http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

'ทีมวิจัยโควิดโลก' พบ 28 ยีนใหม่ ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ที่อาจเจ็บป่วยขั้นวิกฤต

'ทีมวิจัยโควิดโลก' พบ 28 ยีนใหม่ ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ที่อาจเจ็บป่วยขั้นวิกฤต

วันที่ 15 กันยายน 2566 ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ทีมวิจัยนานาชาติของ “โครงการพันธุศาสตร์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19 HGI)” แถลงพบยีนใหม่ 28 ยีนที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ที่อาจเจ็บป่วยขั้นวิกฤต และ 1 ยีนที่ส่งผลตรงกันข้ามคือเสริมให้มีการติดเชื้อโควิด-19 แต่ไม่แสดงอาการ

โครงการพันธุศาสตร์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 หรือ The COVID-19 Host Genetics Initiative (COVID-19 HGI) เป็นโครงการนานาชาติขนาดใหญ่ที่มีการวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาวิจัย 82 โครงการย่อยใน 35 ประเทศ มีผู้วิจัยร่วมทั่วโลกถึง 3,669 คน และมีอาสาสมัครที่ติดเชื้อโควิด-19 รุนแรง เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลกว่า 219,692 ราย และกลุ่มผู้ติดเชื้อแต่อาการไม่รุนแรงกว่า 3 ล้านคนเข้าร่วมในโครงการ มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องมาตลอด 4 ปีตั้งแต่เริ่มการระบาดของโควิด-19 มีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยมาเป็นระยะ ล่าสุดตีพิมพ์ในวารสารวิชาการทางการแพทย์ “Nature” เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2566


โครงการพันธุศาสตร์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทำให้เห็นอย่างชัดเจนว่านอกจากปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์ หรือที่เรียกว่า “ประชากรกลุ่มเปราะบาง 608” แล้วยังมีปัจจัยทางพันธุกรรมที่มีบทบาทอย่างสำคัญเช่นกันในการระบุผู้เสี่ยงสูงที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่รุนแรงขั้นวิกฤต

การค้นพบปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดที่จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนายาที่มีประสิทธิภาพอย่างจำเพาะ (precision medicine) มาป้องกันและรักษาโรคโควิด-19 ในอนาคต

ปัจจัยทางพันธุกรรมเหล่านี้เชื่อมโยงกับการเจ็บป่วยขั้นวิกฤต การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และอัตราความยากง่ายของการติดเชื้อ โครงการพันธุศาสตร์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 สามารถระบุกลุ่มยีนที่เกี่ยวข้องกับ กระบวนการที่ไวรัสเข้าสู่เซลล์ การะบวนการป้องกันไวรัสติดต่อทางเดินหายใจผ่านเมือก และการตอบสนองของอินเตอร์เฟอรอนประเภท 1 ในการต่อสู้กับไวรัสโควิด-19

ตัวอย่างที่ชัดเจนเช่นผู้ที่มียีน “HLA-B15:01” ที่ได้รับจากทั้งพ่อและแม่มีแนวโน้มที่จะมีการติดเชื้อโควิด-19 แบบไม่แสดงอาการมากกว่าบุคคลที่มี HLA-Bจีโนไทป์แบบอื่นๆ ถึง 8 เท่า

โครงการพันธุศาสตร์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19 HGI) เป็นโครงการนานาชาติขนาดใหญ่นำโดยสถาบัน “Broad Institute” ในสหรัฐอเมริกาและ สถาบัน “Institute for Molecular Medicine Finland (FIMM)” ในประเทศฟินแลนด์ โดยมีการวิเคราะห์ผลการวิเคราะห์ (meta-analysis) จากการศึกษาวิจัย 82 โครงการย่อยใน 35 ประเทศ จากผู้ร่วมวิจัยถึง 3,669 คน โดยมีอาสาสมัครที่ติดเชื้อรุนแรง เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลกว่า 219,692 ราย (case study) และกลุ่มติดเชื้อแต่อาการไม่รุนแรงกว่า 3 ล้านคนเป็นกลุ่มควบคุม (control study) เข้าร่วมในโครงการ มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องมาตลอด 4 ปีของการระบาดของโควิด-19 มีผลงานวิจัยตีพิมพ์มาเป็นระยะ ล่าสุดตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการทางการแพทย์ “Nature” เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2566

ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature ล่าสุดระบุว่าพบ 51 ตำแหน่งบนจีโนมมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับความไวของการติดเชื้อ (susceptibility) การติดเชื้อรุนแรงขั้นวิกฤต (severity) การเข้าสู่เซลล์ของไวรัส (viral entry) การป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ในระบบทางเดินหายใจผ่านเยื่อเมือก (airway defense in mucus) และการตอบสนองของอินเตอร์เฟอรอนประเภท 1 (type I interferon response)

จาก 51 ตำแหน่งบนจีโนมมนุษย์พบ

36 ตำแหน่ง มีแนวโน้มที่จะส่งผลให้เกิดความรุนแรงของโรคมากขึ้น (การรักษาในโรงพยาบาล)

9 ตำแหน่ง มีแนวโน้มที่จะมีอิทธิพลต่อความไวต่อการติดเชื้อ SARS-CoV-2 มากขึ้น และ

6 ตำแหน่ง ยังไม่สามารถจำแนกหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

1.กลุ่มยีนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางของไวรัสเข้าสู่เซลล์:

-SLC6A20: เป็นยีนสร้างโปรตีนทำปฏิกิริยากับส่วนหนามของไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งใช้สำหรับยึดเกาะและแทรกตัวเข้าเซลล์ของผู้ติดเชื้อ

-ABO: ความสัมพันธ์ระหว่างยีนกลุ่มเลือด ABO โดยแอนติบอดีที่ร่างกายสร้างขึ้นต่อเลือดกรุ๊ป A และต่อกรุ๊ป B อาจรบกวนการเข้าสู่เซลล์ของไวรัส

-SFTPD: ยีนเกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนเคลือบผิวเซลล์ปอด “D (SP-D)” มีส่วนช่วยสร้างโมเลกุลภูมิคุ้มกันโดยกำเนิดของปอดและการตอบสนองป้องกันการติดเชื้อไวรัสบริเวณเยื่อบุปอด

-ACE2: เป็นยีนที่สร้างโปรตีนบนผิวเซลล์เพื่อให้ SARS-CoV-2 เข้ามายึดเกาะก่อนแทรกตัวเข้าสู่เซลล์

-TMPRSS2: เป็นยีนที่สร้างโปรตีนเข้าเปลี่ยนแปลงส่วนหนามของไวรัสให้เข้ามายึดกับผิวเซลล์และแทรกเข้าสู่เซลล์

2.กลุ่มยีนยีนสำคัญเกี่ยวข้องกับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสผ่านเยื่อเมือกหุ้มเซลล์ของระบบทางเดินหายใจ:

-MUC1/THBS3: MUC1 เป็นยีนสร้างเมือกที่สำคัญของระบบทางเดินหายใจที่ป้องกันการบุกรุกของจุลินทรีย์และไวรัส

-MUC5B: ยีนที่สร้างองค์ประกอบหลักของเมือกในทางเดินหายใจที่ช่วยให้สามารถกำจัดเชื้อโรคที่มาเกาะติดบนเยื่อเมือกได้

-MUC4: ยีนสร้างเมือกสำคัญของระบบทางเดินหายใจที่ป้องกันการบุกรุกของจุลินทรีย์และไวรัส

-MUC16: ยีนสร้างเมือกสำคัญของระบบทางเดินหายใจที่ป้องกันการบุกรุกของจุลินทรีย์และไวรัส

3.กลุ่มยีนสำคัญเกี่ยวข้องกับการตอบสนองของอินเตอร์เฟอรอนประเภท I: เป็นกลุ่มยีนสร้างสารไซโตไคน์ (cytokines) ที่สร้างโดยกลุ่มเม็ดเลือดขาว T-เซลล์ มีบทบาทสำคัญในการทำลายไวรัสและจุลชีพผู้รุกราน

-IFNAR2: การกลายพันธุ์ในยีน IFNAR2 อันเป็นส่วนหนึ่งของระบบอินเตอร์เฟอรอนประเภท 1 จะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 ที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและมีการเจ็บป่วยรุนแรง

-OAS1: เป็นยีนที่สร้างสารไซโตไคน์ที่สำคัญในระบบอินเตอร์เฟอรอนประเภท 1

-TYK2: ยีน tyrosine kinase 2 (TYK2) เป็นยีนที่สร้างสารไซโตไคน์ในระบบอินเตอร์เฟอรอนประเภท 1

-JAK1: Janus kinase (JAK) เป็นยีนที่สร้างสารไซโตไคน์ในระบบอินเตอร์เฟอรอนประเภท 1

-IRF1: เป็นยีนที่สร้างสารไซโตไคน์ในระบบอินเตอร์เฟอรอนประเภท 1

-IFNα10: เป็นยีนที่สร้างโปรตีนเข้าจับกับ IFNα โดยเฉพาะ

ยีนเหล่านี้เกี่ยวข้องกับกลไกของระบบภูมิคุ้มกัน การกลายพันธุ์ของยีนเหล่านี้มีส่วนทำให้เกิดความไว (susceptibility) ต่อการติดเชื้อ และความรุนแรงของการติดเชื้อโควิด-19 (severity) ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญอย่างยิ่งยวดในการพัฒนายาต้านไวรัส-19 ในอนาคต.

https://www.naewna.com/likesara/756767


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 07/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,492
Page Views2,018,740
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view