http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

‘มะเร็งเต้านม’ เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในหญิงไทย หากตรวจพบเร็ว เข้ารับการรักษาเร็ว มีโอกาสหายได้

‘มะเร็งเต้านม’ เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในหญิงไทย หากตรวจพบเร็ว เข้ารับการรักษาเร็ว มีโอกาสหายได้

‘มะเร็งเต้านม’ เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในหญิงไทย จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า มีคนไทยที่เสียชีวิตด้วย โรคมะเร็งสูงถึง 84,073 คนต่อปี และพบการกลับมาเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมหรือการแพร่กระจายของโรค ทำให้ผู้ป่วยหลายรายหมดกำลังใจในการรักษา ทั้งนี้ ‘มะเร็งเต้านม’ หากตรวจพบเร็ว เข้ารับการรักษาเร็ว และดูแลตนเองอย่างถูกวิธี จะทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถใช้ชีวิต อยู่กับคนที่รักได้อีกนาน

                    ทางเครือข่ายมะเร็งเต้านมภาคเหนือตอนบน (Suandok Breast Cancer Network : SBCN) จึงเดินหน้าขับเคลื่อนส่งต่อความรู้ใหม่ๆ ผ่านการจัดประชุมวิชาการเครือข่ายมะเร็งเต้านมประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการให้ความรู้เพื่อเฝ้าระวัง ดูแลรักษา ติดตาม ลดอุปสรรค และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่กลับมาเป็นซ้ำ และระยะแพร่กระจายได้อย่างเหมาะสม สร้างความเข้มแข็งให้เครือข่าย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ตลอดจนสร้างแนวทางการปฏิบัติในการรักษาโรคให้โรงพยาบาลเครือข่าย

                    ศ.พญ.อิ่มใจ ชิตาพนารักษ์ ประธานเครือข่ายมะเร็งเต้านมภาคเหนือตอนบน เผยว่า ปีนี้เป็นครั้งแรกที่นอกจากจะมีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาโรคมะเร็งเต้านมในแง่มุมใหม่ๆ แล้ว ยังได้ริเริ่มให้มีกิจกรรมถอดบทเรียนแบ่งปันประสบการณ์จากตัวแทนเครือข่ายมะเร็งเต้านมจาก 4 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์ภาคปฏิบัติที่แตกต่างกัน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และระบบการส่งต่อ การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่กลับมาเป็นซ้ำ และแพร่กระจายในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ห่างไกลให้ได้รับการดูแล รักษาทันเวลา ซึ่งจะสามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิตและเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

                    SBCN มีเป้าหมายเพื่อลดอุปสรรคและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการรักษาได้ง่ายและรวดเร็ว สร้างความเข้มแข็งให้เครือข่าย ตลอดจนสร้างแนวทางการปฏิบัติในการรักษาโรคให้โรงพยาบาล เครือข่าย โดยพัฒนาระบบคิวออนไลน์ในการส่งตัวผู้ป่วยเข้าตรวจคัดกรอง จัดให้มีคิวผ่าตัดพิเศษ สร้าง One Stop Service สำหรับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ควบคู่กับการจัดอบรมให้ความรู้บุคลากรทุกระดับ แพทย์ พยาบาล และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง เพื่อเฝ้าระวัง ติดตามดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่กลับเป็นซ้ำและแพร่กระจายได้อย่างถูกวิธี

                     “เราจัดให้มีการอบรมให้ความรู้เรื่อง โรคมะเร็งเต้านมระยะกลับมาเป็นซ้ำและ แพร่กระจาย โดยเฉลี่ย 90% ของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านมทุกระยะจะมีอัตราการรอดชีวิตที่ยาวนาน ดังนั้น แม้จะรักษาหายแล้วก็ยังมีโอกาสที่มะเร็งเต้านมจะกลับเป็นซ้ำหรือ แพร่กระจายได้อีก” ศ.พญ.อิ่มใจกล่าว ทั้งนี้ปัจจุบัน SBCN มีบุคลากรทางการแพทย์และอสม. ร่วมในเครือข่ายกว่า 500 คน และมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการอบรมให้ความรู้อย่างสม่ำเสมอ

                    โดยคุณรวงทอง จันทร์แก้ว อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หนองช้างคืน จ.ลำพูน ที่เข้าร่วมรับการอบรมเครือข่ายครั้งนี้เล่าว่า “อสม. ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญและรอคอยการอบรมในครั้งนี้มาก เพราะเป็นเวทีที่จะได้รับความรู้ใหม่ๆ เพื่อใช้ในการดูแลให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วย หลังจากเข้าร่วมเครือข่ายในปีแรก ได้ลงพื้นที่ให้ความรู้และพบผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านม 10 คน จากคนในชุมชนทั้งหมด 3,000 คน โดยส่วนมากเป็นโรคในระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยจะได้รับคำปรึกษาจากรพ.สต. และเข้าสู่ระบบการส่งตัวเพื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ลำพูนได้โดยตรงผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางแล้ว ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาที่รวดเร็วขึ้น โดยหน้าที่หลักของอสม. จะเน้นการลงพื้นที่ติดตามอาการ สอบถามพูดคุยให้กำลังใจผู้ป่วย อธิบายขั้นตอน และผลข้างเคียงของการรักษาเพื่อการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ในผู้ป่วยที่รักษาหายแล้วก็จะก็ช่วยติดตามอาการ หากกลับมาเป็นซ้ำ”

                    ศ.พญ.อิ่มใจกล่าวอีกว่า SBCN ประสบความสำเร็จราว 70% ด้วยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและเอกชน ที่เห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนการจัดอบรมเผยแพร่ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนอสม. ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนเสมอมา ทำให้เครือข่ายมีความเข้มแข็งและเติบโตอย่างต่อเนื่อง เรามีเป้าหมายที่จะเพิ่มความรู้ให้บุคลากรมีความพร้อมในการดูแลประคับประคองสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในระยะท้าย เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจจากการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับสังคมไทยและเป็นงานที่ท้าทายอย่างยิ่ง ซึ่ง SBCN ได้เริ่มจัดการอบรมแล้วในจังหวัดเชียงใหม่ และจะมีการติดตามผลเพื่อเดินหน้าขยายผลต่อเนื่องไปอีก 4 จังหวัดในภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา และลำพูน ซึ่งคาดว่าจะขยายขอบข่ายโครงการครอบคลุมทั้งหมดภายใน 5 ปี (2564-2568) ซึ่งจะทำให้การรักษาโรคมะเร็งเต้านมครบวงจรมากขึ้น

                    ภญ.สุมาลี คริสธานินทร์ ประธานบริหาร บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า โนวาร์ตีสตระหนักถึงความสำคัญในการรักษาโรคมะเร็งเต้านมที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งผู้ป่วยรายใหม่และกลับมาเป็นซ้ำ เราจึงพร้อมให้การสนับสนุนหน่วยงานทุกภาคส่วน ซึ่งรวมถึง SBCN ในการจัดอบรมให้ความรู้บุคลากรทางการแพทย์ อสม. รวมถึงกลุ่มผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการรักษา เรารู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นการเติบโตที่แข็งแกร่งของเครือข่ายมะเร็งเต้านมไทย และภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อน เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่กลับมาเป็นซ้ำและแพร่กระจายได้เข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพอย่างรวดเร็ว เพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิตยาวกว่า 5 ปี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

https://www.thaihealth.or.th/330597-2/


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 07/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,213
Page Views2,018,458
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view