http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ลดพฤติกรรมเสี่ยง – หมั่นออกกำลังกาย เทคนิคป้องกันโรคกระดูกสันหลังเสื่อม

ลดพฤติกรรมเสี่ยง – หมั่นออกกำลังกาย เทคนิคป้องกันโรคกระดูกสันหลังเสื่อม

เมื่อประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวโรคภัยไข้เจ็บอันเนื่องมาจากความเสื่อมของร่างกายย่อมมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น "กระดูกสันหลังเสื่อม" นับเป็นโรคที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดและความทรมานในผู้สูงอายุ รวมถึงเป็นภาระให้กับผู้ดูแลอย่างมาก

นพ.ศรัณย์ ก่อวุฒิกุลรังษี แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ และกระดูกสันหลัง ศูนย์กล้ามเนื้อกระดูกและข้อ โรงพยาบาลนวเวช กล่าวว่า โรคกระดูกสันหลังเสื่อม คือความเสื่อมของโครงสร้างร่างกายที่ช่วยให้มนุษย์สามารถยืนหรือนั่งตัวตรงได้ ประกอบไปด้วย ปล้องกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูก ข้อต่อ เอ็นยึดข้อต่อ และกล้ามเนื้อข้างเคียง มักพบในตำแหน่งที่มีการเคลื่อนไหวเป็นประจำ เช่น กระดูกสันหลังส่วนคอ และกระดูกส่วนเอว โดยส่วนใหญ่จะพบในผู้ป่วยอายุ 40 ปีขึ้นไป ในปัจจุบันเราพบผู้ป่วยที่มีอายุน้อยลงเรื่อยๆ เนื่องจากลักษณะการทำงานที่นั่ง หรือยืนในท่าเดิมนานๆ และรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป รวมถึงไม่มีเวลาออกกำลังกายเท่าที่ควร

 “สาเหตุของโรคกระดูกสันหลังเสื่อม 1.อายุที่มากขึ้น 2.น้ำหนักตัวที่มากเกินไป   3.การอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ เช่น นั่งทำงาน หรือยืน 4.การทำงานใช้งานหลังที่ไม่ เหมาะสม เช่น ทำงานในท่าก้มเป็นประจำ เช่น ช่างซ่อมรถยนต์ หรือการแบกของหนักๆ เกินเกณฑ์เป็นเวลานานๆ  5.วิถีชีวิตที่ใช้ งานกระดูกคอมากขึ้น เช่น การก้มดูโทรศัพท์มือถือ การใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน” นพ.ศรัณย์ กล่าว

คำแนะนำการป้องกันโรคกระดูกสันหลังเสื่อม 1.การใช้งานหลังให้ถูกวิธี เช่น เวลาเรานั่ง เราควรจะต้องตัวตรง หลังชิดกับพนักพิง อาจจะมีหมอนเล็กๆ รองที่บริเวณหลังกับพนักพิง สำหรับเก้าอี้ที่ดี พนักพิงควรจะสูงถึงบริเวณไหล่ ส่วนเรื่องคอ บางครั้งเราก็จะเผลอในการที่จะก้มคอดูโทรศัพท์ หรืออ่านหนังสือ หรือดูจอโน้ตบุ๊ก เราจะต้องคอยรู้ตัวตลอดเวลา ว่าคอเราควรจะตั้งตรง ตามองตรง และมองสิ่งที่เราจะมองลงไปประมาณ 15-20 องศา ก็จะช่วยทำให้อาการปวดคอลดลงได้ 2.ไม่ควรใช้หลังในท่าเดิมๆ นานเกินไป ควรหยุดพักยืดเส้นยืดสาย เช่น การนั่งเกิน 45 นาที ควรมีเวลาพักเปลี่ยนอิริยาบถประมาณ 10-15 นาที 3.ออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรง และเสริมความยืดหยุ่น เช่น การฝึกเกร็งหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลัง ทั้งในเวลาที่มีการใช้งาน หรือจัดเวลาการออกกำลังกาย เสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกลางลำตัว เช่น Planking นอกจากนี้ก็ยังต้องมีการออกกำลังเพื่อเสริมความยืดหยุ่นให้กับร่างกายด้วย 4.ลดการใช้งานหลังที่ไม่เหมาะสม งดการยกของหนัก หรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยงบาดเจ็บที่บริเวณหลัง 5.การควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากเกิน เกณฑ์ 6.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

เมื่อเกิดการใช้งานซ้ำๆ เหล่านี้ หมอนรองกระดูกจะเริ่มมีร่องรอยความเสียหาย จากนั้นก็จะเริ่มมีการสูญเสียน้ำ และมีการยุบตัวลง เกิดการไม่มั่นคงของโครงสร้างเกิดขึ้น กล้ามเนื้อข้างเคียงพยายามพยุงโครงสร้างเหล่านี้ และร่างกายตอบสนองด้วยการสร้างกลุ่มกระดูกงอก เพื่อรองรับโครงสร้างที่ไม่มั่นคงดังกล่าว ผู้ป่วยจะเริ่มปวดเมื่อมีการคลอนของโครงสร้างเกิดขึ้น ถ้าหมอนรองกระดูกที่ยุบและกลุ่มกระดูกที่งอกนี้ไปกดเส้นประสาทข้างเคียงก็จะทำ ให้เกิดอาการทางระบบประสาท

https://www.thaihealth.or.th/Content/56072


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,744,179
Page Views2,009,350
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view