http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ผู้ป่วยโควิดติดเชื้อนาน 411 วัน หายป่วยแล้ว นักวิจัยอังกฤษเผยวิธีรักษา

ผู้ป่วยโควิดติดเชื้อนาน 411 วัน หายป่วยแล้ว นักวิจัยอังกฤษเผยวิธีรักษา

นักวิจัยอังกฤษประสบความสำเร็จในการรักษาชายที่ติดโควิด-19 นานถึง 411 วัน 

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2565 แชนแนลนิวส์เอเชียรายงานว่า นักวิจัยชาวอังกฤษประกาศว่า พวกเขารักษาชายคนหนึ่งที่ติดเชื้อโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง เป็นเวลา 411 วัน โดยวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมของไวรัสที่พิเศษของเขา เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสม

การติดเชื้อโควิดเป็นเวลายาวนาน ซึ่งแตกต่างจากลองโควิด (long COVID) หรือการป่วยซ้ำ เกิดขึ้นในผู้ป่วยจำนวนน้อยที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแออยู่แล้ว

ดร.ลุค สเนลล์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ จากสถาบันกายส์ แอนด์ เซนต์โทมัส กล่าวว่า ผู้ป่วยเหล่านี้จะมีผลทดสอบเป็นบวกนานหลายเดือนหรือหลายปี

ดร.สเนลล์ กล่าวกับเอเอฟพีว่า “การติดเชื้ออาจเป็นภัยคุกคามร้ายแรง เนื่องจากผู้ป่วยราวครึ่งหนึ่งยังมีอาการเรื้อรัง เช่น ปอดอักเสบ” พร้อมเสริมว่า ยังมีเรื่องที่ไม่ทราบอีกมากเกี่ยวกับอาการเหล่านี้

ในการศึกษาใหม่ที่เผยแพร่ในวารสาร Clinical Infectious Diseases ทีมนักวิจัยจากกายส์ แอนด์ เซนต์โทมัส และมหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจลอนดอน อธิบายว่าผู้ป่วยชายอายุ 59 ปีรายนี้ สามารถเอาชนะการติดเชื้อได้อย่างไร หลังผ่านไปนานกว่า 13 เดือน

ชายรายนี้มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เนื่องจากการปลูกถ่ายไต เขาติดเชื้อโควิดในเดือนธันวาคม 2563 และมีผลตรวจเป็นบวกต่อเนื่องไปจนถึงเดือนมกราคม 2565

เพื่อตรวจสอบว่า เขาติดเชื้อโควิดหลายครั้งหรือติดเชื้อเป็นเวลานานกันแน่ นักวิจัยใช้การวิเคราะห์ทางพันธุกรรมอย่างรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีการจัดลำดับนาโนพอร์ ซึ่งเป็นการทดสอบที่สามารถให้ผลลัพธ์ได้ในเวลาเพียง 24 ชั่วโมง

ปรากฏว่าชายคนดังกล่าวติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ B.1 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีการระบาดอย่างหนักเมื่อช่วงปลายปี 2563 แต่หลังจากนั้นพบว่าสายพันธุ์นี้ถูกแทนที่ด้วยสายพันธุ์ที่ใหม่กว่า

เนื่องจากเขาติดเชื้อจากสายพันธุ์แรก ๆ นักวิจัยจึงให้ยาคาซิริวิแมบและยาอิมดีวิแมบ ซึ่งเป็นการรักษาด้วยโมโนโคลนอลแอนติบอดีจากบริษัท รีเจนเนอรอน ฟาร์มาซูติคอลส์

เช่นเดียวกับการรักษาด้วยแอนติบอดีอื่น ๆ การรักษาด้วยวิธีนี้ไม่ได้ใช้กันอย่างแพร่หลายอีกต่อไป เนื่องจากไม่มีประสิทธิภาพในการต่อต้านสายพันธุ์ใหม่ เช่น โอมิครอน

แต่วิธีการรักษาดังกล่าวประสบความสำเร็จในการรักษาชายผู้นี้ เนื่องจากเขาต้องต่อสู้กับสายพันธ์แรก ๆ ของการระบาดใหญ่

ยากต่อการรักษา

ดร.สเนลล์เผยว่า สายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่กำลังแพร่ระบาดมากขึ้นในปัจจุบัน ดื้อต่อแอนติบอดีทั้งหมดที่มีอยู่ในสหราชอาณาจักร, สหภาพยุโรป และแม้แต่ในสหรัฐฯ

นักวิจัยใช้วิธีการรักษาหลายอย่างเพื่อช่วยชายวัยใกล้ 60 ที่ป่วยหนักในเดือนสิงหาคม หลังติดเชื้อมาเป็นเวลา 4 เดือน

แต่ไม่มีวิธีไหนที่ได้ผล

“ตอนนั้นเราคิดว่า เขากำลังจะตายจริง ๆ” ดร.สเนลล์ ยอมรับ

ดังนั้น ทีมวิจัยจึงบดยาต้านไวรัส 2 ชนิดที่ไม่เคยใช้ร่วมกันมาก่อน ได้แก่ แพกซ์โลวิด และเรมเดซิเวียร์ และให้ยาทั้ง 2 ชนิดนี้กับผู้ป่วยที่หมดสติ ผ่านทางท่อจมูก

“เขาหายป่วยราวปาฏิหาริย์ และบางทีนี่อาจเป็นหนทางสำหรับการรักษาโรคติดเชื้อถาวรที่รักษายากมากนี้” ดร.สเนลล์ กล่าว พร้อมเน้นย้ำว่า การรักษานี้อาจไม่ถูกนำไปใช้กับผู้ป่วยโควิดปกติ

ในการประชุม European Society of Clinical Microbiology and Infectious Diseases (ECCMID) เมื่อเดือนเมษายน ทีมวิจัยประกาศพบการติดเชื้อที่กินระยะเวลายาวนานของชายอีกราย ที่มีผลตรวจโควิดเป็นบวกนาน 505 วัน ก่อนที่เขาจะเสียชีวิต

ดร.สเนลล์ กล่าวว่า “เคสที่น่าเศร้าอย่างยิ่งนี้ เกิดขึ้นก่อนหน้าการระบาดใหญ่” เขากล่าวอีกว่า เขารู้สึกขอบคุณที่ตอนนี้มีทางเลือกในการรักษามากมาย

https://www.prachachat.net/world-news/news-1108209


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,745,952
Page Views2,011,129
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view