http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

อย. แนะกินเจและผักผลไม้อย่างปลอดภัย ในช่วงเทศกาลกินเจ

อย. แนะกินเจและผักผลไม้อย่างปลอดภัย ในช่วงเทศกาลกินเจ

อย. ร่วมส่งเสริมเทศกาลกินเจ งดเนื้อสัตว์ เสริมบุญบารมี แนะผู้บริโภคเลือกซื้ออาหารเจโดยดูข้อมูลบนฉลาก และผักผลไม้ในสภาพสดใหม่ ควรล้างให้สะอาดก่อนนำไปรับประทาน 

นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตระหนักถึงความสำคัญของการบริโภคอาหารเจและผักผลไม้อย่างปลอดภัยในช่วงเทศกาลกินเจ กรณีเป็นอาหารเจสำเร็จรูป ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากแสดง ชื่ออาหาร เลขสารบบอาหาร ชื่อและที่ตั้งของสถานที่ผลิต หรือชื่อและที่ตั้งผู้นําเข้าและประเทศผู้ผลิต น้ำหนักสุทธิ ส่วนประกอบที่สําคัญ วันเดือนและปีที่ผลิต และวันเดือนและปีที่ควรบริโภคก่อน หรือหมดอายุ เป็นต้น สำหรับการเลือกซื้อผักต้องเลือก ผักที่สด ใหม่ สะอาด ไม่แข็งหรือกรอบจนเกินไป ไม่มีกลิ่นฉุนแสบจมูก เชื้อรา หรือสีผิดจากธรรมชาติ ไม่มีเศษดินหรือสิ่งสกปรกเกาะหรือคราบสีขาวของสารฆ่าแมลงตกค้างอยู่ นอกจากนี้ ควรเลือกผักที่ใบมีรูจากการเจาะของแมลง ส่วนการเลือกซื้อผลไม้นั้น ต้องดูที่ผิวสด ใหม่ ขั้วหรือก้านยังเขียวและแข็ง เปลือกไม่ช้ำหรือดำ ที่สำคัญควรล้างให้สะอาด โดยใช้ผงฟู 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด หรือใช้น้ำส้มสายชูหรือเกลือ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 4 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด หรือเด็ดผักเป็นใบ ล้างด้วยน้ำไหลผ่าน ใช้มือถูเบา ๆ เพื่อลดสารพิษตกค้างจากยาฆ่าแมลง ก่อนนำไปรับประทานหรือปรุงอาหาร

เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า อย. ได้มีมาตรการเฝ้าระวังสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารเจ ณ สถานที่จำหน่าย เช่น ตลาด หรือห้างสรรพสินค้า เพื่อตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอจำเพาะของเนื้อสัตว์อย่างต่อเนื่อง โดยได้ตรวจวิเคราะห์อาหารเจ จำนวน 94 ตัวอย่าง พบยีนจำเพาะของไก่ 1 ตัวอย่าง นอกจากนี้ ยังเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในผักและผลไม้สด โดยผลการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผักและผลไม้สด จำนวน 2,022 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้าง  100  ตัวอย่าง ทั้งนี้ ผู้กระทำผิดกรณีตรวจพบ DNA จากสัตว์ มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 - 100,000 บาท กรณีตรวจพบสารพิษตกค้างเกินปริมาณที่กำหนด มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หากผู้บริโภคพบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายสามารถร้องเรียนมาได้ที่ สายด่วน อย. โทร.1556 หรือ E-mail: 1556@fda.moph.go.th หรือ ตู้ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

https://oryor.com/media/newsUpdate/media_news/2600?fbclid=IwAR1lbD4F031Kom880joUYvIVKghHYvP6obh0u0pQpKBNQXbceqdey-BBs-o

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 07/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,228
Page Views2,018,473
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view