http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

คุมอาหาร-เครื่องดื่มกระทบสุขภาพเด็ก ห่วงโรคอ้วนพุ่งเร่งออกกฎสกัดการตลาด

คุมอาหาร-เครื่องดื่มกระทบสุขภาพเด็ก ห่วงโรคอ้วนพุ่งเร่งออกกฎสกัดการตลาด
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยในการเป็นประธานการประชาพิจารณ์ร่างพ.ร.บ.ควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่ม ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กผ่านระบบออนไลน์ ว่า จากผลการศึกษาของสถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดลปี 2563 พบว่า ใน 2ทศวรรษที่ผ่านมา เด็กไทยมีภาวะอ้วนขึ้นมากกว่า 2 เท่า โดยเด็กอายุ 1-5 ปี มีภาวะอ้วนและเริ่มอ้วนเพิ่มจากร้อยละ 5.8เป็นร้อยละ 11.4 เด็กอายุ 5-14 ปีเพิ่มจากร้อยละ 5.8 เป็นร้อยละ 13.9 และเด็กอายุ 15-18 ปี มีภาวะอ้วนร้อยละ 13.2 ซึ่ง สหพันธ์โรคอ้วนโลกคาดการณ์ว่าปี 2573 ประชาชนไทยที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี จะมีภาวะอ้วนและน้ำหนักเกินสูงถึงร้อยละ 30 ซึ่งมาตรการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็กเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญ เพื่อยุติโรคอ้วนในเด็กไทยตามตัวชี้วัดระดับโลก ซึ่งอยู่ระหว่างการปรับปรุงแก้ไขให้ครอบคลุมในทุกด้าน                   ดร.นพ.สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัยประธานการรับฟังความคิดเห็นการประชาพิจารณ์ กล่าวว่า ร่างพ.ร.บ.ควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็กดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2564 เพื่อปกป้องเด็กไทยจากการตลาดอาหารและเครื่องดื่ม ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งมี 9 มาตรการหลัก คือ 1.ฉลากต้องไม่ใช้เทคนิคดึงดูดเด็ก เช่น ไม่ใช้การ์ตูน หรือดาราเป็นแบบ และควรแสดงสัญลักษณ์กำกับที่เข้าใจง่าย 2.ควบคุมการแสดงความคุ้มค่าด้านราคา 3.ควบคุมการจำหน่ายในสถานศึกษาระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา 4.ควบคุมการโฆษณาทุกช่องทาง 5.ควบคุมการแลก แจก แถม ให้ชิงโชคชิงรางวัลส่งฟรี 6.การมอบ หรือให้สิ่งของอุปกรณ์ของใช้ หรืองบประมาณในการจัดกิจกรรมใดจะต้องไม่เชื่อมโยงถึงอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก 7.การบริจาคอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็กในสถานศึกษา และสถานที่ศูนย์รวมของเด็ก 8.การจัดตั้งกลุ่มชมรมชุมชนออนไลน์ จะต้องไม่เชื่อมโยงถึงอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก 9.การติดต่อชักชวน หรือจูงใจเด็กทั้งทางตรงและทางอ้อม จะต้องไม่เชื่อมโยงถึงอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถร่วมประชาพิจารณ์ได้ที่  https://moph.cc/PHFOROGN สำหรับประชาชนได้ที่  https://moph.cc/PHFORALL  ถึงวันที่ 30 มิ.ย.2566 และสอบถามข้อมูลได้ที่สำนักโภชนาการกรมอนามัย โทร.0-2590-4941.

https://www.thaihealth.or.th/%e0%b8%84%e0%b8%b8%e0%b8%a1%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3-%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0/

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 07/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,344
Page Views2,018,590
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view