http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

อย. ยืนยันไม่พบการนำเข้าช็อคโกแลต Kinder Surprise

อย. ยืนยันไม่พบการนำเข้าช็อคโกแลต Kinder Surprise

กรณีพบเด็กอังกฤษล้มป่วยจากการกินช็อกโกแลต คินเดอร์ เซอร์ไพรส์ โดยพบเชื้อซัลโมเนลลาปนเปื้อนในอุจจาระ อย. ยืนยันไม่พบการนำเข้าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเข้ามาในไทย ขอให้ผู้บริโภควางใจ

นพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากกรณีมีข่าวพบเด็กอังกฤษวัย 3 ขวบล้มป่วยจากการบริโภคช็อกโกแลต คินเดอร์ เซอร์ไพรส์ โดยพบเชื้อซัลโมเนลลาปนเปื้อนในอุจจาระ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบแล้วและขอยืนยันว่าไม่มีการนำเข้าช็อกโกแลต คินเดอร์ เซอร์ไพรส์เข้ามาในประเทศไทยแต่อย่างใด โดยก่อนหน้านี้สำนักงานมาตรฐานอาหารของประเทศอังกฤษ (Food Standards Agency, FSA) ได้ประกาศเตือนผู้บริโภคกรณีบริษัทผู้ผลิตเรียกคืนผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตเฟอเรโร ที่ผลิตจากประเทศเบลเยียม รุ่น คินเดอร์ เซอร์ไพรส์ ขนาด 20 กรัม และ 20 กรัม x 3
ระบุวันที่ควรบริโภคก่อนระหว่างวันที่ 11 ก.ค.-7 ต.ค. 2565 ซึ่ง อย. ได้ตรวจสอบพบว่า ผลิตภัณฑ์คินเดอร์ช็อกโกแลต ตรา เฟอเรโร มีการนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยหลายรุ่น โดยผู้นำเข้า 2 บริษัท คือ บริษัท เอส.จี.ฟาร์อีสเทิร์น จำกัด และบริษัท ซีโน-แปซิฟิคเทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งไม่มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์คินเดอร์เซอร์ไพรส์และจากการตรวจสอบข้อมูลการอนุญาตพบว่า คินเดอร์เซอร์ไพรส์ ช็อกโกแลตนมรูปไข่ (KINDER SURPRISE MILK CHOCOLATE EGG) เลขสารบบอาหาร 10-3-09423-1-0399 สถานะผลิตภัณฑ์สิ้นสภาพ ตั้งแต่ 31/12/2558 โดยเป็นผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตนมที่ประกอบด้วยไข่ช็อกโกแลตล้อมรอบแคปซูลพลาสติกที่มีของเล่นชิ้นเล็กอยู่ข้างใน เข้าข่ายเป็นการบรรจุสิ่งอื่นหรือวัตถุอื่นที่ไม่ใช่อาหารในหีบห่อของภาชนะบรรจุอาหารที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ จึงห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 310) พ.ศ. 2551 ซึ่งทางด่านอาหารและยา อย. มีการเฝ้าระวังไม่ให้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีปัญหาหรืออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคหลุดรอดเข้ามาในประเทศได้

รองเลขาธิการ อย. กล่าวต่อไปว่า ผู้บริโภคควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตที่บรรจุภัณฑ์ ไม่มีรอยแตก หรือฉีกขาด มีฉลากแสดงข้อมูล เช่น ชื่ออาหาร เลขสารบบอาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า น้ำหนักสุทธิ ปริมาณน้ำตาลและ/หรือวัตถุที่ ่ให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นร้อยละของน้ำหนักโดยประมาณ เดือนและปีที่ผลิต หรือ วันเดือนและปีที่หมดอายุ ข้อความแสดงการใช้วัตถุกันเสีย สี หรือการแต่งกลิ่นรสถ้ามีการใช้ แล้วแต่กรณี และหากพบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ได้รับความปลอดภัยจากการบริโภค ร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. โทร. 1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

https://oryor.com/%E0%B8%AD%E0%B8%A2/detail/media_news/2265

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,743,842
Page Views2,009,008
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view