http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

สคบ.ประกาศให้รางวัลสินบนนำจับ แจ้งเบาะแสคนทำผิดสูงสุด 1.6 ล้านบาท

สคบ.ประกาศให้รางวัลสินบนนำจับ แจ้งเบาะแสคนทำผิดสูงสุด 1.6 ล้านบาท

รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้ออกประกาศข้อบังคับกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการหักเงินค่าปรับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และแก้ไขเพิ่มเติมก่อนส่งคลัง พ.ศ. 2566 โดยประกาศนี้ได้มอบหมายให้เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือผู้ได้รับมอบหมายหักค่าปรับตามหลักเกณฑ์และอัตราที่เหมาะสมกับสภาพของความลำบากในการปฏิบัติหน้าที่

ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกที่มีการให้สินบนนำจับให้กับผู้แจ้งเบาะแสหรือเค้าเงื่อนของการกระทำผิด และเป็นรางวัลแก่เจ้าหน้าที่ ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) โดยให้สินบนการแจ้งเบาะแสนำจับกรณีสามารถจับกุมผู้กระทำความผิดได้วงเงินสูงสุดไม่เกิน 1,600,000 บาท และกรณีที่ไม่สามารถจับกุมผู้กระทำความผิดจะได้สินบนแจ้งเบาะแสนำวงเงินสูงสุดไม่เกิน 1,200,000 บาท จากก่อนหน้าที่จะเพียงการค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของ สคบ. และนำเงินคงเหลือส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน

โดยแบ่งอัตราการหักค่าปรับเป็น 2 กรณี คือ กรณีมีการจับกุมผู้กระทำผิด ให้หักได้ 80% และกรณีที่ไม่มีการจับกุมผู้กระทำผิด ให้หักได้ 60% สำหรับการหักค่าปรับสามารถหักได้ไม่เกินวงเงินสูงสุดของประเภทความผิดนั้นที่ประกาศนี้กำหนด อาทิ ค่าปรับตามมาตรา 56/5 วรรคสาม สำหรับกรณีกระทำความผิดตามมาตรา 56/ มาตรา 56/3 มาตรา 56/4 หรือมาตรา 56/5 เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย กรณีที่มีการจับกุมผู้กระทำผิด ให้หักได้ 80% แต่ไม่เกิน 1,600,000บาท กรณีที่ไม่มีการจับกุมผู้กระทำผิด ให้หักได้ 60% แต่ไม่เกิน 1,200,000 บาท, ค่าปรับในผิดตามมาตรา 56/2 มาตรา 56/3 มาตรา 56/4 หรือมาตรา 56/5 เป็นเหตุให้อันตรายแก่กาย สุขภาพอนามัยหรือจิตใจของผู้อื่น กรณีที่มีการจับกุมผู้กระทำผิด ให้หักได้ 80% แต่ไม่เกิน 640,000 บาท กรณีที่ไม่มีการจับกุมผู้กระทำผิด ให้หักได้ 60% แต่ไม่เกิน 480,000 บาท

ขณะที่ค่าปรับในความผิดกรณีโฆษณาโดยใช้ข้อความตามมาตรา 22 วรรคสอง (3) หรือ (4) หรือข้อความตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 22 วรรคสอง (5) หรือฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 23 มาตรา 24 มาตรา 25 หรือมาตรา 26 กรณีที่มีการจับกุมผู้กระทำผิด ให้หักได้ 80% แต่ไม่เกิน 48,000 บาท และกรณีที่ไม่มีการจับกุมผู้กระทำผิด ให้หักได้ 60% แต่ไม่เกิน 36,000 บาท, ค่าปรับในความผิดกรณีเจ้าของสื่อโฆษณา หรือผู้ประกอบกิจการโฆษณา กระทำตามมาตรา 49 วรรคหนึ่ง กรณีที่มีการจับกุมผู้กระทำผิด

ค่าปรับในความผิดกรณีเจ้าของสื่อโฆษณา หรือผู้ประกอบกิจการโฆษณา ให้หักได้ 80% แต่ไม่เกิน 40,000 บาท กรณีที่ไม่มีการจับกุมผู้กระทำผิด ให้หักได้ 60% แต่ไม่เกิน 30,000 บาท, ค่าปรับในผิดกรณีเจ้าของสื่อโฆษณา หรือผู้ประกอบกิจการโฆษณา กรณีที่มีการจับกุมผู้กระทำผิด ให้หักได้ 80% แต่ไม่เกิน 24,000 บาท กรณีที่ไม่มีการจับกุมผู้กระทำผิด ให้หักได้ 60% แต่ไม่เกิน 18,000 บาท, ค่าปรับปรับสำในความผิดกรณีขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวก ไม่ให้ถ้อยคำหรือไม่ส่งเอกสาร หลักฐานแก่เจ้าหน้าที่ สคบ.

กรณีมีการจับกุมผู้กระทำผิดให้หักได้ 80% แต่ไม่เกิน 16,000 บาท และกรณีที่ไม่มีการจับกุมผู้กระทำผิด ให้หักได้ 60% แต่ไม่เกิน 12,000 บาท อย่างไรก็ตาม หลังประกาศมีผลบังคับใช้ราว 1 เดือน มีผู้แจ้งเบาะแสมาแล้ว 35 เรื่อง ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่เพื่อพิสูจน์ผู้กระทำผิดต่อไป... สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/2830828/

https://www.dailynews.co.th/news/2830828/

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 07/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,499
Page Views2,018,747
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view