http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

สภาผู้บริโภค ติดอาวุธองค์กรสมาชิก จัดอบรมการเฝ้าระวังภัยสินค้าออนไลน์บนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก แนะวิธีรายงานเพจมิจฉาชีพให้ได้ผล

สภาผู้บริโภค ติดอาวุธองค์กรสมาชิก จัดอบรมการเฝ้าระวังภัยสินค้าออนไลน์บนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก แนะวิธีรายงานเพจมิจฉาชีพให้ได้ผล 
-----
16 สิงหาคม 2566 สภาผู้บริโภคจัดโครงการ “อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการเฝ้าระวังภัยสินค้าออนไลน์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย” เพื่อติดอาวุธให้องค์กรสมาชิกในเรื่องเกี่ยวกับมาตรฐานชุมชนของเฟซบุ๊กและแนวทางการจัดการเพจมิจฉาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีเวิร์กช็อปแนะนำวิธีการรายงานเพจและโพสต์ที่ละเมิดมาตรฐานชุมชน ให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ทดลองปฏิบัติ
.
นอกจากนี้ ยังมีเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวทางทำงานร่วมกันระหว่างสภาผู้บริโภค สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือเอ็ตด้า (ETDA) และตัวแทนจากเฟซบุ๊ก (Facebook) ประเทศไทยจากเมต้า (Meta) โดยมีการแลกเปลี่ยนเรื่องแนวทางการแก้ไขปัญหาซื้อขายออนไลน์ รวมถึงการรายงานเพจที่ฉ้อโกง หรือเอาเปรียบผู้บริโภค
.
ประภารัตน์ ไชยยศ หัวหน้าศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ เอ็ตด้า ให้ข้อมูลว่า ก่อนหน้านี้เอ็ตด้ามีบทบาทและภารกิจในการรับร้องเรียนปัญหาธุรกรรมทางออนไลน์ โดยทำงานร่วมกับทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม เช่น สภาผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) จากการรับเรื่องร้องเรียนเป็นระยะเวลาหนึ่งทำให้สังเกตเห็นว่า แม้จะมีช่องทางรับเรื่องร้องเรียนแล้ว แต่ก็ไม่ได้ช่วยทำให้ปัญหาน้อยลง แต่กลับพบว่ามีจำนวนเรื่องร้องเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
.
“ถึงแม้หน่วยงานสามารถจัดการเพจของมิจฉาชีพได้ แต่อีกไม่นานมิจฉาชีพกลุ่มเดิมหรือคนเดิมก็จะเปิดเพจขึ้นมาใหม่อีกเป็น 10 เพจ มิจฉาชีพไม่เคยหยุดทำงาน ขณะที่เจ้าหน้าที่ก็พยายามติดตามจัดการปัญหา ถึงอย่างนั้นก็ไม่สามารถจัดการได้ทั้งหมด จึงตัดสินใจว่าต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ไปทำนโยบายเชิงรุกควบคู่กันด้วย โดยการสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชน” หัวหน้าศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ ระบุ
.
ทางด้าน อิง ศิริกุลบดี ผู้จัดการฝ่ายนโยบายสาธารณะของเฟซบุ๊กประเทศไทย จากเมต้า ระบุว่า การหลอกลวงบนโลกออนไลน์ (สแกม) นับเป็นปัญหาที่มีความท้าทายเป็นอย่างสูง และเป็นปัญหาร่วมของโลกออนไลน์ในยุคปัจจุบัน โดยมิจฉาชีพจะเปลี่ยนกลลวงไปเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม เฟซบุ๊กยังคงพัฒนาเทคโนโลยีและมาตรการป้องกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เท่าทันพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาบนโลกออนไลน์
.
ทั้งนี้ เฟซบุ๊กมีปุ่มรายงานเพจ (รีพอร์ต) ทำให้ผู้ใช้สามารถรายงานเมื่อเจอเนื้อหาที่มีปัญหา หรือขัดต่อมาตรฐานชุมชนได้ ทั้งนี้ มาตรฐานชุมชนของเฟซบุ๊กเป็นกฎระเบียบที่กำหนดรายละเอียดสิ่งที่อนุญาตและไม่อนุญาตให้โพสต์บนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก รวมถึงผลิตภัณฑ์ของเมต้าทั่วโลก ทั้งนี้ มาตรฐานชุมชนของเฟซบุ๊กนั้นได้มาจากการทำงานร่วมกับและผู้เชี่ยวชาญหลายหน่วยงานเพื่อร่วมตั้งกฎ ดังนั้นเมื่อเจอเนื้อหาที่ไม่ปลอดภัย เจตนามุ่งร้าย ก็จะมีการดำเนินการตามมาตรฐานชุมชนโดยเร็วที่สุด
.
นอกจากนี้ เฟซบุ๊กยังมีช่องทางเฉพาะสำหรับทำงานร่วมกับภาครัฐและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายโดยเฉพาะ เช่น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, เอ็ตด้า, อย. , กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโลยี (บก.ปอท.) อีกทั้งยังมีช่องทางเฉพาะสำหรับทำงานร่วมกับภาครัฐและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายโดยเฉพาะ
(อ่านเพิ่มเติมได้ที่ 🔗 https://bit.ly/3P1QR9K)
https://www.facebook.com/tccthailand/

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 07/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,375
Page Views2,018,621
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view