http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

WHOประกาศ ‘แอสปาร์แตม’ สารให้ความหวานแทนน้ำตาล อาจก่อมะเร็ง แนะนำให้บริโภคอย่างพอประมาณ

WHOประกาศ ‘แอสปาร์แตม’ สารให้ความหวานแทนน้ำตาล อาจก่อมะเร็ง แนะนำให้บริโภคอย่างพอประมาณ

 องค์การอนามัยโลกประกาศ “แอสปาร์แตม” ซึ่งเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล เป็นสารที่อาจก่อมะเร็งในมนุษย์ แม้จะไม่เปลี่ยนแปลงปริมาณบริโภคได้ต่อวันของสารชนิดนี้

                   สำนักข่าวเอเอฟพีราย งานว่า เมื่อวันศุกร์ที่ 14 กรก ฎาคม 2566 ฟรานเชสโก บราน กา ผู้อำนวยการด้านโภชนาการและความปลอดภัยอาหารขององค์การอนามัยโลก กล่าวในการ แถลงข่าวนำเสนอผลการศึกษา หลักฐานที่มี 2 ครั้งเกี่ยวกับสารแอสปาร์แตม (Aspartame)  ที่สำ นักงานใหญ่ขององค์การอนา มัยโลก (ดับเบิลยูเฮชโอ) ที่นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ว่า เราไม่ได้แนะนำให้บริษัทต่างๆ เลิกใช้สารแอสปาร์แตม และไม่ได้แนะนำให้ผู้บริโภคหยุดบริโภคสารนี้โดยสิ้นเชิง เราแค่แนะนำให้บริโภคอย่างพอประมาณ

                   องค์การระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยโรคมะเร็ง (ไอเออาร์ซี) ในสังกัดองค์การอนามัยโลกได้ประเมินการก่อมะเร็งของสารแอสปาร์แตมเป็นครั้งแรกในการประชุมที่เมืองลียง ฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 6-13 มิถุนายนที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลกระบุว่า คณะทำงานดังกล่าวจัดให้แอสปาร์แตมเป็นสารที่อาจก่อมะเร็งในมนุษย์ตามหลักฐานที่มีอยู่อย่าง จำกัดจัดให้แอสปาร์แตมอยู่ใน “กรุ๊ป 2 บี” หรือสารที่อาจก่อ มะเร็งในมนุษย์ได้ ซึ่งเกี่ยว ข้องกับมะเร็งเซลล์ตับ (hepa tocellular carcinoma) นอกจากนี้ยังมีหลักฐานจำกัดเกี่ยวกับสารนี้ที่ทำให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลอง

                   พอล ฟาโรห์ ศาสตรา จารย์ด้านระบาดวิทยามะเร็งแห่งศูนย์การแพทย์ซีดาร์-ไซ นาย ในนครลอสแองเจลิส กล่าวในการแถลงข่าววันเดียว กันว่า สารที่จัดอยู่ในกรุ๊ป 2 บี ยังรวมถึงสารสกัดจากว่านหางจระเข้และกรดกาเฟอีนที่พบในชาและกาแฟ ประชาชนทั่วไปไม่ควรกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงของมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีที่จัดอยู่ในกรุ๊ป 2 บี

                   แมรี ชูบาวเออร์ เบอร์ริ แกน จากไอเออาร์ซี กล่าวใน การแถลงข่าววันเดียวกันว่าหลักฐานที่จำกัดในเรื่องมะเร็งเซลล์ตับที่เกี่ยวข้องกับสารแอส ปาร์แตม มาจากการศึกษา 3 เรื่องที่ดำเนินการในสหรัฐอเม ริกา และ 10 ประเทศในทวีปยุโรป นี่เป็นเพียงการศึกษาทางระบาดวิทยาที่ตรวจสอบมะเร็งตับ กลุ่มที่ 2 ประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับแอสปาร์แตมคือ คณะกรรมการผู้เชี่ยว ชาญร่วมด้านวัตถุเจือปนอา หาร (เจอีซีเอฟเอ) ซึ่งก่อตั้งโดยองค์การอนามัยโลก ประชุมร่วมกับองค์การอาหารและเกษตร แห่งสหประชาชาติที่นครเจนีวา เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน-6 กรกฎาคม

                   การประชุมดังกล่าวได้ ข้อสรุปว่า จากข้อมูลที่มีไม่มีเหตุผลที่จะเปลี่ยนแปลงปริ มาณที่บริโภคได้ต่อวัน (เอดีไอ) ของสารแอสปาร์แตมที่ระบุไว้ในปี 2524 ว่าให้บริโภคสารแอ สปาร์แตมได้ตั้งแต่ 0-40 มิลลิ กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม น้ำอัดลมไม่มีน้ำตาล 1 กระป๋อง ส่วนใหญ่ใส่สารแอสปาร์แตมราว 200 หรือ 300 มิลลิกรัม ดังนั้นผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนัก 70 กิโลกรัม ถ้ารับสารแอสปาร์แตมเกินกว่าปริมาณที่บริโภคได้ต่อวัน จะต้องดื่มน้ำอัดลมไม่มีน้ำตาล 9-14 กระ ป๋องใน 1 วัน ในเงื่อนไขที่ว่าไม่มีการบริโภคแอสปาร์แตมเพิ่มเติมจากแหล่งอื่น

                   บรานกากล่าวว่า ปัญหาเรื่องนี้อยู่ที่ผู้ดื่มน้ำอัดลมไม่มีน้ำตาลในปริมาณสูง คนที่ดื่มน้ำอัดลมนานๆ ครั้งก็ไม่น่าเป็นห่วง แอสปาร์แตมเป็นสารเค มีสังเคราะห์ให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มต่างๆ ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา พบในเครื่องดื่มลดน้ำหนัก หมากฝรั่ง เจลาติน ไอศกรีม ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น โยเกิร์ต ซีเรียลที่กินเป็นอาหารเช้า ยาสีฟัน ยาอมแก้ไอและวิตามินแบบเคี้ยว

https://www.thaihealth.or.th/who%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b9%81%e0%b8%ad%e0%b8%aa%e0%b8%9b%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b9%81%e0%b8%95%e0%b8%a1%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%b2/


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 07/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,563
Page Views2,018,811
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view