http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ไนโตรเจนในอาหาร รับประทานอย่างไรให้ปลอดภัย

ไนโตรเจนในอาหาร รับประทานอย่างไรให้ปลอดภัย

เทรนด์อาหารมีควันเป็นอีกหนึ่งกระแสการบริโภคที่ได้รับความนิยมเนื่องจากไอเย็นที่ล้อมรอบทำให้อาหารมีละอองถ่ายรูปสวยงาม เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วรู้สึกเย็น เกิดความกรุบกรอบในปาก แต่อีกด้านหนึ่งก็มีข่าวให้พบเห็นบ่อยครั้งถึงอันตรายจากเมนูอาหารเหล่านี้วันนี้จึงพามารู้จักกับ“ไนโตรเจนเหลว”ตัวต้นเหตุที่ใช้ประกอบอาหารและวิธีการเลือกบริโภคอย่างปลอดภัย

ไนโตรเจนเหลว (Liquid Nitrogen) คือ การนำก๊าซไนโตรเจนที่มีคุณสมบัติไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสไม่เป็นพิษ ไม่ติดไฟและไม่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยา มาผ่านกระบวนการผลิต เพื่อเปลี่ยนสถานะจากก๊าซเป็นของเหลว ที่เรียกว่า Liquefaction  โดยการเพิ่มความดันพร้อมกับการลดอุณหภูมิ

ก๊าซไนโตรเจนหรือไนโตรเจนเหลวถูกนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหารที่หลากหลายรวมถึงถูกดัดแปลงเพื่อใช้ประกอบในขั้นตอนการปรุงอาหารที่ต้องการความเย็นจัดเนื่องจากสามารถทำให้อาหารลดอุณหภูมิลงและเกิดการแข็งตัวอย่างรวดเร็วซึ่งหลังจากที่ราดหรือเทลงบนอาหารแล้วไนโตรเจนเหลวจะเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลับสู่สถานะก๊าซ จนมีลักษณะคล้ายไอเย็นหรือควันลอยออกมาจากอาหารดังกล่าว

การนำก๊าซไนโตรเจนหรือไนโตรเจนเหลวมาใช้ในกระบวนการผลิตหรือประกอบอาหารสามารถทำได้หากมีคุณภาพหรือมาตรฐานเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหารและใช้ในเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนดทั้งนี้การใช้ก๊าซไนโตรเจนหรือไนโตรเจนเหลวในรูปแบบที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค จะถือว่าเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ และมีโทษตามกฎหมาย

สำหรับผู้บริโภคที่ต้องการรับประทานอาหารที่มีไนโตรเจนเหลว ควรระมัดระวังดังนี้

-    หลีกเลี่ยงการรับประทาน หรือ สัมผัส โดยตรง เพราะไนโตรเจนเหลวมีอุณหภูมิที่ต่ำมาก “อันตรายจากความเย็นจัด” เมื่อไนโตรเจนเหลวสัมผัสถูกผิวหนังหรือเนื้อเยื่อโดยตรง ไนโตรเจนเหลวจะดูดซับความร้อนจากผิวหนังเพื่อการระเหยอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อถูกทำลาย บวมพอง เกิดเนื้อตาย โดยเฉพาะเนื้อเยื่ออ่อนของทางเดินอาหาร มีอาการคล้ายกับผิวหนังที่ถูกเผาไหม้ไม่สูดดมก๊าซไนโตรเจนที่เกิดขึ้นโดยตรง การสูดดมก๊าซไนโตรเจนอาจทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนในปริมาณที่ลดลง ดังนั้นต้องรอให้ก๊าซของไนโตรเจนเหลวระเหยออกไปให้หมดก่อน จึงจะรับประทานได้

ข้อมูลอ้างอิง 

6b178f3aa182954a988ae22d71970a79.pdf (moph.go.th)
ประโยชน์และอันตรายของไนโตรเจนเหลว (Liquid Nitrogen) - บทความสุขภาพ (cth.co.th)
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ( อย. ) (oryor.com)
https://oryor.com/media/infoGraphic/media_printing/1318
https://oryor.com/media/infoGraphic/media_printing/1326
New tab (scimath.org)
Rama Focus 26 ม.ค.60 "ขนมควันทะลัก" – รามา แชนแนล (mahidol.ac.th)
ไนโตรเจนเหลว (liquid nitrogen) (tigcs.co.th)
https://www.fda.moph.go.th/Shared Documents/News/fda043 ปีงบประมาณ 2560/ข่าวไนโตรเจนเหลว 11เมย 60 (ส่งสื่อมวลชย).pdf://....///ปีงบประมาณ /ข่าวไนโตรเจนเหลว เมย (ส่งสื่อมวลชย).
ไนโตรเจนเหลว รับประทานได้ไหม อันตรายหรือไม่ ? - พบแพทย์ (pobpad.com)

https://oryor.com/media/infoGraphic/media_printing/2115?fbclid=IwAR3sYZRrRInXXTQi1zhgS_6-ghU4pFDvB_CHrasKjD144pym2GqwxeeQFxg

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 07/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,511
Page Views2,018,759
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view