http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

สัญญาณ “ไขมันในเลือดสูง” ระดับคอเลสเตอรอลที่ควรระวัง

สัญญาณ “ไขมันในเลือดสูง” ระดับคอเลสเตอรอลที่ควรระวัง

ภาวะไขมันในเลือดสูง ภัยเงียบที่หลายคนเป็นแต่ไม่รู้ตัวนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเป็นเส้นเลือดหัวใจ หรือ เส้นเลือดในสมองอุดตัน นำไปสู่ภาวะพิการในอนาคตได้ เช็กอาการเบื้องต้นและระดับไขมันที่ปลอดภัย!

อย่างที่ทุกคนรู้ว่า “ไขมันในเลือดสูง” เป็นปัจจัยเสี่ยงของการก่อโรคเรื้อรังมากมายอย่างมีนัยยะสำคัญโดยเฉพาะหลอดเลือดตีบตัน โรคหลอดเลือดแดงแข็ง ที่นำไปสู่การเกิดโรคหัวใจขาดเลือด สมองขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือการเสียชีวิตฉับพลันได้ ซึ่งนับเป็นภัยเงียบที่แทบไม่มีอาการเตือน กว่าผู้ป่วยจะรู้ก็เกิดโรคอื่นที่ร้ายแรงกว่ารักษายากกว่า

คอเลสเตอรอล เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้เองจากตับและลำไส้ หรือได้รับจากสารอาหารที่รับประทานเข้าไป

อาหารที่มาจากพืชจะไม่พบคอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบ จะพบมากในไขมันสัตว์ปริมาณไขมันขึ้นอยู่กับชนิดของอาหาร คอเลสเตอรอลมีความสำคัญต่อร่างกาย เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์สมอง แต่หากมีไขมันคอเลสเตอรอลมากเกินไปก็จะเป็นโทษต่อร่างกายเช่นกัน ไขมันเหล่านี้จะไปสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย เช่น หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิดเส้นเลือดแข็งตัว และการตีบตันของหลอดเลือดในอนาคต จะเป็นช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับปริมาณคอเลสเตอรอล และปัจจัยเสี่ยงร่วมด้วย เช่นความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน การสูบบุหรี่ ความอ้วน และไม่ออกกำลังกาย เป็นต้น

ระดับไขมันเป้าหมายในการป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็ง

  • คอเลสเตอรอลรวม (cholesterol) น้อยกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) น้อยกว่า 150 มากกว่าหรือเท่ากับ 40
  • ไขมันชนิดดี เอชดีแอล (HDL) มากกว่าหรือเท่ากับ 40 มากกว่าหรือเท่ากับ 40
  • ไขมันเลว แอลดีแอล (LDL) น้อยกว่า 160 มากกว่าหรือเท่ากับ 40

ภาวะไขมันในเลือดสูงมีอาการหรือไม่ ?

ปกติแล้วภาวะไขมันในเลือดสูงไม่ได้มีอาการที่ชัดเจน สังเกตได้ยาก แต่เมื่อร่างกายมีไขมันเลวจำนวนมากเป็นเวลานาน ๆ จะเกิดการสะสมของไขมันในหลอดเลือดแดงซึ่งทำให้เลือดไหลเวียนได้ลำบาก ซึ่งอาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูงขึ้น วิงเวียนศีรษะ ปวดหัวบ่อย แต่อาการที่กล่าวมาข้างต้นก็เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุไม่ใช่แค่หลอดเลือดแดงตีบอย่างเดียว ภาวะไขมันในเลือดสูงนับว่าเป็นภาวะที่ไม่ได้มีอาการที่ชัดเจน แต่ในระยะยาว คนที่ไม่ดูแลหรือตรวจสุขภาพเป็นประจำอาจแสดงอาการเมื่อไขมันในเลือดก่อให้เกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับอาการหลอดเลือดหัวใจตีบซึ่งมีอาการ เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อยเป็นต้น หน้ามืด เป็นต้น

การตรวจระดับไขมันในเลือด

การจะรู้ระดับไขมันในเลือดของตนได้นั้น จำเป็นจะต้องทำด้วยการตรวจ Lipid profile ซึ่งแพทย์จะเจาะเลือดเพื่อนำไปตรวจระดับไขมันชนิดต่าง ๆ ว่าอยู่ในระดับปกติหรือไม่ หากผลตรวจออกมาว่ามีความผิดปกติแพทย์จึงจะสามารถให้คำแนะนำในการฟื้นฟูรักษา ก่อนที่ภาวะนี้จะส่งผลทำให้เป็นโรคร้ายแรงที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิต

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ และ โรงพยาบาลเปาโล

ภาพจาก : freepik

https://www.pptvhd36.com/health/care/4048


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 07/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,442
Page Views2,018,690
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view