http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

กรมการแพทย์ออกไกด์ไลน์รักษา รักษาผู้ป่วย "ไข้หวัดใหญ่"

กรมการแพทย์ออกไกด์ไลน์รักษา รักษาผู้ป่วย "ไข้หวัดใหญ่"

กรมการแพทย์คลอด "ไกด์ไลน์" รักษาผู้ป่วย "ไข้หวัดใหญ่" ย้ำกลุ่มอาการรุนแรง-กลุ่มเสี่ยงต่อโรครุนแรง ให้เริ่มยาต้านไวรัสทันที ส่วนไม่รุนแรงไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง รักษาตามอาการ ให้ยาต้านฯ ถ้ามีอาการไม่เกิน 48 ชั่วโมง พร้อมกำหนด "โอเซลทามิเวียร์" เป็นยาหลัก "ฟาวิพิราเวียร์" เป็นยารอง กรณีไม่สามารถใช้ยาตัวแรก เฉพาะผู้ป่วยอาการไม่รุนแรงเท่านั้น พร้อมแนะนำขนาดยาที่เหมาะสม ย้ำโอเซลฯ โดส 2 เท่าไม่ได้ผลดีกว่าโดสปกติ

เมื่อวันที่ 3 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์กรมการแพทย์ ได้เผยแพร่คำแนะนำการรักษาผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข (ไกด์ไลน์) ฉบับปรับปรุงวันที่ 2 ต.ค. 2566 ระบุว่า ผู้ป่วยที่มีไข้มากกว่า 38 องศาเซลเซียส ร่วมกับไอและหรือเจ็บคอ (อาจมีอาการอื่นๆ เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดเมื่อย อาเจียน ท้องเสีย) แบ่งเป็น 1.ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เช่น สงสัยปอดอักเสบจากอาการหรือ CXR , ออกซิเจนในเลือด SpO2 at Room Air น้อยกว่า 95% ที่ต้องใช้ออกซิเจน , ซึมผิดปกติหรือมีอาการทางระบบประสาท , กินได้น้อยจนมีภาวะขาดน้ำ , มีภาวะแทรกซ้อนหรือมีอาการรุนแรงอื่นๆ และมีข้อบ่งชี้ในการนอน รพ. กลุ่มนี้แนะนำให้ยาต้านไวรัส เริ่มยาเร็วที่สุด พิจารณาให้ยาต้านแบคทีเรีย ถ้าสงสัยมีปอดอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ให้การรักษาตามอาการและอื่นๆ ตาม้อบ่งชี้


2.ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 2.1 ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อโรครุนแรง ได้แก่ 1) โรคอ้วน (BMI > 30 mg/kg2) 2) หญิงตั้งครรภ์หรือหลังคลอดไม่เกิน 14 วัน 3) อายุ <2>60 ปี และ 4) มีภาวะร่วมร่วมดังต่อไปนี้ มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคหอบหืด โรคปอดเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคตับ โรคไต เบาหวาน มะเร็ง เป็นต้น , โรคที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำหรือต้องใช้ยากดภูมิ , อายุ <18 reye="" syndrome="" 48="" span="">

2.2 ผู้ป่วยที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงต่อโรครุนแรง ให้รักษาตามอาการ อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัส ถ้ามีอาการมาไม่เกิน 48 ชั่วโมง ไม่ต้องให้ยาต้านแบคทีเรีย เว้นแต่มีข้อบ่งชี้อื่น เช่น อาการกูอักเสบ ไซนัสอักเสบ แนะนำวิธีการดูแลที่บ้านและให้หลีกเลี่ยงการเข้าชุมชน ให้สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างจากผู้อื่น และล้างมือก่อนหลังการสัมผัสบริเวณใบหน้า และเมื่อมีการปนเปื้อนสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจ และแนะนำให้กลับมาตรวจหากไม่ดีขึ้นหลัง 48 ชั่วโมง


นอกจากนี้ ยังระบุถึงแนวทางการรักษาผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ว่า แบ่งเป็น 2 วิธีคือ 1.การรักษาแบบประคับประคอง และ 2. การรักษาเฉพาะโดยให้ยาต้านไวรัส ซึ่งยาต้านไวรัสอันดับแรก (First-line) คือ โอเซลทามิเวียร์ และยาอันดับรอง (Second-line) คือ ยาฟาวิพิราเวียร์ ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถใช้ยาอันดับแรกได้ เฉพาะในกรณีที่เป็นไข้หวัดใหญ่อาการไม่รุนแรงเท่านั้น โดยการให้ยาต้านไวรัสเพื่อรักษาไข้หวัดใหญ่ ผลการรักษาดีที่สุดเมื่อเริ่มยาได้เร็ว ภายใน 48 ชั่วโมงแรก อย่างไรก็ตาม ยังมีประโยชน์ในผู้ที่อาการรุนแรงหรือเสี่ยงสูง แม้จะเลย 48 ชั่วโมงไปแล้ว ให้ยาต้านไวรัสเฉพาะผู้ป่วยดังต่อไปนี้ 1.ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ต้องนอน รพ. หรือมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง 2.ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อโรครุนแรง และ 3.สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง อาจจะพิจารณาให้ยาต้านไวรัสหากมีอาการมาไม่เกิน 48 ชั่วโมง (ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีอาการไม่รุนแรงและหายเองได้โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน แต่ยาต้านไวรัสำให้อาการหายเร็วขึ้น)

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในไกด์ไลน์ดังกล่าวยังเน้นย้ำว่า การใช้ยาโอเซลทามิเวียร์ ขนาดสูง 2 เท่าของปกติ พบว่า ไม่มีประสิทธิผลดีไปกว่าขนาดปกติที่แนะนำ โดยขนาดยาโอเซลทามิเวียร์ที่แนะนำ คือ ให้ 5 วัน โดยพิจารณาตามน้ำหนัก/อายุ ดังนี้ เด็กอายุ <3 12="" 2="" 3-5="" 20="" 6-11="" 25="">1 ปี หรือ <15 30="" 2="">15-23 กก. ขนายา 45 มก.วันละ 2 ครั้ง , เด็กน้ำหนัก >23-40 กก. ขนาดยา 60 มก.วันละ 2 ครั้ง , เด็กน้ำหนัก >40 กก. ขนาดยา 75 มก.วันละ 2 ครั้ง และผู้ใหญ่ ขนาดยา 75 มก.วันละ 2 ครั้ง ส่วนการใช้ยาระยะนานกว่า 5 วัน ให้พิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสมตามดุลยพินิจของแพทย์ผู้ดูแล ส่วนการใช้ยาเพื่อป้องกัน (Prophylaxis) ย้ำว่าไม่แนะนำให้ยาต้านไวรัสเพื่อการป้องกันไม่ว่าจะเป็นก่อนการสัมผัส (Pre-Exposure) หรือหลังการสัมผัส (Post-Exposure) สำหรับผู้สัมผัสโรคแนะนำให้สังเกตอาการและรีบเริ่มยาเรวที่สุดเมื่อมีอาการ

สำหรับการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ 200 มก./เม็ด วันที่ 1 ใช้ขนาด 1,600 มก. (8 เม็ด) วันละ 2 ครั้ง กรณีในเด็กใช้ขนาด 70 มก./กก./วัน วันละ 2 ครั้ง ส่วนวันที่ 2-5 ขนาด 600 มก. (3 เม็ด) วันละ 2 ครั้ง กรณีในเด็ก ใช้ขนาด 30 มก./กก./วัน วันละ 2 ครั้ง ช่วยลดอาการที่ไม่สบายของผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อยได้ค่อนข้างดี แบ่งหรือบดเม็ดยาและให้ทาง NG Tube ได้ โดยข้อควรระวังหรือผลข้างเคียง คือ มีโอกาสเกิด teratogenic effect (ผลกระทบที่ทำให้ทารกอวัยวะพิการ) จึงไม่ควรให้ในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร อาจเพิ่มระดับ Uric Acid เมื่อใช้ร่วมกับ Pyrazinamide ระวัง Hypoglycemia เมื่อใช้ร่วมกับ Repaglinide หรือ Pioglitazone ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังไม่ต้องปรับขนาดยา ผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับบกพร่องในระดับปานกลางถึงรุนแรง ให้ปรับขนาดยาเหลือ 800 มก.วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 1 วัน แล้วตามด้วย 400 มก. วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 2 วัน


https://mgronline.com/qol/detail/9660000088944

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 07/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,348
Page Views2,018,594
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view