http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

'หมอยง'ฟันธง คนไทยติดเชื้อโควิดไปแล้ว 70%

'หมอยง'ฟันธง คนไทยติดเชื้อโควิดไปแล้ว 70%

26 ม.ค.2566- บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย จัดสัมมาพิเศษหัวข้อ “A NEW NORMAL WITH COVID-19 IN 2023 ” โดย ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  

ในภาพรวมของโควิด-19 ทั่วโลก ศ. นพ.ยง  ย้อนเหตุการณ์เมื่อ 3 ปีที่แล้ว พร้อมกับกล่าวถึง การก้าวสู่ปีที่ 4 ของการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ที่มีการแพร่ระบาดไปทั่วโลกว่า  มีประชากรที่ถูกบันทึกว่าติดเชื้อโควิด แล้วกว่า 600 ล้านคน และเสียชีวิต 1.3 ล้านคน แต่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อจริงๆอาจจะมากถึง 5,000-6,000 ล้านคน หากเปรียบเทียบตัวเลขของการระบาดในเดือน ม.ค.ปี 2565 น้อยกว่าปี 2564 ที่มีการระบาดของสายพันธุ์เดลต้า ซึ่งการรายงานนี้อาจจะต่ำกว่าความเป็นจริง ดังนั้นหากยังคงมีการรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ต่ำกว่าความเป็นจริง ในอนาคตอันใกล้องค์การอนามัยโลกคงจะยุติการรายสถิติผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพราะการรายงานผู้ติดเชื้อที่ไม่เป็นจริง

ถ้าถามว่าคนไทย ติดเชื้อโควิด-19ไปแล้วกี่คน กระทรวงสาธารณสุขบอกว่าประมาณกว่า 4 ล้านกคน ซึ่งส่วนตัวนั้นไม่เชื่อ  เพราะเคยถามนักเรียนในห้องว่าใครติดเชื้อบ้าง ปรากฎว่าทุกคนยกมือบอกว่าเคยติดเชื้อมาแล้วทั้งห้อง ดังนั้น เพหลังจากสถานการณ์ความรุนแรงของสายพันธุ์โอมิครอนลดลง การรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในปัจจุบัน ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงรายงานเฉพาะผู้ติดเชื้อ ที่นอนรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งอาจจะมีผู้ติดเชื้อที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอยู่อีก แต่ตัวเลขอัตราการเสียชีวิตต่ออาทิตย์มีจำนวนลดลงอย่างมาก ซึ่งคาดคะเนว่าจำนวนผู้ป่วย และผู้เสียชีวิตน่าจะอยู่ที่น้อยกว่า 1 ใน 1,000 คน โดยการคาดคะเนนี้มีตัวเลขที่เริ่มมีความใกล้เคียงกับโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งอาจจะมีส่วนในการประเมินการฉีดวัคซีนสำหรับบุคลทั่วไปในระยะต่อไป อาจจะฉีดแค่ปีละ 1 ครั้ง ส่วนกลุ่มคนที่ระบบภูมิคุ้มกันต่ำอาจจะฉีด 2 ครั้งต่อปี

ศ. นพ.ยง  กล่าวอีกว่า ในการหาว่าคนไทยติดเชื้อโควิดไปแล้วเท่าไหร่ ตนจึงได้ทำการศึกษา  ในเด็กอายุ 5-6 ปี และ 6-7 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 พบว่าในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนมีเด็กติดเชื้อประมาณ 65-70% แต่ในช่วงสายพันธุ์เดลต้าพบว่าการติดเชื้อลดลงเหลือ 10-20% ในภาพรวม พบว่า มีเด็กเคยติดเชื้อโควิด-19 ไปแล้วประมาณ 70-80% เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยการเจาะเลือดตรวจต่อโปรตีนนิวคลีโอแคปซิดยังพบว่า 1 ใน 3 คน เป็นการติดเชื้อแบบไม่มีอาการ และในจำนวน 3 คน จะรู้ว่าติดเชื้อเพียง 2 คน ซึ่งทั้งตัวเด็กและพ่อแม่ ก็ไม่ทราบว่ามีการติดเชื้อไปแล้ว ส่งผลให้ต่อมามีการตรวจภูมิ พบว่าในภาพรวมของตรวจแอนติบอดีในเด็กพบ 90% มีภูมิคุ้มกัร ซึ่งค่อนข้างสูง ส่งผลให้ความรุนแรงของโรคน้อยมาก

ศ.นพ.ยง ยังเผยอีกว่า ตนได้ศึกษาเพิ่มเติมในพื้นที่ จ.ชลบุรี ทั้งการตรวจเลือดและซักประวัติ จากตัวอย่าง 1,211 คน    เพื่อศึกษาอัตราการติดเชื้อในทุกช่วงวัย พบว่า เด็กที่มีการติดเชื้อโควิด-19 ไปแล้วในต่ำกว่าอายุ 5 ขวบมีถึง 82%  ลดลงมาในอายุ 5-10 ปี อยู่ที่ 76%  ในวัยทำงานติดเชื้อไปแล้วอยู่ที่ 70% และส่วนน้อยที่สุดคือกลุ่มผู้สูงวัยอายุตั้งแต่ 70 ปี อยู่ที่ 46%โดยสาเหตุที่เด็กมีการติดเชื้อในชลบุรีเยอะนั้น มาจากการเปิดโรงเรียน จึงมีการแพร่ระบาดของเชื้อ เพราะในกลุ่มเด็กเล็กที่พบแอนติบอดีน้อยที่สุด

ในการป้องกันโควิด-19 โดยการส่วมใส่หน้ากากอนามัยซึ่งเป็นวิธีเบื้องต้นที่สำคัญ  ศ. นพ.ยง กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลพบว่า เด็กเล็กระดับอนุบาลหรือประถมที่มีการใส่หน้ากากอนามัยใน 1 ชั่วโมง จะมีการสัมผัสที่หน้ากากอนามัยจำนวน 8-20 ครั้ง ซึ่งก่อนสัมผัสไม่มีการล้างมือมาก่อน  ดังนั้นการให้เด็กเล็กการใส่หน้ากากอนามัยที่โรงเรียนไม่ได้ช่วยป้องกันมากนัก และอาจจะส่งผลต่อการเรียนรู้ เพราะเด็กเล็กต้องอาศัยการสื่อสารทั้งภาษาพูด ภาษากาย การแสดงออกทางใบหน้า ดังนั้น หากในไทยจะมีการยกเลิกใส่หน้าการอนามัยก็ควรจะยกเลิกในกลุ่มเด็กเล็กก่อน และหันไปเน้นการล้างมือและความสะอาดต่างๆแทน ส่วนผู้ใหญ่แนวโน้มในอนาคตอาจจะเน้นการใส่หน้ากากอนามัยในกลุ่มคนที่ไม่สบาย

จะมีโควิดสายพันธุ์ใหม่ ระบาดในไทยอีกหรือไม่ ศ.นพ.ยงกล่าวว่า   ศ. นพ.ยง กล่าวว่า เรื่องสายพันธุ์ของโควิด-19 มีวิวัฒนาการเรื่อยๆ อย่างสายพันธุ์ที่พบในประเทศไทย เช่น คือจากอู่ฮั่น อัลฟ่า เดลต้า และโอมิครอน ซึ่งในสายพันธุ์โอมิครอน เกิดขึ้น แต่ก็มีการแตกย่อยออกเป็น BA.1 BA.2 BA.4 BA.5 แต่ ณ ขณะนี้การระบาดในประเทศไทยส่วนใหญ่ คือ สายพันธุ์ BA.2.75 ที่ก็คงจะหายไป และได้คาดการณ์ไว้ว่าสายพันธุ์ใหม่ที่จะเข้ามาในประเทศไทยคงหนีไม่พ้นสายพันธุ์ XBB.1.5 ที่กำลังระบาดในสหรัฐอเมริกา เชื่อว่าโควิดสายพันธุ์ใหม่จะมีความรุนแรงลดลง แต่มีความสามารถในการหลบหลีกภูมิต้านทานของวัคซีน หรือภูมิจากการเคยติดเชื้อโควิด-19 แล้วมากขึ้น  ซึ่งต้องมีการเฝ้าระวังอย่างยิ่ง เพราะหากเกิดการแพร่ระบาดแล้ว วัคซีนที่เคยได้ฉีดไปนั้นอาจจะไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร ในอเมริกามีการศึกษาประชากรที่คิดเชื้อไวรัส XBB.1.5 พบว่าแม้จะฉีดวัคซีนสูตรไขว้มา 4 เข็ม การกระตุ้นภูมิขึ้นไม่มากนักในสายพันธุ์ XBB.1.5  

“วัคซีนในขณะนี้ไม่มีวัคซีนตัวไหนที่อยู่ในระดับเทพในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ที่ผ่านมามีการเรียกร้องการใช้ mRNA เพราะเชื่อว่าป้องกันการติดเชื้อได้ แต่ตอนนี้เราได้รู้แล้วว่าไม่มีวัคซีนตัวไหนที่ป้องกันการติดเชื้อได้ เพียงแค่ช่วยลดความรุนแรงของโรคลง ดังนั้นการฉีดวัคซีนครบอย่างน้อยต้องได้รับวัคซีน 3 เข้ม คือ การฉีดวัคซีน 2 เข้มแรก และมีการฉีดกระตุ้นอีก 1 เข้ม หรือเข้มที่4 เข้มที่ 5 ก็ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ส่วนในเด็กก็สามารถได้รับวัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 5-11 ปี และต่ำสุดในช่วงอายุ 6 เดือน และสามารถฉีดสูตรไขว้ได้ มีระดับภูมิต้านที่เพิ่มขึ้นในระดับที่น่าพึงพอใจ และหากคนไข้ที่เป็นโควิด-19 และไม่เคยได้รับวัคซีน ประเทศไทยจะมีการให้ monoclonal antibodies ซึ่งมีจำนวนที่เพียงพอ ในส่วนภาพรวมประชากรไทยที่มีภูมิต้านโดยตรวจแอนติบอดีต่อ Spike กว่า 96% ดังนั้นหากจะทำการทดลองวัคซีน และหาอาสาสมัครที่ไม่เคยได้รับวัคซีนหรือติดเชื้อโควิด-19 เลย ที่เหลือเพียง 2-3% ตอนนี้นับว่าหายากมาก”

ศ. นพ.ยง แสดงความเห็นอีกว่า ส่วนผู้ที่กังวลหากติดเชื้อซ้ำ เมื่อเปรียบเทียบความรุนแรงของโรคจากการติดเชื้อซ้ำแล้ว ในช่วงที่มีการติดเชื้อครั้งแรกจะมีอาการมากกว่าการติดเชื้อครั้งที่สอง ซึ่งมีอาการทั่วไปน้อยกว่า ไม่ว่าจะเป็นความวิตกกังวล ไข้ ไอ ความเครียด ฯลฯ  แต่มีอยู่หนึ่งอาการที่มีอาการเท่ากันคือ น้ำมูกไหล ทั้งนี้ถ้าไม่มีการป้องกันโรคโควิด-19 เหมือนที่ผ่านมา ปล่อยให้ติดเชื้อ การระบาดจะอยู่แค่ 1 ปี แล้วจบลง แต่อัตราการเสียชีวิตจะเพิ่มขึ้น ระบบสาธารณะสุขจะรองรับผู้ป่วยไม่ไหว ประเทศจึงมีมาตรการต่างๆในการป้องกันไม่ว่าจะเป็นการสวมใส่หน้ากากอนามัย ล้องมือบ่อยๆ เพื่อลดการแพร่จายของโรค เพื่อยืดเวลาให้การระบาดยาวขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเมื่อมีการป้องกันมากเท่าไหร่ โรคโควิด-19 ก็จะยังอยู่กับเราทุกคนตลอดไป ดังนั้นในการหยุดวิกฤตตอนต้นต้องอาศัยทุกประเทศร่วมมือกัน เพื่อลดการแพร่กระจ่ายให้น้อยที่สุด เพื่อจะได้ไม่มีการกลายพันธุ์ของสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น 


“ผมมองว่า หากมีกาาระบาดอีก จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน ในช่วงเดือน เดือนม.ค.-พฤษภา การระบาดสงบลง แล้วระบาดจะกลับมาอีกในช่วงกลางปี “


ในเรื่อง Long Covid ศ.นพ.ยง บอกว่าจริงๆแล้วประชากรไทยน่าจะติดเชื้อไปแล้ว 70% ถ้าพูดว่าคนไทยเป็นลองโควิดกันเท่าจำนวนผู้ติดเชื้อ เราคงไม่ต้องทำอะไรกันแล้ว ส่วนตัวคิดว่าลองโควิด เป็นอาการในแง่จิตใจมากกว่า และการจะเกิดลองโควิด หรือไม่ ขึ้นกับความรุนแรงของโรคด้วย

https://www.thaipost.net/news-update/310889/

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 07/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,306
Page Views2,018,552
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view