http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

แนะวิธีดูแลป้องกันเด็กเล็ก จากโควิด-19

แนะวิธีดูแลป้องกันเด็กเล็ก จากโควิด-19

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในกลุ่มเด็กเล็ก เริ่มพบมีจำนวนเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามพ่อแม่ผู้ปกครองและคนใกล้ชิด ควรหมั่นสังเกตสุขภาพของเด็กอยู่เสมอ และควรสอนให้เด็กรู้จักรักษาสุขอนามัย เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากโควิด-19 ได้

ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.เอกชัย เพียรศรีวัชรา รองอธิบดีกรมอนามัย พร้อมด้วย นพ.ธีรชัย บุญยะลีพรรณ รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย ร่วมแถลงการณ์ประเด็นดูแลป้องกันอย่างไรเมื่อเด็กปฐมวัยติดเชื้อ Covid-19 เนื่องจากการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นของเด็กวัยประถม

นพ.เอกชัย กล่าวว่า ในกลุ่มเด็ก 0-5 ปีที่ติดเชื้อโควิด-19 ในช่วง 7 วันที่ผ่านมามีจำนวนสูงถึง 6 พันกว่ารายซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อดูย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 64 – 17 ก.พ. 65 พบว่ามีเด็กวัยดังกล่าวติดเชื้อสะสม 107,059 ราย เสียชีวิต 29 ราย ซึ่งส่วนใหญ่ที่เสียชีวิตจะเป็นเด็กที่มีโรคประจำตัว โดยสาเหตุหลักมาจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยติดเชื้อในครอบครัว และการละเลยการดูแลสุขอนามัยสำหรับเด็ก

ทั้งนี้ ได้แนะนำหลักปฏิบัติเพื่อเป็นการลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สำหรับเด็ก คือ 1. สอนให้เด็กล้างมือที่ถูกต้อง 2. เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี ไม่แนะนำให้สวมหน้ากากอนามัย เพราะเด็กอาจไม่รู้จักเอาหน้ากากออกเองเมื่อหายใจไม่ออก 3. หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปรวมตัวคนหมู่มากหรือมีโอกาสใกล้ชิดผู้ป่วย 4. ทำความสะอาดบริเวณพื้นผิว เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ของเล่นเป็นประจำ 5. หมั่นสังเกตสุขภาพเด็กอยู่เสมอ โดยเด็กที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ ได้แก่ เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี และเด็กที่มีโรคประจำตัว เนื่องจากจะมีอาการหนักหากได้รับเชื้อ

หลังจากพบว่าบุตรหลานติดเชื้อโควิด-19 จะมีแนวทางปฏิบัติในการรักษาอย่างไร นพ.ธีระชัย ให้คำตอบว่า หากติดเชื้อโควิดทั้งผู้ปกครองและเด็กให้เข้ารับการรักษา โดยผู้รักษาจะจัดเป็นกลุ่มครอบครัวให้ ถ้าหากเด็กติดเชื้อแค่ผู้ปกครองไม่ติด ให้เด็กเข้ารักษาในโรงพยาบาลหรือ Hospitel ซึ่งอนุญาตให้ผู้ปกครองมาดูแลได้ โดยจะต้องดูแลตัวเองอย่างเข้มงวดเพื่อไม่ให้ติดเชื้อโควิดจากเด็ก แต่จะยกเว้นผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัวไม่ให้ตามเข้ามาดูแล แต่ถ้าหากผู้ปกครองติดเชื้อแต่เด็กไม่ติด ให้ประสานญาติมารับเด็ก แต่หากไม่มี ทาง พม. จะมีบ้านพักฉุกเฉินสำหรับเด็กไว้รองรับ

คำแนะนำในการดูแลรักษาตามอาการ ถ้าหากมีไข้สามารถให้เด็กกินยาลดไข้ได้ ให้เน้นเช็ดตัวเพื่อป้องกันอาการช็อก หรือให้กินพาราเซตามอล 10 ml ต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ถ้ามีอาการไอ หรือมีน้ำมูก ให้กินยาแก้ไอและยาลดน้ำมูกได้ และถ้าหากถ่ายเหลว แนะนำให้ดื่มเกลือแร่

ทั้งนี้ หากเด็กเล็กไม่สามารถ Home Isolation (HI) ได้ สามารถเข้า Community Isolation ได้ ด้วยการติดต่อสาธารณสุขจังหวัด โดยอนุญาตให้ผู้ปกครองตามเข้ามาดูแลได้ภายใต้การดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด รวมถึงการตรวจ ATK ในเด็กต่ำกว่า 5 ปี ไม่แนะนำให้แหย่โพรงจมูกลึกเท่าผู้ใหญ่ ทั้งนี้ให้เฝ้าระวังอาการหลังติดเชื้อโควิดอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเด็กส่วนใหญ่มีอาการป่วยไม่หนัก แต่ในบางรายอาจมีอาการอักเสบหลายระบบ ซึ่งจะเกิดในสัปดาห์ที่ 2-8 หลังจากติดโควิด ทำให้เกิดไข้สูงเพิ่มขึ้นมา

นอกจากนี้ขอให้จับตาใกล้ชิด โดยเฉพาะ 6 จังหวัดที่พบเด็กประถมติดเชื้อสูงสุด ได้แก่กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ภูเก็ต ชลบุรี นนทบุรี และนครศรีธรรมราช เน้นย้ำให้ผู้ปกครองใส่ใจดูแลบุตรหลาน ขอให้คนในบ้านฉีดวัคซีนเพื่อเป็นเกราะป้องกันอีกขั้นหนึ่ง เน้น universal prevention และ covid free setting รวมถึงคอยประเมินตัวเองด้วยThai save Thai และหมั่นตรวจ ATK อย่างสม่ำเสมอ

https://www.thaihealth.or.th/Content/55895


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,744,211
Page Views2,009,382
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view