http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

โลหิตจาง สาเหตุสำคัญอันดับ 1 ที่ทำให้บริจาคโลหิตไม่ได้

โลหิตจาง สาเหตุสำคัญอันดับ 1 ที่ทำให้บริจาคโลหิตไม่ได้

โลหิตจาง เป็นภาวะที่ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดง หรือปริมาณฮีโมโกลบินในเลือดน้อยกว่าปกติ โดยปกติเม็ดเลือดแดง   ในร่างกายของคนเราจะมีอายุอยู่ที่ประมาณ 120 วัน และจะถูกทำลายที่ม้าม ซึ่งการสร้างและการทำลายเม็ดเลือดแดงจะต้องอยู่ในภาวะที่สมดุล แต่หากเสียสมดุลดังกล่าว ก็อาจส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจางในผู้บริจาคโลหิต ทั้งนี้ พบว่าสาเหตุสำคัญของภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กมี 3 ประการ ดังนี้

  1. ผู้บริจาคโลหิตที่ได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ซึ่งแบ่งสาเหตุได้ 2 ชนิด คือ
  • ได้รับธาตุเหล็กน้อยเกินไป เช่น รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กน้อย หรือไม่รับประทานธาตุเหล็กเสริมหลังบริจาคโลหิต
  • มีความผิดปกติในกระบวนการดูดซึมธาตุเหล็ก เช่น ผู้ที่รับประทานยาลดกรดในกระเพาะอาหาร หรือแคลเซียม
  1. ผู้บริจาคโลหิตที่สูญเสียธาตุเหล็กมากกว่าปกติ ซึ่งแบ่งสาเหตุได้ 2 ชนิด คือ
  • การเสียธาตุเหล็กฉับพลันจำนวนมาก เช่น ผ่าตัดใหญ่ คลอดบุตร แท้งบุตร ได้รับอุบัติเหตุ หรือประจำเดือนมามากผิดปกติ
  • การบริจาคโลหิตต่อเนื่อง โดยไม่ได้รับประทานธาตุเหล็กทดแทนอย่างเพียงพอ
  1. ผู้บริจาคโลหิตที่มีความผิดปกติในกระบวนการสร้างเม็ดเลือด ผู้ป่วยทางโลหิตวิทยา เช่น โรคโลหิตจาง มะเร็งเม็ดเลือดขาว ไขกระดูกฝ่อ เป็นต้น

                    สาเหตุของภาวะโลหิตจางสำหรับผู้บริจาคโลหิตที่ได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ และมีการสูญเสียธาตุเหล็กจากการบริจาคโลหิตต่อเนื่อง โดยไม่รับประทานธาตุเหล็กทดแทน     เป็นสาเหตุที่สามารถแก้ไขได้เบื้องต้น ทั้งนี้ ผู้บริจาคโลหิตเองอาจไม่ทราบ หรือไม่รู้ตัว    การเฝ้าระวัง หรือสังเกตตนเอง จึงเป็นสิ่งจำเป็นทุกครั้งที่มีการบริจาคโลหิต ผู้บริจาคโลหิตจะได้รับคำแนะนำให้ รับประทานธาตุเหล็กหลังการบริจาค ข้อแนะนำในการดูแลสุขภาพตนเอง รวมถึง เรื่องการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และมีธาตเหล็กสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์      เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล ผักใบเขียว ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ และไข่ โดยทานร่วมกับอาหาร   ที่มีวิตามินสูงในมื้อเดียวกัน เพื่อช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น

                    สำหรับผู้บริจาคโลหิตที่มีอาการไม่พึงประสงค์จากการทานยาธาตุเหล็ก ได้แก่ อาการคลื่นไส้ ท้องเสีย หรือท้องผูก อาจลองรับประทานธาตุเหล็กพร้อมหรือหลังมื้ออาหารทันที

                    ทั้งนี้ จึงขอให้ผู้บริจาคโลหิตที่มีความประสงค์บริจาคโลหิตอย่างต่อเนื่อง ทานธาตุเหล็กทดแทนทุกครั้ง เพื่อให้ผู้บริจาคมีโลหิตที่มีคุณภาพ มีสุขภาพแข็งแรง สามารถบริจาคโลหิตได้อย่างต่อเนื่อง และได้บริจาคโลหิตเพิ่มโอกาสในการช่วยชีวิตผู้ป่วยสมความตั้งใจ

https://www.thaihealth.or.th/%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%ab%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b8%88%e0%b8%b2%e0%b8%87-%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%95%e0%b8%b8%e0%b8%aa%e0%b8%b3%e0%b8%84%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%99/


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 07/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,286
Page Views2,018,532
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view