http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

5 โรคอันตราย !! ที่มาพร้อมกับน้ำท่วม

5 โรคอันตราย !! ที่มาพร้อมกับน้ำท่วม

 น้ำท่วมเป็นภัยธรรมชาติ ที่หนักหนาสาหัสทำให้เสียหายทั้งบ้านเรือน ไร่นา นอกจากเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจแล้ว ยังมีปัญหาสุขภาพตามมาอีกด้วย  นับเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจเป็นอย่างมาก

                    น้ำท่วมในระยะแรกอาจยังไม่มีเชื้อโรคมาก แต่เมื่อกลายเป็นน้ำขังก็จะสกปรกและมีเชื้อโรคมากขึ้น น้ำจึงเป็นที่มาของเชื้อโรคชนิดต่างๆ และหากต้องเดินย่ำน้ำแต่ละวันเป็นเวลานาน ก็จะยิ่งมีโอกาสป่วยด้วยโรคที่มากับน้ำท่วมมากขึ้น โรคอาจมากับน้ำท่วมเช่น โรคผิวผนัง โรคเท้าเปื่อย โรค ท้องร่วง โรคฉี่หนู โรคตาแดง และโรคเครียด เป็นต้น เรามาดูสาเหตุและการป้องกันแก้ไขโรคที่มากับน้ำท่วมกัน

                    โรคน้ำกัดเท้าหรือ ฮ่องกงฟุต จะมีอาการคันซึ่งเกิดจากเชื้อราที่เท้า เมื่อเท้าเปียก ๆ ชื้น ๆ จะเป็นบ่อเกิดของเชื้อราที่เรียกว่า Dermatophytes เนื่องจากเชื้อราจะเจริญเติบโตได้ดีในอากาศชื้น

                    การติดเชื้อส่วนใหญ่ หากไม่ใช่ฤดูฝน มักจะเกิดจากเหงื่อออก หมักหมม ไม่รักษาความสะอาดให้ดี แต่หากในช่วงน้ำท่วม มักเป็นจากเท้าที่เปียกๆ ชื้นๆ บ่อยๆ แล้วไม่ดูแลรักษาความสะอาดให้ดี

                    มีอาการคันตามซอกนิ้วเท้าและผิวหนังลอกออกเป็นขุย ๆ เป็นผื่นที่เท้า ที่พบบ่อยจะเกิดตรงซอกนิ้ว แต่ก็สามารถลุกลามไปถึงฝ่าเท้าและเล็บได้

                    การรักษาโรคราที่เท้า ควรล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่และเช็ดให้แห้ง ใส่ถุงเท้าที่สะอาดและไม่เปียกชื้น ใช้ครีมรักษาเชื้อราทา โดยวิธีการป้องกัน คือ 1. หลีกเลี่ยงการแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานๆ 2. ถ้าจำเป็นจะต้องเดินลุยน้ำหรือแช่น้ำควรสวมรองเท้าบู๊ท

โรคอุจจาระร่วง

ผู้ป่วยจะถ่ายอุจจาระเหลว 3 ครั้งต่อวัน หรือมากกว่า หรือถ่ายอุจจาระเป็นมูกปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง โรคอุจจาระร่วงเป็นโรคติดต่อระบบทางเดินอาหารมักพบบ่อยขณะเกิดภาวะน้ำท่วมเกิดจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย

ติดต่อโดยการสัมผัสเชื้อจากการกินอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรคจากสิ่งปฏิกูลที่มาจากน้ำท่วม หรือจากการใช้น้ำที่ไม่สะอาดชำระล้างภาชนะใส่อาหาร เช่น ถ้วย ชาม ช้อน ที่ปนเปื้อนปัสสาวะ อุจจาระ ขยะมูลฝอยที่บูดเน่า หรือจากการไม่ล้างมือให้สะอาดก่อนเตรียมหรือปรุงอาหาร จะทำให้เกิดโรคติดต่อทางเดินอาหารต่าง ๆ ได้ การป้องกัน

  1.  ดื่มน้ำสะอาด น้ำบรรจุขวด ถ้าจำเป็นต้องดื่มน้ำที่ท่วมควรต้มให้สุกก่อน
    2. ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งก่อนกินอาหารและหลังการขับถ่าย
    3. ภาชนะที่ใส่อาหารควรล้างด้วยน้ำสะอาดก่อนนำมาใช้
    4. กินอาหารที่ทำสุกใหม่ๆ ที่ไม่มีแมลงวันตอม
    5. รักษาความสะอาดในเรื่องการกำจัดขยะมูลฝอย การกำจัดอุจจาระ ปัสสาวะที่ถูกต้อง
    6. หลีกเลี่ยงการถ่ายอุจจาระในน้ำที่ท่วมเพราะจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ (ในภาวะน้ำท่วมสูงควรถ่ายใส่ถุงดำแล้วโรยปูนขาว ปิดปากถุงให้แน่น รอเรือเก็บขยะมาเก็บ)
    7. ไม่ควรกินยาหยุดถ่ายเองควรปรึกษาแพทย์

โรคตาแดง

เป็นโรคติดต่อที่ระบาดได้ง่ายมาก เกิดจากเชื้อไวรัส  โรคนี้จะไม่ทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตแต่ถ้าไม่รีบรักษาอาจเกิดโรคแทรกซ้อนได้ ซึ่งมีอาการ คือ เคืองตา น้ำตาไหล มีขี้ตามาก อาการจะมีประมาณ 10 วัน และการรักษา พักสายตาบ่อย ๆ  ประคบตาด้วยผ้าเย็น และเช็ดตาด้วยสำลีชุบน้ำอุ่น การป้องกัน ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยโรคตาแดง  ล้างหน้าและมือให้สะอาดอยู่เสมอ   ไม่ควรเอามือขยี้ตา

สาเหตุ 1. ใช้มือสกปรกที่อาจมีเชื้อโรคขยี้ตา 2. ใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกับผู้ที่เป็นโรค หรือเล่นกับผู้ป่วย 3.  แมลงวันหรือแมงหวี่ตอมตา หรือฝุ่นละอองเข้าตามาก ๆ จนตาอักเสบ 4.  อาบน้ำในคลองสกปรก หรือที่มีตาแดงระบาด

โรคฉี่หนู Leptospirosis

เชื้อนี้สามารถพบได้สัตว์หลายชนิด  แต่พบมากในหนู  โดยเชื้อโรคในตัวหนูจะออกมากับฉี่ของหนู และปนเปื้อนอยู่ตามแหล่งน้ำ ซึ่งเชื้อที่อยู่ตามแหล่งน้ำนี้ สามารถเข้าทางผิวหนังของผู้ป่วยที่มีบาดแผล หรือรอยถลอกที่ผิวหนัง และหากบริเวณบาดแผลไปสัมผัสกับน้ำที่มีเชื้อโรคฉี่หนู เชื้อโรคก็จะเข้าสู่ตัวผู้ป่วย และก่อโรคได้ สาเหตุ เกิดจากเชื้อ Leptospira interogans มักจะพบการระบาดในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน เนื่องจากเป็นฤดูฝนและมีน้ำขัง

การติดต่อ โดยเชื้อที่ปนในน้ำ ในดิน เข้าสู่คนทางผิวหนัง หรือเยื่อบุ ที่ตา ปาก จมูก หลังจากได้รับเชื้อ โดยเฉลี่ย 10 วันผู้ป่วยก็จะเกิดอาการของโรค คือ – ปวดศีรษะทันที มักจะปวดบริเวณหน้าผาก หรือหลังตา บางรายปวดบริเวณขมับทั้งสองข้าง – ปวดกล้ามเนื้อมาก   โดยเฉพาะบริเวณ ขา น่อง เวลากด หรือจับจะปวดมาก – ไข้สูงร่วมกับหนาวสั่น อาการต่าง ๆ อาจอยู่ได้ 4-7 วัน นอกจากอาการดังกล่าวผู้ป่วยอาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน บางรายมีอาการถ่ายเหลว ปวดท้อง การตรวจร่างกายในระยะนี้อาจพบว่าผู้ป่วยมีอาการตาแดง

การป้องกัน

– หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำ แช่หรือลุยในน้ำที่อาจปนเปื้อนเชื้อปัสสาวะของสัตว์นำโรค ถ้าจำเป็นควรสวมรองเท้าบู๊ท – ล้างเท้าหรือส่วนที่แช่อยู่ในน้ำเมื่อขึ้นจากการแช่น้ำทุกครั้งและรีบอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายทันที – เมื่อมีอาการน่าสงสัย เช่น มีไข้ ปวดศรีษะรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อน่อง โคนขา หลังหรือมีอาการตาแดง ให้รีบพบแพทย์ด่วน

การรักษา

ก่อนอื่นผู้ป่วยจะต้องไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และยาที่มักจะได้รับ คือ ยาปฏิชีวนะ เช่น เพนนิซิลิน หรือ doxycycline (อย่างไรก็ตาม ห้ามซื้อยารับประทานเองเด็ดขาดเพราะอาจเกิดอันตรายถึงชีวิต) คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติม>>> http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=839

โรคเครียด ในภาวะเช่นนี้ ทุกคนที่ประสบภัยน้ำท่วม หรือกำลังอยู่ในที่ที่มีความเสี่ยงที่อาจถูกน้ำท่วม ก็จะเกิดภาวะเครียดเป็นธรรมดา จะมากหรือน้อยขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ปัจจัยส่วนตัวของผู้นั้นเองว่ามีความมั่นคงทางอารมณ์มากน้อยเพียงใด แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีเพียงใด และอีกปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของความเครียด คือขนาดของความเสียหาย หากขนาดของความเสียหายมาก ก็มีโอกาสที่จะมีความเครียดรุนแรงได้  หากมีอาการเครียดมากจน ทำให้การทำกิจวัตรประจำวันเสียไป นอนไม่หลับ ก็ควรไปพบแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำ และแพทย์อาจให้ยาคลายเครียดช่วย ในรายที่มีอาการมาก จนรบกวนการดำรงชีวิตประจำวัน และในรายที่อาการมาก อาจต้องพบจิตแพทย์

สามารถติดตามบทความและข้อมูลอ้างอิงต่อได้ที่… https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=926

https://www.thaihealth.or.th/5-%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a2-%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b8%81/

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 07/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,474
Page Views2,018,722
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view