http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

สธ. เตือนประชาชนระวัง “นิ่วทอนซิล” เกิดจากการรวมตัวของแบคทีเรียและเชื้อราในช่องปาก

สธ. เตือนประชาชนระวัง “นิ่วทอนซิล” เกิดจากการรวมตัวของแบคทีเรียและเชื้อราในช่องปาก

การทำความสะอาดช่องปาก เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ หากไม่ได้รับการดูแล อาจมีเศษอาหารติดอยู่บริเวณซอกหลืบของต่อมทอนซิลจนเกิดการรวมตัวของแบคทีเรียและเชื้อราจับตัวกันเป็นก้อนแข็งที่เรียกว่า “นิ่ว” บริเวณต่อมทอนซิล

                    นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ข้อมูลว่า นิ่วทอนซิลเกิดขึ้นได้ในคนทั่วไป โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาทอนซิลอักเสบหลายครั้งมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากการติดเชื้อของทอนซิลทำให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อส่วนเกินมากขึ้น และเนื้อเยื่อเหล่านี้อาจก่อตัวเป็นซอกและร่องในต่อมทอนซิล จึงทำให้เซลล์ที่ตายแล้ว น้ำลาย และเศษอาหารต่าง ๆ ติดอยู่จนเกิดการรวมตัวของแบคทีเรียและเชื้อรา สิ่งเหล่านี้จะค่อย ๆ จับตัวกันเป็นก้อนแข็งที่เรียกว่า นิ่ว

                    นิ่วทอนซิลเกิดขึ้นได้ทุกบริเวณของต่อมทอนซิล มีลักษณะเป็นก้อนสีเหลืองหรือสีขาวขนาดเท่ากับเมล็ดถั่ว โดยไม่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย แต่อาจทำให้เกิดกลิ่นปาก เกิดการระคายเคือง เจ็บคอ ไอเรื้อรัง หรือทำให้ต่อมทอนซิลบวม หรือเจ็บบริเวณหู ซึ่งเป็นผลจากการอักเสบของทางเดินประสาทร่วมระหว่างหูและต่อมทอนซิลได้

                    พญ.กัลยาณี วิทยเจียกขจร นายแพทย์ชำนาญการ กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านโสต ศอ นาสิก รพ.ราชวิถี 2 (รังสิต) กล่าวถึงการวินิจฉัยนิ่วทอนซิลว่า แพทย์จะวินิจฉัยโดยการใช้เครื่องมือตรวจที่ช่องคอ หรือบางกรณีอาจใช้ภาพเอกซเรย์ หรือภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาใดๆ หากอาการ ไม่รุนแรง แต่หากนิ่วทอนซิลมีขนาดใหญ่หรือมีอาการ เช่น เจ็บคอ มีกลิ่นปากมาก ต่อมทอนซิลบวมอักเสบ หรือปัญหา ในการกลืนอาหาร ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษา

                    สำหรับการรักษาสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์และระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้น เช่น ในกรณีที่มีนิ่วทอนซิลขนาดเล็ก สามารถกลั้วคอบ้วนน้ำเกลืออุ่นๆ หรือใช้คอตตอนบัดก้านสำลีเขี่ยออกได้ แต่ถ้ามีขนาดปานกลางถึงใหญ่ อาจจะต้องทำการผ่าตัดต่อมทอนซิล เพื่อกำจัดเนื้อเยื่อบริเวณที่มีนิ่วออกไป ส่วนวิธีป้องกัน ทำได้โดยการดูแลช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอ บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ หรือน้ำยาบ้วนปาก วิธีนี้จะช่วยลดการก่อตัวของนิ่วและกลิ่นปาก ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อป้องกันการเกิดต่อมทอนซิลอักเสบ

                    หรือหากพบสิ่งผิดปกติของต่อมทอนซิล ควรรีบเข้าพบแพทย์ ไม่ควรใช้เครื่องมือเอาออกเอง อาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อหรือทำให้เลือดออกได้

https://www.thaihealth.or.th/%e0%b8%aa%e0%b8%98-%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b8%99%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%87-%e0%b8%99%e0%b8%b4/


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 07/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,291
Page Views2,018,537
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view