http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เร่ง ‘กรมกิจการผู้สูงอายุ’ แจ้งเตือนผู้สูงวัย หลังข้อมูลเกือบ 20 ล้านชุดโดนแฮ็ก

เร่ง ‘กรมกิจการผู้สูงอายุ’ แจ้งเตือนผู้สูงวัย หลังข้อมูลเกือบ 20 ล้านชุดโดนแฮ็ก

สภาผู้บริโภค เรียกร้องกรมกิจการผู้สูงอายุ แจ้งเตือนเจ้าของข้อมูลเกือบ 20 ล้านชุด ที่รั่วไหลให้ทราบถึงความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น แนะรัฐให้ความรู้และออกแบบระบบเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันความเสียหาย

จากกรณีเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2567 บริษัท Resecurity ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่ให้บริการด้านความปลอดภัยไซเบอร์ของสหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่รายงานโดยระบุว่าเดือน มกราคม 2567 พบข้อมูลที่ใช้ระบุตัวคนไทย ประกอบด้วย ชื่อ – นามสกุล เลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ อีเมล ลายมือชื่อ รวมถึงรูปถ่ายหน้าตรง เกือบ 20 ล้านชุดข้อมูล รั่วไหลและถูกประกาศขายบนเว็บไซต์ซื้อขายข้อมูลผิดกฎหมาย หรือดาร์กเว็บ (Dark Web)

โดยแหล่งข้อมูลที่รั่วไหลมากที่สุด ได้แก่ กรมกิจการผู้สูงอายุ ซึ่งมีข้อมูลรั่วไหลมากถึง 19.7 ล้านแถวข้อมูล ทำให้อาจกระทบต่อสิทธิ ความปลอดภัยทางด้านไซเบอร์ รวมถึงความปลอดภัยทางการเงินของผู้สู้งอายุ นั้น

วันนี้ (9 กุมภาพันธ์ 2567) สุภิญญา กลางณรงค์ ประธานอนุกรรมการด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยี สภาผู้บริโภค แสดงความเห็นต่อกรณีดังกล่าวว่า กรมกิจการผู้สูงอายุ ในฐานะหน่วยงานของรัฐควรออกมายอมรับและแสดงความจริงใจอย่างโปร่งใสว่า ข้อมูลขององค์กรรั่วไหลจริง อีกทั้งควรรีบแจ้งเตือนไปยังเจ้าของข้อมูลเพื่อให้ทราบและเตรียมรับมือกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะในปัจจุบันที่สังคมไทยก้าวเข้าสู่งสังคมสูงวัยอย่างเต็มตัว สวนทางกับการพัฒนาของเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดส่งผลให้ผู้สูงอายุต้องเพิ่มความระมัดระวังในการกดลิงก์หรือการรับสายเบอร์แปลกมากยิ่งขึ้น

ประธานอนุกรรมการด้านการสื่อสาร กล่าวอีกว่ารู้สึกกังวลใจกับเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลในครั้งนี้ เพราะแม้จะมีพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ กฎหมายพีดีพีเอ (PDPA) แต่ยังพบปัญหาในทางปฏิบัติที่ล่าช้าและขาดการบังคับใช้กฎหมายที่จริงจัง

“ผู้สูงวัยส่วนใหญ่คือผู้อพยพทางเทคโนโลยี เพราะเป็นกลุ่มที่เกิดและเติบโตในยุคแอนะล็อก (Analog) แล้วค่อย ๆ เปลี่ยนผ่านมายุคดิจิทัล (Digital) ทำให้อาจยังไม่มีภูมิคุ้มกันหรือความเท่าทันเทคโนโลยีเท่ากับวัยรุ่นที่เป็นคุ้นเคยกับดิจิทัลตั้งแต่เด็ก ดังนั้น จึงควรมีมาตรการหรือระบบที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดำเนินชีวิตในยุดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย” สุภิญญาระบุ

ทั้งนี้ สุภิญญาเสนอให้รัฐบาลออกแบบระบบที่เหมาะสมกับสังคมสูงวัย เช่น การจ่ายหรือโอนเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ ควรออกแบบตัวเลือกการโอนเงินให้มีการหน่วงเวลาไป 15 หรือ 30 นาที กล่าวคือ เมื่อมีการโอนเงิน ระบบจะเว้นระยะเวลา 15 หรือ 30 นาทีก่อนที่เงินจะเข้าบัญชีปลายทาง เพื่อให้ผู้สูงอายุมีเวลาตรวจสอบและจะช่วยชะลอความเสียหายในการทำธุรกรรมสำหรับกรณีที่ผู้สูงวัยถูกหลอกโอนเงินให้มิจฉาชีพได้ นอกจากนี้ ควรเผยแพร่ความรู้ เตือนภัย และมีข้อแนะนำในการใช้เทคเทคโนโลยีสำหรับผู้สูงอายุอย่างสม่ำเสมอ เช่น แนะนำว่าหากมีเบอร์ที่ไม่รู้จักโทรเข้า ไม่ควรรับสาย แต่ให้ใช้วิธีการโทรกลับเพราะหากเป็นแบอร์ของมิจฉาชีพจะไม่มีคนรับสาย เป็นต้น

https://www.tcc.or.th/09022567_elder-information-leak_news/?fbclid=IwAR1_eWH-la_acuq4BThoXS4lngX4CRyf8xgE9T9cKQFmWrLfSt-SGEOkR3k


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 07/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,414
Page Views2,018,660
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view