเห็นร่วมกันว่าจะพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ รอบเมืองท่องเที่ยวให้ดีขึ้น 

นอกจากนี้จะพัฒนาจุดจอดรถมีป้าย อัจฉริยะ สามารถตรวจสอบเวลาเดินรถได้ รวมถึงเรื่องของการทำรถรับส่งนักเรียนปลอดภัยและทำให้ระบบขนส่งสาธารณะเมืองทองเที่ยวที่ทุกคนขึ้นได้ ทั้งผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส โดยผลักดันโครงการเมืองไม่ทิ้งใคร นำเอารถสาธารณะชานต่ำมาทดลองวิ่งเพื่อให้รับคนได้ทุกประเภท

“ขณะนี้มีเรื่องรถไฟความเร็วสูงซึ่งเรากำลังจะหาจุดต่อสถานีที่ได้ประโยชน์กับชุมชนทั้งหมดเนื่องจากที่ผ่านมาการกำหนดจุดจอดมีผลกระทบต่อชุมชนและจัดรับฟังความเห็นประชาชนก็มีความเห็นทั้งสองฝ่ายจึงกำลังหาทางออกว่าจุดจอดรถไฟความเร็วสูงอยู่ร่วมกันกับชุมชนอย่างไร”ชลดากล่าว

ขณะที่ปัญหาของผู้บริโภคภาคใต้ ธนพร บางบัวงาม หัวหน้าหน่วยงานประจำจังหวัดประจวบครีรีขันธ์ กล่าวว่า ปัญหาที่ดำเนินการช่วยเหลือผู้บริโภคอยู่ในขณะนี้คือโครงการเรื่องร้องเรียนบ้านหัวหิน  เนื่องจากมีผู้เสียหายมากกว่า 13 ราย และมูลค่าความเสียหาย 32 ล้านบาท โดยผู้บริโภคร้องเรียนมาให้เข้าไปช่วยเจรจา หมู่บ้านจัดสรรที่เลี่ยงจดทะเบียนซื้อบ้านพัง รั้วร้าว บ้านรั่วทรุด สิ่งแวดล้อมเหม็นน้ำเน่า 

ธนพร กล่าวว่า หลังจากรับเรื่องร้องเรียนก็เข้าไปช่วยเจรจาหลายครั้งให้ซ่อมบ้านแต่ก็เกิดปัญหาซ้ำอีก จนในที่สุดสภาผู้บริโภคได้ฟ้องร้องแทนผู้บริโภค โดยศาลชั้นต้นวินิจฉัยยกฟ้องเนื่องจากปัญหาเอกสาร ขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมเอกสารเพื่อยื่นอุทธรณ์ คาดว่าจะสามารถอุทธรณ์ได้ภายในเดือนมีนาคม 2567 นี้

 “เราได้สำรวจข้อมูล กรณี หมู่บ้านจัดสรรสร้างบ้านไม่ได้มาตรฐานซึ่งพบว่ามีจำนวนมาก ตั้งแต่ป้ายโฆษณาไม่ตรง สร้างบ้านรั่ว ซึม ทรุด ซึ่งเราเปิดรับเรื่องร้องเรียน ผู้บริโภคที่มีปัญหาในเรื่องนี้เพื่อช่วยเหลือและหาทางออกในทางนโยบายต่อไป”ธนพรกล่าว

ด้าน กมลชนก ชาวศรี เจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน สภาผู้บริโภคจังหวัดสมุทรสงคราม กล่าวว่า ปัญหาที่ผู้บริโภคจ.สมุทรสงครามพบคือเรื่องของ การขายยา อาหารเสริม ไม่ปลอดภัย ไม่มีฉลากภาษาไทย และ ไม่มีเครื่องหมาย อย. โดยพบว่ามีผู้บริโภคได้รับผลกระทบรุนแรง กินอาหารเสริมทำให้ไม่สามารถเดินได้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการส่งอาหารเสริมดังกล่าวให้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตรวจสอบว่ามีสเตียรอยด์เป็นส่วนผสมหรือไม่ และถ้าตรวจสอบพบสารดังกล่าวจะพิจารณาว่าฟ้องแทนผู้บริโภครายดังกล่าว

ส่วนเชิงนโยบายได้ทำงานร่วมกับ สาธารณสุขจังหวัด เพื่อสำรวจตลาดนัดว่าขายผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอางที่อันตรายหรือไม่ โดยจะเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดออกนโยบายตลาดปลอดภัยไม่มีผลิตภัณฑ์ที่อันตรายต่อสุขภาพวางขายในตลาดอีกต่อไป

ส่วนสถานการณ์ภาคเหนือ ลาภิศ ฤกษ์ดี หน่วยงานเขตพื้นที่ผู้บริโภคภาคเหนือ กล่าวว่า ปัญหาของผู้บริโภคภาคเหนือ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการซื้อสินค้า และ บริการออนไลน์ ทั้งปัญหาซื้อของไม่ตรงปก ถูกมิจฉาชีพหลอก ผู้บริโภคภาคเหนือ จึงเห็นว่าต้อง ขับเคลื่อนเรื่องการเปิดก่อนจ่ายเนื่องจากเป็นสิทธิของผู้บริโภคที่จะได้ดูสินค้าก่อนจ่าย เราจึงใช้คำว่า เปิดก่อนจ่ายคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค

“เวลาเราไปซื้อในร้านทั่วไป เราสามารถดูสินค้าก่อนได้ แต่ซื้อของออนไลน์ เราควรจะสามารถเปิดกล่องดูได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นผู้บริโภคต้องขอเปิดดูของก่อน อยากย้ำให้ผู้บริโภคใช้สิทธิขอเปิดก่อนจ่ายเพื่อสะท้อนไปยังบริษัทขนส่งให้ยอมรับสิทธินี้” ลาภิศกล่าว

อย่างไรก็ตาม หน่วยงานเขตพื้นที่ผู้บริโภคภาคเหนือมีเป้าหมายสำคัญที่ต้องทำคือขยายเครือข่ายให้มีองค์กรที่เป็นหน่วยประจำจังหวัด 5 หน่วยและหน่วยประสานอีก 2 หน่วยงาน และมีองค์กรสมาชิกระจายได้ 18 จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ

https://www.tcc.or.th/19032567_fakeproductsandcallcenterproblems/?fbclid=IwAR3VnvC-9NmCqzHWPnlUYz4c1mvIpYHNrpb_YqqpI0pTuMccHWWnCNPd-To



Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 07/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,408
Page Views2,018,654
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view