http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เดินหน้าเบี้ยผู้สูงอายุ สู่บำนาญประชาชน เท่าเทียม ถ้วนหน้า

อย่าถอยหลังลงคลอง’ 
📌เวทีรับฟังความคิดเห็นสมาชิกสภาผู้บริโภคเพื่อจัดทำข้อเสนอนโยบาย “บำนาญประชาชน” เรียกร้องยกเลิกระเบียบกระทรวงมหาดไทยใช้เกณฑ์รายได้จ่ายเบี้ยผุ้สูงอายุ เสนอรัฐบาลใหม่จัดสวัสดิการบำนาญประชาชนให้เป็นวาระแห่งชาติเพื่อเป็นหลักประกันคุณภาพผู้สูงอายุ
.
📌สภาผู้บริโภคจัดเวทีรับฟังความเห็นสมาชิก หลังจากกระทรวงมหาดไทยปรับ หลักเกณฑ์จ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุฉบับใหม่ของกระทรวงมหาดไทย ที่เผยแพร่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 11 ส.ค. ปรับเกณฑ์การจ่ายเงิน เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 ให้คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพว่า “เป็นผู้ไม่มีรายได้หรือรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามที่กฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด
.
💬นายนิมิตร์ กล่าวว่า เบี้ยผู้สูงอายุควรจะเป็นสิทธิพื้นฐานถ้วนหน้า เท่ากับสิทธิของผู้บริโภค แต่การปรับเกณฑ์ของกระทรวงมหาดไทยที่จะนำรายได้มาเป็นเกณฑ์จ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุถือเป็นการถอยหลัง ลงคลอง เนื่องจากได้มีการจ่ายแบบถ้วนหน้ามาแล้วในปี 2552 สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ ไม่มีเกณฑ์เรื่องรายได้
.
💬ผศ.วีระศักดิ์ กล่าวว่า หลักประกันรายได้ของประชาชนที่เป็นผู้สูงอายุที่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติเห็นว่ามีความสำคัญคือ เรื่องของการมีงานทำ เพราะคนอายุ 60 ปี สามารถทำงานได้ รวมไปถึง เงินอุดหนุนที่เพียงพอในการดำรงชีพของผู้สูงอายุ และการเข้าถึงบริการสังคมที่จำเป็นจากรัฐสำหรับทุกคน
.
💬ดร. กติกา กล่าวว่า ประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้นมากเกือบร้อยละ 10 การจัดสวัสดิการในรูปแบบบำนาญประชาชนถ้วนจะสามารถลดความเหลื่อมล้ำได้ เนื่องจากพบว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่มีเงินออมและพบว่ามีผุ้สูงอายุจำนวนไม่มากนักที่มีเงินออมที่ใช้ได้เพียง 1 ปี
.
ดังนั้นการจ่ายสวัสดิการผู้สูงอายุควรจะเป็นการจ่ายถ้วนหน้า หรือการตั้งกองทุนบำนาญประชาชนในอนาคตจะช่วยสร้างคุรภาพชีวิตที่ดีได้ โดยอัตราที่จะสามารถให้ดำรงชีพอยู่ได้ ต้องมีเงินจำนวนดังกล่าวต่ำกว่าเส้นความยากจน 2,800 บาท หรือระดับ 3,000 บาท ในกลุ่มที่ไม่มีระบบบำนาญ หรือมีสิทธิจากสวัสดิการอื่น
.
✨อย่างไรก็ตามหลังระดมความคิดเห็น สมาชิกสภาผู้บริโภคเห็นว่าควรจะต้องมีระบบบำนาญแบบถ้วนหน้า โดย นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค กล่าวว่า สมาชิกสภาผู้โภคส่วนใหญ่ เห็นว่าควรจะมีการจัดทำนโยบายสวัสดิการบำนาญประชาชนแบบถ้วนหน้า 3000 บาทต่อเดือนเพื่อคุณภาพชีวิตของผุ้สูงอายุ นอกจากนี้ยังเห็นว่า กระทรวงมหาดไทยควรจะยกเลิกเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่ใช้รายได้เป็นเกณฑ์พิจารณา แต่ควรจ่ายผู้สูงอายุทุกคนแบบถ้วนหน้า
เดินหน้าเบี้ยผู้สูงอายุ สู่บำนาญประชาชน เท่าเทียม ถ้วนหน้า
(อ่านต่อ🔗https://bit.ly/3YH7ydT)
...
https://www.facebook.com/tccthailand/

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 07/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,215
Page Views2,018,460
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view