http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

สธ. เฝ้าระวังต่อเนื่อง สุ่มเก็บตัวอย่างหอยเชลล์ พบยังปลอดภัย

สธ. เฝ้าระวังต่อเนื่อง สุ่มเก็บตัวอย่างหอยเชลล์ พบยังปลอดภัย

ยืนยันไม่พบกัมมันตรังสีในอาหารทะเลนำเข้าจากญี่ปุ่น หลัง อย. ลุยตรวจสอบ ปลา ปลาหมึก หอย ปู สาหร่ายกว่า 90 ตัวอย่าง รมว.สาธารณสุขให้ อย. เฝ้าระวังและตรวจสอบเพื่อความปลอดภัยของประชาชนอย่างเข้มงวด 

จากกรณีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในจังหวัดฟุกุชิมะของญี่ปุ่นมีการปล่อยน้ำเสียจากโรงไฟฟ้าลงสู่ทะเล เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2566 และปล่อยอีกครั้งในรอบที่ 2 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566 ทำให้มีความกังวลว่า อาหารทะเลที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นอาจมีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีที่ปนมากับน้ำซึ่งปล่อยลงสู่ทะเลตามข่าวที่ได้มีการรายงานก่อนหน้านี้ 

ล่าสุด นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข มีความห่วงใยในสุขภาพของประชาชน ได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดำเนินการเฝ้าระวังและตรวจสอบการนำเข้าอาหารทะเลจากประเทศญี่ปุ่นอย่างเข้มงวด โดยมีมาตรการในการเก็บตัวอย่างอาหารทะเลนำเข้าจากพื้นที่ที่มีความเสี่ยง และกักสินค้าระหว่างตรวจวิเคราะห์ หากพบสารกัมมันตรังสีจะทำลายสินค้าและระงับการนำเข้าทันที

 รมว.สาธารณสุข ระบุว่า อย. ได้เริ่มดำเนินการเก็บตัวอย่างอาหารทะเลนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2566 จนถึงปัจจุบัน เก็บตัวอย่างไปแล้ว 90 ตัวอย่าง เช่น ปลา ปลาหมึก หอย ปูสาหร่าย เป็นต้น ส่งตรวจวิเคราะห์ปริมาณกัมมันตรังสี ซีเซียม-134 (Cs-134) และซีเซียม-137 (Cs137) ที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ล่าสุดได้รับผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารทะเล 80 ตัวอย่าง ยืนยันว่า ไม่พบสารกัมมันตรังสีทุกตัวอย่าง นอกจากนี้ ยังได้เก็บตัวอย่างหอยเชลล์ 15 ตัวอย่าง เป็นหอยเชลล์จากท้องตลาด 10 ตัวอย่าง จากห้างดองกิและร้าน Sen Sen Sushi ประเทศ ไทย 2 ตัวอย่าง และเป็นหอยเชลล์ที่สุ่มเก็บตัวอย่าง ณ ด่านอาหารและยา 5 ตัวอย่าง ไม่พบสารกัมมันตรังสีทุกตัวอย่าง เช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ ได้มอบนโยบายให้ อย. ยังดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยสุ่มเก็บตัวอย่างที่มีความเสี่ยงทุกการนำเข้าและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการ ขอให้ประชาชนมั่นใจว่า กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะดำเนินมาตรการอย่างจริงจังและเข้มข้นเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และพร้อมที่จะให้ข้อมูลต่อสาธารณชน โดยสามารถติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิดผ่านทางเว็บไซต์ อย. https://www.fda.moph.go.th/home ตลอด 24 ชั่วโมง

https://oryor.com/media/newsUpdate/media_news/2601?fbclid=IwAR1WrywNkqqziYAjst62CiqO3eal2NunlrxpUK7SKRHR7TWQ0JSdUj9eqBc

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 07/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,472
Page Views2,018,720
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view