http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ยกระดับ ‘30บาทพลัส’ : รพ.ต้องเตรียมตัวอย่างไรกับมาตรฐานคุณภาพรับมือบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่

ยกระดับ ‘30บาทพลัส’ : รพ.ต้องเตรียมตัวอย่างไรกับมาตรฐานคุณภาพรับมือบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่

สัมภาษณ์พิเศษ: พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้อำนวยการ สรพ. กับการวางมาตรฐานคุณภาพสถานพยาบาล รองรับการยกระดับ 30 บาทพลัส บริหารจัดการผู้ป่วยวอล์กอินจากบัตรประชาชนใบเดียว เชื่อผู้ป่วยเดินทางขเลือกรพ.ไม่มาก ส่วนใหญ่ต้องการรักษาใกล้บ้าน พร้อมวางมาตรฐานเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ และรพ.สต.ถ่ายโอนไปท้องถิ่น นำร่องแล้ว “สกลนคร”

 สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน) หรือ สรพ. เป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญในการกำกับและกำหนดมาตรฐานและรับรองคุณภาพการให้บริการของสถานพยาบาล เพื่อเป็นหลักประกันให้ประชาชนได้รับการบริการด้านสาธารณสุขที่มีคุณภาพ...แน่นอนว่า เมื่อนโยบายรัฐบาลประกาศยกระดับ 30 บาทพลัส สถานพยาบาลย่อมต้องเกิดคำถามว่า มาตรฐานจะต้องปรับเปลี่ยนหรือยกระดับอย่างไร.........

สรพ.แนะรพ.จัดระบบบริการรองรับยกระดับ 30 บาทพลัส

เมื่อเร็วๆนี้ สำนักข่าวออนไลน์ Hfocus ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) หรือ สรพ.  ถึงการดำเนินการตามมาตรฐาน HA ในสถานพยาบาลต่างๆ เมื่อมีการยกระดับ 30 บาทรักษาทุกโรค โดยเฉพาะบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ 

พญ.ปิยวรรณ ให้ข้อมูลว่า  การดำเนินการตามมาตรฐานของสถานพยาบาลยังคงเป็นไปตามระบบที่วางไว้ ซึ่งยังคงเน้นเรื่องคุณภาพ ความปลอดภัย ทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการยกระดับบัตรทอง และมีเรื่องบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ สิ่งที่ต้องมีการปรับเปลี่ยน คือ สถานพยาบาล หรือโรงพยาบาลนั้นๆ โดยต้องออกแบบระบบบริการในการรองรับผู้ป่วยที่จะเข้ามาแบบวอล์กอิน เพราะเดิมรพ.จะทราบจำนวนผู้ป่วยตามสิทธิหลักประกันสุขภาพฯ ที่เข้ามารักษาพยาบาล ทำให้สามารถออกแบบการให้บริการที่เหมาะสมตามกลุ่มเป้าหมายได้ 

เชื่อผู้ป่วยเพิ่มไม่มาก เหตุปชช.ต้องการรักษาใกล้บ้าน

ดังนั้น เมื่อประชาชนสามารถไปได้ทุกที่ รพ.ต้องบริหารความเสี่ยงโดยคาดการณ์สถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น และออกแบบระบบเพื่อเตรียมรองรับผู้ป่วยกลุ่มใหม่ๆที่อาจจะเดินทางมารักษา แต่ในความเป็นจริงยังมองว่า ตามศักยภาพและที่ตั้งของรพ.แต่งล่ะแห่ง รพ.บางกลุ่มอาจมีจำนวนผู้ป่วยกลุ่มใหม่เพิ่มขึ้นไม่มากนัก เพราะประชาชนอาจไม่อยากเดินทางไกลๆ ในการรักษาพยาบาล

ส่วนใหญ่อาจอยากรักษาใกล้บ้านมากกว่า แต่รพ.ที่มีศักยภาพสูงและเป็นความคาดหวังของคนไข้ การเดินทางไปยังรพ.ใหญ่ๆ ถึงแม้ห่างไกล ก็อาจเกิดขึ้นได้ ทำให้มีโอกาสรับคนไข้เพิ่มมากขึ้นทั้งลักษณะกลุ่มโรคหายาก โรคที่มีความซับซ้อน หรือแม้แต่โรคที่สามารถรักษาได้ตามรพ.ทั่วไป ฉะนั้น คู่ขนานกับสิทธิบัตรประชาชนใบเดียวที่ประชาชนจะได้รับ ต้องมีการสื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชน ถึงความจำเป็นในการรักษา ความเร่งด่วน และลักษณะของโรคแต่ละชนิดที่สอดคล้องกับศักยภาพของรพ.

ย้ำ! รพ.ออกแบบระบบใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย

พญ.ปิยวรรณ อธิบายเพิ่มเติมว่า  ภายใต้ความเป็นจริงของสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในขณะที่ทรัพยากรบุคคลยังคงมีเท่าเดิม แต่อาจมีข้อกังวลเรื่องภาระงาน  การออกแบบระบบบริการเพื่อรองรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป จึงต้องคำนึงถึง 3 องค์ประกอบสำคัญ คือ คน  เทคโนโลยี และกระบวนการ อาจเกิดระบบบริการรูปแบบใหม่เพื่อประชาชน อย่างไรก็ตาม มองว่านโยบายยกระดับบัตรทองนั้น ไม่ใช่ว่าจะออกมาทีเดียวทำทั้งหมด น่าจะเป็นการนำร่อง ควรมีการสื่อสารให้รพ.ได้เตรียมความพร้อม ให้ประชาชนได้เข้าใจ และอาจมีการวิเคราะห์สถานการณ์ เพื่อสนับสนุนสถานพยาบาลทีมีโอกาสให้บริการผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ส่วนมาตรฐาน HA เป็นมาตรฐานที่ใช้ได้กับทุกบริบท เพียงใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารองค์กร เช่นมาตรฐานการเข้าถึงบริการของประชาชน อาจต้องมาออกแบบบริการ ภายใต้การวิเคราะห์กลุ่มผู้ป่วยที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลง

ขณะนี้ยังไม่ทราบรายละเอียด แต่หากพูดถึงบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ ส่วนตัวมองว่า รพ.ขนาดใหญ่จะต้องมีการจัดระบบรองรับ เพราะไม่ใช่แค่มาตรฐานของสถานพยาบาล แต่เรื่องนี้จะต้องมีการสื่อสารประชาชนให้เข้าใจว่า หากเจ็บป่วยไม่มาก เป็นหวัด มีน้ำมูก ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปรักษาถึงโรงเรียนแพทย์ สิ่งสำคัญต้องมีการสื่อสารควบคู่ว่า โรคที่เป็นควรเข้าถึงบริการที่ไหน อย่างไร  ซึ่งการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ด้วยการใช้มาตรฐานและกลไกการพัฒนาคุณภาพ ในการตั้งเป้าหมายการบริหารจัดการในรพ.ว่าจะส่งมอบระบบบริการที่มีคุณค่าต่อประชาชนได้อย่างไร จะออกแบบการรับบริการอย่างไรตามมาตรฐาน  ที่ตอบสนองความต้องการประชาชน ตอบโจทย์นโยบาย ภายใต้ทรัพยากรที่มี

สรพ.เราพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการใช้มาตรฐานเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพระบบบริการเพื่อคุณภาพและความปลอดภัยของประชาชน พร้อมสร้างการเรียนรู้กับสถานพยาบาลผ่านกระบวนการเยี่ยมสำรวจ ส่งเสริมความรู้และเครื่องมือคุณภาพและเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของสถานพยาบาลเพื่อหาวิธีการที่ดีร่วมกัน รวมถึงสรุปประเด็นที่เป็นโอกาสพัฒนาจากสถานการณ์ดังกล่าวเสนอต่อหน่วยงานกำกับต่อไป

สรพ.รุกวางมาตรฐาน รพ.สต.ถ่ายโอนไปท้องถิ่น นำร่องสกลนคร

ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)ไปยังท้องถิ่น จะมีการดูแลมาตรฐานการบริการเพื่อไร้รอยต่อด้วยหรือไม่ ยิ่งหากมีการยกระดับบัตรทองแล้ว พญ.ปิยวรรณ กล่าวว่า ปัจจุบัน สรพ.พัฒนามาตรฐานสถานพยาบาลปฐมภูมิ เพื่อเป็นเครื่องมือการบริหารและพัฒนาระบบบริการให้รพ.สต.  โดยการนำไปใช้ต้องสอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ล่ะที่ ในส่วนของรพ.สต.ที่ถ่ายโอนไปนั้น ทางสรพ.มีการหารือและร่วมมือกับท้องถิ่นเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งที่ผ่านมาได้ลงนามข้อตกลงในจังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นพื้นที่มีเคยมีการพัฒนาระบบริการเครือระบบสุขภาพระดับอำเภอผ่านการรับรองตามมาตรฐานระบบเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System Accreditation : DHSA) มากที่สุด เป็นเครื่องมือพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ โดยมีฐานที่โรงพยาบาลชุมชน เป็นพี่เลี้ยงดูแลเรื่องส่งมอบคุณภาพที่ได้มาตรฐานให้กับ รพ.สต. ในเครือข่าย เรียกว่า เราไม่ยืนเดี่ยว แต่ทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ

ขยายมาตรฐานสู่จังหวัดอื่นๆ เช่น โคราช จัดระบบเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ

“การถูกถ่ายโอนไปต้องมีสะพานเชื่อมโยงให้ไร้รอยต่อจริงๆ ซึ่งการพัฒนาคุณภาพระบบริการมาตรฐานปฐมภูมิของ HA ที่ให้ความสำคัญเรื่องเครือข่ายระบบบริการสุขภาพอาจจะเป็นตัวช่วยที่ดีในการดูและผู้แต่แรกไปจนถึงการดูแลต่อเนื่อง โดยสกลนคร จะเป็นพื้นที่นำร่องเน้นเป้าหมายพัฒนาระบบบริการสุขภาพเพื่อประชาชน  เพราะเรื่องสุขภาพของคน บางครั้งไม่ได้สิ้นสุดแค่ตำบล หรืออำเภอ การพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิภายใต้มาตรฐานเป็นเสมือนการพัฒนาวิธีการทำงานและพัฒนาคน ซึ่งจะมีการขยายแนวคิดการพัฒนาไปจังหวัดอื่นๆเช่น จังหวัดนครราชสีมาด้วย” ผอ.สรพ.กล่าวทิ้งท้าย

https://www.hfocus.org/content/2023/09/28413

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 07/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,365
Page Views2,018,611
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view