http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

วิธีรับมือพายุฝน ให้ชีวิตปลอดภัยในช่วงพายุเข้า

วิธีรับมือพายุฝน ให้ชีวิตปลอดภัยในช่วงพายุเข้า

ในช่วงเวลาที่เป็นหน้ามรสุม มีพายุเข้า ซึ่งทำให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ มากมาย ทั้งฝนตก น้ำท่วม โดยเหตุการณ์ภัยพิบัติเหล่านี้ ล้วนก่อให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิต และทรัพย์สิน บางคนป่วยไข้ บาดเจ็บ หรือ ทรัพย์สิน อาทิ บ้านเรือน เกิดการเสียหายได้ ดังนั้น สิ่งที่เราต้องทำก็คือการต้องรู้จักวิธีรับมือกับสถานการณ์พายุฝนด้วย โดยในบทความนี้ เราจะมาเรียนรู้วิธีการเตรียมตัว รับมือ การป้องกัน ไปจนถึงวิธีปฏิบัติหลังพายุสงบไปด้วยกัน เราไปดูพร้อมกันเลย

                    ก่อนที่จะมีพายุมา เรามักได้รับสัญญาณเตือนต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะจากหน่วยงานราชการ อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา ที่จะออกประกาศเตือน และพยากรณ์อากาศตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยวิธีเตรียมตัวก่อนเกิดพายุ จะมีแนวปฏิบัติ ดังนี้

  1. วางแผนล่วงหน้าให้รอบคอบ โดยติดตามฟังพยากรณ์อากาศอย่างใกล้ชิด หากวันไหนที่คาดว่าจะมีพายุฝนควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่เสี่ยงอันตราย
  2. หากต้องเดินทางออกนอกบ้านให้สังเกตสภาพฟ้าอากาศอย่างต่อเนื่อง เช่น ฝนตก ฟ้ามืด หรือลมแรงผิดปกติ เพราะเป็นสัญญาณที่แสดงว่าพายุฝนกำลังจะเคลื่อนเข้ามา หรือคำนวณจากเสียง หากเห็นแสงฟ้าผ่าและเสียงฟ้าร้องตามมาอีก 30 วินาทีให้หลัง ควรรีบหาที่หลบทันที
  3. ตรวจสอบจุดต่าง ๆ ของบ้านให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง เก็บสิ่งของบริเวณบ้านที่อาจถูกลมพัดปลิวให้มิดชิด เพื่อป้องกันข้าวของถูกลมพายุพัดเสียหายหรือได้รับอันตรายจากการโดนสิ่งของกระแทกปลิว
  4. สำรวจสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ใกล้บริเวณบ้านให้อยู่ในสภาพปลอดภัย โดยตัดแต่งกิ่งไม้ที่อยู่ใกล้กับตัวบ้าน ใช้ไม้ค้ำยันสำหรับต้นไม้ใหญ่หรือต้นไม้ที่เพิ่งปลูกใหม่ เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นไม้โค่นล้มหรือเกี่ยวสายไฟขณะลมพัดแรง
  5. จัดเตรียมสิ่งของจำเป็นเอาไว้ในยามฉุกเฉินให้พร้อม เช่น น้ำดื่ม ยารักษาโรค ชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น อาหารแห้ง ถ่านไฟฉาย รวมถึงไฟฉายไว้ใช้ช่วงไฟฟ้าดับ หากมีเครื่องสำรองไฟ ควรศึกษาวิธีใช้เตรียมไว้ด้วย
  6. เติมน้ำประปาสำรองใส่ถังน้ำหรืออ่างอาบน้ำสำหรับใช้ในห้องน้ำและทำอาหาร เผื่อเอาไว้ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ
  7. ชาร์จแบตฯ มือถือให้เต็มและเตรียมเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินเอาไว้ เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือมีคนได้รับอันตรายจากฟ้าผ่า
  8. สำหรับบ้านที่มีสัตว์เลี้ยง ควรขอแนะนำจากสัตวแพทย์ในการดูแลสัตว์เลี้ยงเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน

                    เมื่อเกิดพายุแล้ว สิ่งที่เราทำได้ ก็คือการป้องกันตัวเอง และทรัพย์สินให้ปลอดภัยจากภัยพิบัติให้ได้มากที่สุด และสิ่งที่ควรทำมากที่สุดคือการอยู่บ้าน และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดเวลา  ซึ่งวิธีป้องกันตัวขณะอยู่บ้านระหว่างเกิดพายุ จะมีแนวปฏิบัติ คือ

  1. นำสัตว์เลี้ยงเข้าบ้านทันที เพราะบ้านของสัตว์เลี้ยงไม่สามารถป้องกันฟ้าผ่าได้ พร้อมกับถอดปลอกคอของสัตว์เลี้ยงออก เพราะปลอกคอสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่ก็เป็นสื่อล่อฟ้า
  2. ปิดประตูกับหน้าต่างทุกบานให้สนิท และพยายามอยู่ห่างหน้าต่างรวมถึงบริเวณที่อาจจะมีวัตถุตกหล่นจากที่สูง
  3. ไม่สวมใส่เครื่องประดับที่ทำจากโลหะ เช่น เงิน ทองคำ ทองแดง เมื่อเกิดฝนฟ้าคะนอง เพราะโลหะเป็นสื่อนำไฟฟ้า ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
  4. ปิดแก๊ส งดใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าและโทรศัพท์มือถือในระหว่างที่มีพายุฝน เพราะกระแสไฟอาจวิ่งเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้ไม่ควรยืนพิงหรือสัมผัสผนังคอนกรีต เนื่องจากผนังคอนกรีตส่วนใหญ่มีโครงสร้างภายในที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า
  5. หลังลมพายุสงบลงแล้ว ยังไม่ควรออกไปที่โล่งแจ้ง ควรอยู่ภายในบ้านหรืออาคารอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง เพื่อลดความเสี่ยงจากเหตุฟ้าผ่าที่มากับพายุฝน พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงบริเวณที่สายไฟฟ้าขาด มีต้นไม้หรือเสาไฟฟ้าล้ม

                    ในบางครั้ง เราก็หลบหนีพายุฝน และเข้าหลบในที่ร่มไม่ทัน ซึ่งนั่นก็ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ซึ่งการอยู่ในที่โล่งแจ้งท่ามกลางพายุ ก็นับว่าเป็นเรื่องที่อันตรายมากด้วยเช่นกัน ดังนั้น ต้องมีวิธีป้องกันตัวเมื่ออยู่ในที่โล่งแจ้งด้วย ดังนี้

  1. หากอยู่ในที่โล่งแจ้งควรหลบในอาคารทันที ไม่ควรรีรอหรือชะล่าใจรอให้เกิดฟ้าผ่าก่อนแล้วค่อยหาที่หลบ โดยหลีกเลี่ยงการหลบฟ้าฝนใต้ต้นไม้ ใกล้เสาไฟฟ้า ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ อาคารขนาดเล็ก เช่น ห้องน้ำสาธารณะ หรืออาคารที่มีแค่กันสาดกันฝน เนื่องจากโครงสร้างประเภทนี้ไม่สามารถป้องกันฟ้าผ่าได้
  2. หลีกเลี่ยงจากแหล่งน้ำ เช่น สระว่ายน้ำหรือบ่อน้ำ หากอยู่ในน้ำขณะมีพายุฝนให้รีบขึ้นจากน้ำทันที ไม่เช่นนั้นอาจได้รับอันตรายในขณะที่มีพายุฝน
  3. เมื่อต้องหลบฝนร่วมกับผู้อื่น ควรรักษาระยะห่างแต่ละคนไว้ประมาณ 15.2-30.5 เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้กระแสไฟวิ่งเข้าสู่ร่างกายคนรอบข้างเมื่อมีคนโดนผ่าฟ้า
  4. หากมีฟ้าผ่าลงมาบริเวณใกล้เคียง ให้นั่งกอดเข่า เท้าชิด ก้มหน้าซุกระหว่างเข่า มือปิดหูหรือจับเข่าไว้ แม้ท่านี้จะช่วยป้องกันอุบัติเหตุไม่ได้ 100% แต่ก็ช่วยลดความรุนแรงของอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นกับอวัยวะภายในเมื่อโดนฟ้าผ่าได้

วิธีปฏิบัติหลังพายุสงบ 

  1. ตรวจสอบอาการบาดเจ็บของตัวเองและคนรอบข้าง หากมีผู้ได้รับอันตรายถึงชีวิตให้โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือทันที ตามเบอร์โทรศัพท์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
    • 1554 – เบอร์ หน่วยแพทย์กู้ชีวิต วชิรพยาบาล
    • 1669 – เบอร์ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ทั่วประเทศ)
    • 1646 – เบอร์ หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน (กทม.)
    • 1691 – เบอร์ โรงพยาบาลตำรวจ
    • 1784 – เบอร์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
    • 1667 – เบอร์ สายด่วนกรมสุขภาพจิต
  2. หากตัวบ้านหรืออาคารที่ใช้หลบภัยได้รับความเสียหาย ให้อพยพออกจากสถานที่ดังกล่าว พร้อมกับแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาตรวจสอบ โดยในระหว่างนี้ไม่ควรกลับเข้าไปยังอาคารดังกล่าว จนกว่าทางการจะประกาศรับรองความปลอดภัย

                    และที่สำคัญ ในช่วงที่กำลังมีพายุ หรือฝนฟ้าคะนอง ก็อาจจะเกิดเหตุการณ์อุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดได้มากมาย ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่อันตรายที่สุด ก็คือการถูกฟ้าผ่า ดังนั้น เราจะมาเรียนรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีช่วยเหลือผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากฟ้าผ่าไปด้วยกัน จะมีวิธีใด เราไปดูกัน

  1. หากมีผู้ได้รับบาดเจ็บให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากสถานที่เกิดเหตุ ก่อนฟ้าผ่าซ้ำลงมาที่เดิม โดยผู้ช่วยสามารถสัมผัสร่างกายผู้ป่วยได้ทันที เนื่องจากผู้ป่วยที่โดนฟ้าผ่าจะไม่มีกระแสไฟฟ้าหลงเหลืออยู่ในตัวต่างจากผู้ป่วยที่โดนไฟฟ้าช็อต
  2. ผายปอดโดยการเป่าปากสลับกับนวดหัวใจ ก่อนนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลต่อไป

                    ซึ่งอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะในหน้าฝนแบบนี้ด้วยแล้ว ยิ่งเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายกว่าปกติ ฉะนั้นไม่ว่าจะเดินทางไปไหนมาไหนหรืออยู่บ้าน นอกจากจะเพิ่มความระมัดระวังในการใช้ชีวิตแล้ว ก็อย่าลืมเตรียมตัวรับมือและหาทางป้องกันตัวเองด้วย

สามารถติดตามบทความและข้อมูลอ้างอิงต่อได้ที่… https://www.saithai.go.th/networknews/detail/3134

https://www.thaihealth.or.th/%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%b8%e0%b8%9d%e0%b8%99-%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b8%8a%e0%b8%b5%e0%b8%a7/


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 07/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,371
Page Views2,018,617
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view