http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ไทยพร้อมหรือไม่ กับการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์

ไทยพร้อมหรือไม่ กับการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์

“เราเตรียมพร้อมกันหรือยัง กับการดูแลผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพและครอบคลุม”

ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัย (Aged Society) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จนถึงปัจจุบันปี พ.ศ. 2564 ไทยมีสัดส่วนประชากรกลุ่มผู้สูงอายุหรือมีอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 12 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 1 ใน 6ของประชากรไทย ถือเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มประเทศอาเซียน รองจากประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ไทยก็ถูกคาดการณ์ว่าจะเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรกของโลกที่ก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุแบบสมบูรณ์ (Aged Society) เนื่องจากอัตราการเกิดของคนไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องโดยมีจำนวนการเกิดเพียงประมาณ 6 แสนคนต่อปี ซึ่งหากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไปแล้วนอกจากจำนวนประชากรไทยโดยรวมจะเริ่มลดลงแล้วไทยจะขยับขึ้นเป็นสังคมสูงอายุแบบสุดยอด (Hyper Aged Society) ซึ่งมีสัดส่วนประชากรที่อายุมากกว่า 65 ปีถึงร้อยละ 20 หรือมีประชากรอายุมากกว่า 60 ปีกว่าร้อยละ 30 ภายในปี พ.ศ. 2584 โดยคาดว่าการขยับนี้ใช้เวลาเร็วกว่าประเทศญี่ปุ่นเสียอีก

การเข้าสู่สังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์ มีผลกระทบกับจำนวนแรงงานในตลาดอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อวัยแรงงานลดลง เพราะเศรษฐกิจไทยพึ่งพาการใช้แรงงานสูง ทำให้มีต้องพึ่งแรงงานข้ามชาติหลายล้านคน เพื่อพยุงประเทศไทยให้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไป  รัฐบาลไทยจึงควรส่งเสริมให้มีการเพิ่มผลิตภาพ หรือ Productivity ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมสูงวัย โดยปรับโครงสร้างแรงงาน การศึกษา การพัฒนาสมรรถนะของผู้สูงวัย และต้องเพิ่มการลงทุนด้านเทคโนโลยีที่จะสามารถทำให้ผู้สูงวัยยังคงทำงานต่อไปได้อย่างสะดวก

นอกจากปัญหาทางเศรษฐกิจ การเตรียมการด้านสาธารณสุข และสังคมที่ต้องให้การดูแลผู้สูงวัยที่มีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรงจนติดบ้าน ติดเตียงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารประเทศจะต้องให้ความสำคัญและเตรียมความพร้อมให้เพียงพอ เมื่อประชาชนมีอายุที่ยืนยาวขึ้น นักวิจัยจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย คาดการณ์ว่า มีผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงที่ต้องการดูแล หรือต้องการนักบริบาล (caregivers) ไม่ว่าจะเป็นญาติพี่น้อง หรืออาสาบริบาลท้องถิ่น จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี อยู่ที่หลักหลายแสนคนซึ่งถ้าจะต้องหาผู้บริบาลมาดูแลอย่างเต็มเวลาจะต้องใช้งบกว่าสี่หมื่นล้านบาทต่อปี(4)  

จากการประมาณการดังกล่าวผู้กำหนดนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตระหนักถึงภาวะพึ่งพิงในอนาคต ได้เริ่มโครงการดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงในชุมชนตั้งแต่ปี 2558 และ กระทรวงมหาดไทยได้ออกระเบียบการจ่ายเงินอาสาบริบาลท้องถิ่นตั้งแต่เมื่อปีที่ผ่านมา โครงการสานพลังติดตามและสนับสนุนกระบวนการนโยบายสุขภาพเพื่อรองรับสังคมสูงวัยที่มีคุณภาพ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากกองสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ติดตามและวิเคราะห์นโยบายการดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงในท้องถิ่นต่าง ๆ พบว่านโยบายดังกล่าวสามารถเพิ่มให้มีผู้ดูแลผู้สูงอายุแบบบางเวลา (ประมาณ 1 ชั่วโมงต่อวัน) ได้ประมาณตำบลละ 9 คนซึ่งคาดว่าเป็นการบรรเทาสถานการณ์การถูกทอดทิ้งของผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้ดีพอสมควรด้วยงบประมาณปีละ 2 พันล้านบาท โดยประมาณ

แต่ถ้าต้องการพัฒนาให้การดูแลนี้มีคุณภาพและครอบคลุมสำหรับผู้ที่มีความจำเป็นทุกคนในประเทศไทย คาดว่ารัฐบาลต้องลงทุนในการให้เกิดการดูแลนี้เพิ่มเติม ตัวเลขงบประมาณจะขยับไปจาก 2 พันล้าน เป็นหลายพันล้านหรือหมื่นล้าน ตามความต้องการพัฒนาคุณภาพและความทั่วถึงของบริการ โครงการสานพลังฯ จึงเสนอให้ผู้กำหนดนโยบาย หรือผู้ที่ต้องการเสนอตัวมากำหนดนโยบายได้มองเห็นช่องทางพัฒนางานเพื่อประชาชนว่า ยังมีช่องทางในการพัฒนางานดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ที่ต้องการนโยบายที่ชัดเจน และต้องการงบประมาณเพิ่มเติมอีกในอนาคต

การดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงนี้รวมเรียกกันว่า ระบบการดูแลระยะยาว (Long-term care) ซึ่งประเทศไทยใช้รูปแบบที่เรียกว่า Community Based long term care หรือการส่งนักบริบาลหรืออาสาบริบาลท้องถิ่นไปดูแลผู้สูงวัยที่ป่วยติดเตียงตามบ้านวันละ 1 – 2 ชั่วโมง เพื่อการดูแลขั้นพื้นฐาน ทำความสะอาดร่างกาย ป้อนอาหาร ป้อนยา ซักล้าง ซึ่งเป็นบริการทางสังคมที่มุ่งมั่นที่จะคงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ไม่ให้ถูกทอดทิ้ง เพราะบริบททางสังคมมีการเปลี่ยนแปลงขนาดของครอบครัวมีขนาดเล็กลง วัยทำงานยังคงต้องออกไปทำงานหาเลี้ยงชีพ ไม่สามารถดูแลผู้สูงวัยได้ เพราะหากต้องออกจากงานก็จะขาดรายได้ในระดับครัวเรือนซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญ

สำหรับประเทศไทยพบว่าผู้ป่วยจำนวนมากที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง ไม่ได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายเกินกว่าครึ่ง ซึ่งทำให้ผู้ป่วยต้องกลายสภาพเป็นผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง การมีนักบริบาลลงไปดูแลกลับสร้างความแตกต่างให้ชีวิตผู้ป่วยจำนวนมากที่กลับมาเดินได้อีกครั้ง ซึ่งเป็นที่น่าประทับใจกับนักบริบาลเอง และบุคลากรทางการแพทย์ทั่วไป ที่คิดว่าเมื่อไม่ได้รับการฟื้นฟูในระยะต้น (6 เดือนแรก) โอกาสกลับมามีความสามารถทางกายอีกจะน้อยลงไป ระบบการดูแลระยะยาวของไทยจึงมีคุณูปการสูงกว่าในตำราต่างประเทศที่มุ่งให้บริการทางสังคมอย่างเดียว เพราะสามารถช่วยพื้นฟูให้ผู้ป่วยกลับมาพึ่งตนเองได้อีกครั้ง

https://www.posttoday.com/politic/columnist/658911

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,744,054
Page Views2,009,223
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view