http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ย้ำความเข้าใจให้ตรงกัน ค่ายานอกบัญชีเก็บกับ สปสช. ผู้ป่วยสิทธิ ‘บัตรทอง’ ไม่ต้องจ่าย

ย้ำความเข้าใจให้ตรงกัน ค่ายานอกบัญชีเก็บกับ สปสช. ผู้ป่วยสิทธิ ‘บัตรทอง’ ไม่ต้องจ่าย

ปัญหาผู้บริโภคที่เข้าไปใช้บริการตามสิทธิบัตรทอง โดนเรียกเก็บเงินเพิ่มจากค่ายานอกบัญชียาหลักรวมกว่า 1.7 ล้านบาท ผลักดันให้สภาผู้บริโภค และ สปสช. ออกมาย้ำความเข้าใจให้ตรงกันอีกรอบว่า ‘สิทธิ บัตรทอง ครอบคลุมถึงค่าใช้จ่ายยานอกบัญชีฯ’ สถานพยาบาลไม่มีสิทธิเรียกเก็บเงินเพิ่มจากผู้ป่วย

วันนี้ 4 เมษายน 2566 สภาองค์กรของผู้บริโภค ร่วมกับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จัดงานแถลงข่าวเรื่อง “สิทธิบัตรทองใช้ยานอกได้หรือไม่ รพ.สามารถเรียกเก็บเงินเพิ่มจากผู้ป่วยได้หรือไม่” เพื่อให้ผู้บริโภคได้ทราบถึงสิทธิของตัวเอง รวมถึงชี้แจงและทำความเข้าใจกับผู้บริโภสถานพยาบาลทุกระดับ ที่ร่วมให้บริการดูแลผู้ป่วยที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ “บัตรทอง 30 บาท”

สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค และอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมการมีส่วนร่วม สปสช. กล่าวว่า การถูกเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลของผู้ใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาท โดยไม่มีสิทธิเรียกเก็บ (Extra Billing) เป็นประเด็นที่สภาผู้บริโภค และ สปสช. ได้รับการร้องเรียนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าที่ผ่านมามีความพยายามเพื่อแก้ปัญหา โดยมีการชี้แจงและทำความเข้าใจแล้ว

แต่สถานพยาบาลหลายแห่งยังไม่เข้าใจว่า ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ได้ให้คุ้มครองดูแลประชาชนผู้มีสิทธิให้เข้าถึงการรักษาและบริการสาธารณสุข เพื่อไม่มีปัญหาค่าใช้จ่ายที่เป็นอุปสรรค ซึ่งในทุกรายการที่ให้บริการผู้ป่วย ทางสถานพยาบาลสามารถเรียกเก็บจาก สปสช. เพื่อเบิกจ่ายจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้โดยที่ไม่ต้องเรียกเก็บจากผู้ป่วย

กรณีของการถูกเรียกเก็บค่ายานอกบัญชียาหลักแห่งชาติเป็นหนึ่งในประเด็นของการร้องเรียนนี้ ซึ่งกรณีจ่ายยาตามรายการบัญชียาหลักแห่งชาติมีความเข้าใจตรงกันอยู่แล้วว่าให้เบิกค่ายากับ สปสช. แต่ในส่วนของยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ “ขอย้ำว่าหากผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา สถานพยาบาลก็สามารถมาเบิกจาก สปสช. ได้เช่นกัน”

ซึ่งส่วนนี้สถานพยาบาลยังไม่เข้าใจ ทำให้มีผู้ป่วยถูกเรียกเก็บค่ายาดังกล่าวทั้งที่เรียกเก็บไม่ได้ โดยข้อมูลสถานการณ์ในปี 2565 มีการร้องเรียนการถูกเรียกเก็บเงินจากการเข้ารับบริการโดยใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาท จำนวน 577 เรื่อง เป็นเงินทั้งสิ้น 9,110,737 บาท ในจำนวนนี้กรณีเรียกเก็บค่ายานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ จำนวน 32 เรื่อง เป็นจำนวนเงิน 1,724,703 บาท

“ผลการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนการถูกเรียกเก็บค่ายานอกบัญชีฯ เราพบว่าผู้ป่วยต้องได้รับยาโดยเป็นไปตามการวินิจฉัยของแพทย์ ซึ่งในรายการบัญชียาหลักแห่งชาติ ไม่มีรายการยาใดที่ใช้ทดแทนได้ จึงถึงเป็นความจำเป็นทางการรักษาที่ผู้ป่วยต้องได้รับ ดังนั้นโรงพยาบาลต้องเรียกเก็บจาก สปสช. ไม่ใช่เรียกเก็บจากผู้ป่วย ซึ่งในท้ายที่สุดคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขได้มีมติให้ทางโรงพยาบาลคืนเงินค่ายาให้กับผู้ป่วย” เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค กล่าว  

สารี กล่าวต่อว่า มีกรณีตัวอย่างเป็นผู้ป่วยหญิง อายุ 65 ปี มีสิทธิบัตรทองใน กทม. ที่คลินิกชุมชนอุ่น และศูนย์บริการสาธารณสุขในเขตพื้นที่หนึ่ง วันที่ 25 สิงหาคม – 6 กันยายน 2565 เข้ารักษาที่โรงพยาบาลรัฐสังกัด กทม. ตามแพทย์นัดเพื่อผ่าตัดด้วยภาวะลำไส้อุดตัน หลังรับการรักษาโรงพยาบาลเรียกเก็บเงินจำนวน 9,440 บาท โดยรับแจ้งว่าเป็นค่ายานอกบัญชียาหลักแห่งชาติและไม่สามารถเบิกจาก สปสช. ได้

และกรณีผู้ป่วยหญิง อายุ 23 ปี มีสิทธิบัตรทองที่ จ.เชียงใหม่ มีประวัติเป็นโรคซึมเศร้า เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2565 และวันที่ 20 ธันวาคม 2565 เข้ารักษาที่โรงพยาบาลตติยภูมิใน จ.เชียงใหม่ ตามแพทย์นัด โดยมีหนังสือส่งตัวจากสถานพยาบาลประจำ ซึ่งการเข้ารักษาทั้ง 2 ครั้ง โรงพยาบาลเรียกเก็บค่ายานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ รวมเป็นเงิน 13,795 บาท เจ้าหน้าที่แจ้งว่าเป็นค่ายานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ เบิกจาก สปสช. ไม่ได้เช่นกัน ซึ่งทั้ง 2 กรณี ได้ร้องเรียนมาที่ สปสช. โดยภายหลังคณะกรรมการควบคุมคุณภาพฯ ได้พิจารณาให้คืนเงินนี้กับผู้ป่วย  

ทั้งนี้ ในส่วนอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิฯ ได้มีการหารือในปัญหาการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นนี้ และเห็นตรงกันว่าสถานพยาบาลไม่สามารถเรียกเก็บเงินจากผู้ป่วยได้ ดังนั้นจึงขอใช้เวทีแถลงข่าวนี้ทำความเข้าใจกับสถานพยาบาลที่ร่วมดูแลผู้ป่วยบัตรทองทั่วประเทศ

ด้าน บุญยืน ศิริธรรม ประธานสภาองค์กรของผู้บริโภค ระบุว่า จากการสำรวจของสมาคมผู้บริโภคภาคตะวันตกในเรื่อง การใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสิทธิบัตรทอง โดยมีผู้ตอบแบบสอบถาม 303 คน จาก 3 อำเภอในจังหวัดสมุทรสาคร อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปที่เคยเข้าใช้บริการในโรงพยาบาล พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าร้อยละ 80 ทราบว่าตัวเองมีสิทธิอะไรบ้าง แต่ปัญหาข้อติดขัดในการใช้สิทธิบัตรทอง อันดับ 1 คือการถูกเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลร้อยละ 22.9 ถูกค่ายาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ร้อยละ 10 ปฏิเสธการรักษาพยาบาลร้อยละ 5.7 ไม่อำนายความสะดวกในการส่งต่อ ร้อยละ 4.3 และปฏิเสธผู้ป่วยฉุกเฉิน ร้อยละ 2.9

ด้าน บุญยืน ศิริธรรม ประธานสภาองค์กรของผู้บริโภค ระบุว่า จากการสำรวจของสมาคมผู้บริโภคภาคตะวันตกในเรื่อง การใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสิทธิบัตรทอง โดยมีผู้ตอบแบบสอบถาม 303 คน จาก 3 อำเภอในจังหวัดสมุทรสาคร อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปที่เคยเข้าใช้บริการในโรงพยาบาล พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าร้อยละ 80 ทราบว่าตัวเองมีสิทธิอะไรบ้าง แต่ปัญหาข้อติดขัดในการใช้สิทธิบัตรทอง อันดับ 1 คือการถูกเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลร้อยละ 22.9 ถูกค่ายาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ร้อยละ 10 ปฏิเสธการรักษาพยาบาลร้อยละ 5.7 ไม่อำนายความสะดวกในการส่งต่อ ร้อยละ 4.3 และปฏิเสธผู้ป่วยฉุกเฉิน ร้อยละ 2.9

เมื่อถามต่อไปว่าเมื่อเจอปัญหาแล้วร้องเรียนหรือไม่ และอะไรที่ทำให้ตัดสินใจไม่ร้องเรียน พบว่าผู้บริโภคกลัวว่าหากร้องเรียนไปแล้วจะส่งผลต่อคุณภาพในการรักษาพยาบาลครั้งต่อไป คิดเป็นร้อยละ 80.6 ค่าใช้จ่ายไม่มาก พอรับได้ ร้อยละ 1.6 เข้าโรงพยาบาลเอกชนสบายใจกว่า ร้อยละ 1.6 ไม่มีเวลาร้องเรียน / คิดว่าร้องเรียนแล้วเสียเวลา ร้อยละ 1.6 ไม่อยากทำลายชื่อเสียงโรงพยาบาล ร้อยละ 1.6 กลัวโดนกลั่นแกล้งร้อยละ 1.6  

บุญยืน กล่าวอีกว่า เมื่อผู้บริโภคพบปัญหาการใช้สิทธิบัตรทอง อยากให้ร้องเรียนหรือแจ้งปัญหาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับรู้ เนื่องจากการร้องเรียนจะเป็นการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศ “ในเมื่อประชาชนมีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่ทำไมเมื่อผู้ป่วยเข้ารับบริการที่สถานพยาบาลจึงไม่ได้ใช้สิทธิที่ตัวเองมี เพราะฉะนั้น ไม่ว่า สปสช. จะเพิ่มสิทธิให้ประชาชนอีกมากมายเท่าไร แต่ถ้าสิทธิเดิมที่มีอยู่เขายังใช้ไม่สะดวก ยังถูกเรียกเก็บเงิน อยากให้ สปสช. จัดการปัญหาเหล่านี้” บุญยืนระบุ

ด้าน ผศ.ภญ.ยุพดี ศิริสินสุข รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งขาติ อธิบายเรื่องยาที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ว่า คนจำนวนไม่น้อยมีความเชื่อว่ายาในบัญชียาหลักแห่งชาติเป็นยาที่ราคาถูกหรือไม่ดี แต่ความจริงแล้วยาที่อยู่ในบัญชียาหลักคือรายการยาที่จำเป็นต้องใช้ ซึ่งระบบการคัดเลือกยาที่อยู่ในรายการบัญชียาหลักนั้นต้องข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ครบถ้วนและละเอียดพอ หรืออาศัยระบบการให้คะแนนที่มีประสิทธิผล ร่วมกับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการแพทย์ เภสัชศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สาธารณสุข เป็นต้น

“อย่างไรก็ตาม อาจมีผู้ป่วยบางรายหรือบางโรคที่แพทย์เจ้าของไข้สั่งจ่ายยานอกบัญชี เนื่องจากยาในบัญชียาหลักอาจจะไม่เหมาะกับผู้ป่วยรายนั้น ๆ ซึ่งในกรณีที่แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ แต่หากเป็นกรณีที่แพทย์ไม่ได้สั่งจ่าย แต่คนไข้เป็นผู้เรียกร้องเองว่าอยากได้ยาตัวนี้ ตัวนั้น กรณีนี้คนไข้ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่ายาเอง” ผศ.ภญ.ยุพดี กล่าว

สำหรับกรณีผู้บริโภคที่ถูกเรียกเก็บเงินโดยไม่มีสิทธิเรียกเก็บนั้น สปสช.ไม่ได้นิ่งนอนใจและพยายามแก้ไข ทั้งขยายสิทธิประโยชน์ให้ครอบคลุมทุกบริการที่จำเป็น รวมถึงยาต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองผู้มีสิทธิบัตรทอง 30 บาทให้เข้าถึงบริการ ไม่มีอุปสรรคเรื่องค่าใช้จ่าย แม้ในบางกรณีเป็นจำนวนเงินที่ไม่มาก แต่ผู้ที่มีรายได้น้อยก็เป็นอุปสรรคได้ พร้อมจัดทำ “คู่มือ Extra Billing อะไรทำได้ ทำไม่ได้” เพื่อทำความเข้าใจกับสถานพยาบาลระบบบัตรทอง โดยเป็นการขับเคลื่อนภายใต้นโยบายของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือบอร์ด สปสช.

ทั้งนี้ ยืนยันว่าสถานพยาบาลไม่สามารถเรียกเก็บเงินจากผู้มีสิทธิบัตรทองได้ ไม่ว่าจะเป็นการรับบริการในเวลาทำการหรือนอกเวลาทำการ การเข้ารับบริการที่สถานพยาบาลประจำหรือสถานพยาบาลปฐมภูมิในเครือข่าย การเข้ารับบริการกรณีที่มีเหตุสมควรและกรณีอุบัติเหตุ เจ็บป่วยฉุกเฉิน การรับบริการกรณีที่ส่งต่อ และการเข้ารับบริการของทหารผ่านศึกและคนพิการ ตามสิทธิได้รับตามกฎหมาย

นอกจากนี้การใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ เวชภัณฑ์ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือการตรวจพิเศษต่าง ๆ ตามที่แพทย์ตรวจและวินิจฉัย สถานพยาบาลไม่มีสิทธิเรียกเก็บเช่นกัน รวมไปถึงค่าอวัยวะเทียม อุปกรณ์ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การใช้เวชภัณฑ์ ที่สถานพยาบาลมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในลักษณะเป็นค่าบริการหรือรายการอุปกรณ์

ยกเว้นให้เรียกเก็บเงินได้ใน 3 กรณี คือ 1. ร่วมจ่ายค่าบริการ ณ จุดบริการในอัตรา 30 บาท 2. บริการที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง เช่น บริการเสริมความงาม บริการที่อยู่นอกเหนือความจำเป็นข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ และที่อยู่ระหว่างค้นคว้าทดลอง เป็นต้น และ 3. การเข้ารับบริการที่ไม่ใช่หน่วยบริการประจำของตน โดยไม่มีการส่งต่อ หรือไม่ใช่กรณีเหตุสมควร หรืออุบัติเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉิน

#สภาองค์กรของผู้บริโภค #สภาผู้บริโภค #ผู้บริโภค

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

1. ติดต่อ สปสช.

• สายด่วน 1330

ไลน์ออฟฟิเชียล (Line Official) : @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6

• Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

• ไลน์ Traffy Fondue : @traffyfondue หรือคลิกที่ลิงก์ https://lin.ee/nwxfnHw

2. หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับสภาผู้บริโภค

• ไลน์ออฟฟิเชียล (Line Official) : @tccthailand คลิกลิงก์ https://lin.ee/uhDyO1U

• อินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก (Facebook Inbox) : สภาองค์กรของผู้บริโภค

• โทรศัพท์ : 02 239 1839

https://www.tcc.or.th/04042566_extrabilling_news/?utm_source=fb&utm_medium=urllink_post4Apr2023&utm_campaign=04042566_extrabilling_news&fbclid=IwAR0ML_uSTKdfXBEeI20JqlPRko-PJMfByhXtx9nxjY7tKsj4Kp-pF68e_ms

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 07/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,558
Page Views2,018,806
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view