http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

12 ข้อควรรู้ เพื่อความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์

12 ข้อควรรู้ เพื่อความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์

การเข้าใจแนวคิดของการปกป้องความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์ รอยเท้าดิจิทัล การรักษาความปลอดภัยทางดิจิทัล ช่วยป้องกันภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ได้ ข้อแนะนำต่อไปนี้ จะช่วยให้ผู้ใช้งานรักษา ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวและอุปกรณ์ดิจิทัลได้ มีอะไรบ้าง ไปดูกัน

1. ไม่ตั้งรหัสผ่านที่ง่ายเกินไป

รหัสผ่านเป็นกุญแจที่ไขเข้าสู่ข้อมูล และเอกสารของเรา อาชญากรไซเบอร์จะใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อที่จะเข้าผ่าน เข้ารหัสให้ได้ เพื่อที่จะไม่ให้คนพวกนี้เข้าถึงได้ง่าย ควรตั้งรหัสที่ยาก ซับซ้อน และไม่ควรบันทึกรหัสผ่านไว้ในอุปกรณ์ดิจิทัล

2. ใส่ใจกับการตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

แอปส่วนใหญ่จะมีตัวเลือกในการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวให้แก่ผู้ใช้งาน เพื่อที่จะตัดสินใจได้ว่าข้อมูลไหน จะแบ่งปันให้ใครได้เท่าไร ทางที่ดีควรจะเลือกตั้งค่าให้มีความเป็นส่วนตัวให้มากที่สุด ระมัดระวังในการเปิดเผยชื่อและที่ตั้งของเรา และปฏิเสธแอปที่พยายามจะเข้าถึงกล้องถ่ายรูปของเรา

3. ใส่ใจรอยเท้าดิจิทัล

สิ่งที่ผู้ใช้โพสต์ลงโลกออนไลน์แล้ว สิ่งนั้นจะคงอยู่ตลอดไป แม้ว่าโพสต์ต้นทางจะลบแล้ว คนอื่นก็จะตามร่องรอยเราจนได้ เมื่อคิดจะโพสต์ ควรโพสต์แต่เรื่องที่ดี ๆ และระมัดระวังการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว

4. ควรติดตั้งโปรแกรมรักษาความปลอดภัยให้กับอุปกรณ์ดิจิทัลทุกตัว

รวมถึงโทรศัพท์ด้วย เพื่อที่จะปกป้องอุปกรณ์เหล่านั้นจากภัยคุกคามในโลกไซเบอร์ 

5. สำรองข้อมูลไว้เสมอ

การสำรองข้อมูลมักถูกมองข้ามเสมอ แต่เป็นเรื่องสำคัญที่จะปกป้องข้อมูลที่สำคัญ โปรแกรมเรียกค่าไถ่จะยึดข้อมูลของผู้ใช้งานไว้เป็นตัวประกัน 

6. ติดตั้งเครื่องมือติดตามอุปกรณ์หรือล็อคหน้าจอ

ในกรณีที่ทำหาย เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่เอาไปเข้าถึงข้อมูลในเครื่องได้

7. ระมัดระวังการใช้บลูทูธ

ถึงแม้ว่าจะสะดวกสบาย แต่บลูทูธก็ยังมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัย ควรจะปิดโหมดบริการนี้ไว้เสมอ   เมื่อไม่ได้ใช้งาน

8. อัปเดตระบบปฏิบัติการอยู่เสมอ

ทั้งระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์ ดิจิทัล และโปรแกรมและแอปพลิเคชั่นที่ติดตั้งในอุปกรณ์นั้น เพื่อที่จะรับบริการด้านความปลอดภัย และซ่อมแซมข้อบกพร่องของรุ่นเก่า ๆ

9. ระมัดระวังการใช้ไวไฟ

อุปกรณ์ไวไฟที่ใช้ควรจะมีความปลอดภัย ควรตั้งรหัสผ่านไว้ตลอดเวลา และไม่ใช้ไวไฟสาธารณะ เมื่อต้องเปิดเผย Wi-Fi ข้อมูลส่วนตัวหรือทำธุรกรรม

10. ลบข้อมูลหรือโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว

หากว่ามีโปรแกรม หรือแอปที่ไม่ได้ใช้งานหลายเดือนแล้ว ควรจะเอาออกเสีย เช่นเดียวกับข้อมูลที่ไม่ได้ใช้แล้ว ควรจะลบออก หรือไม่ก็ควรจะเก็บข้อมูลเหล่านั้น ในฮาร์ดไดร์ฟต่างหาก หรือเก็บไว้ในลักษณะออฟไลน์ เพื่อที่จะปกป้องข้อมูลส่วนตัว ในกรณีที่ผู้ใช้งานอาจจะลืม

11. ระมัดระวังการหลอกลวงให้กรอกข้อมูล (Phishing)

มิจฉาชีพจะปลอมตัวเป็นองค์กรที่เป็นที่รู้จัก และหลอกล่อให้ผู้ใช้งานเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เพื่อจะเข้ารหัสผ่านหรือเพื่อติดตั้งมัลแวร์ ควรสังเกต URL ของเว็บไซต์ให้ชัดเจนและอย่ากดลิ้งก์หรือเปิดไฟล์ที่แนบเข้ามา ระมัดระวังการหลอกลวงของแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ที่พยายามล้วงข้อมูลส่วนตัว และนำไปเปิดบัญชีอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งที่สามารถโอนเงินจากบัญชีธนาคารของผู้ใช้งานออกไปได้

12. ใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างระมัดระวัง

ไม่ควรรับคนที่ไม่รู้จักเป็นเพื่อน หลีกเลี่ยงการแชตกับคนแปลกหน้า ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวในโหมดสาธารณะ เเละลบบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ที่ไม่ได้ใช้แล้ว 

https://www.thaihealth.or.th/Content/55896


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 06/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,731
Page Views2,012,920
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view