http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เพิ่มสิทธิผู้ป่วยไต เลือกวิธีฟอกไตฟรี เริ่ม 1 ก.พ.

เพิ่มสิทธิผู้ป่วยไต เลือกวิธีฟอกไตฟรี เริ่ม 1 ก.พ.

เพิ่มสิทธิผู้ป่วยไตวาย เลือกฟอกเลือดได้ฟรี รักษาได้ในทุกสถานพยาบาลที่มีหน่วยบริการ  เริ่ม 1 ก.พ.นี้ ลดภาระค่าใช้จ่าย 2 หมื่นต่อเดือน

ที่กระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์หลังการหารือร่วมกับ นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย และ นายธนพล ดอกแก้ว นายกสมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อม “เพิ่มทางเลือกให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง เลือกวิธีฟอกไตได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย” เริ่มดำเนินการวันที่ 1 ก.พ.2565

นายอนุทิน กล่าวว่า ข้อเสนอนี้เกิดจากการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลในจังหวัดต่างๆ และได้รับฟังปัญหาของผู้ป่วยฟอกไตสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(บัตรทอง) มีหลายคนต้องจ่ายเงินค่าฟอกไตครั้งละ 1,500 บาท เนื่องจากไม่ต้องการล้างไตผ่านช่องท้องตามหลักเกณฑ์กองทุนบัตรทองที่กำหนดให้เป็นบริการแรกของการบำบัดภาวะไตวายเรื้อรัง เนื่องจากมีความกังวลทำให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายและเดือดร้อน จึงนำมาหารือ และบอร์ด สปสช.ได้ทำการศึกษาปรากฎว่าสามารถทำได้และใช้งบประมาณเพิ่มไม่มาก จึงเห็นชอบเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2565 และเริ่มดำเนินการในวันที่ 1 ก.พ.

นพ.จเด็จ กล่าวว่า หลักการพิจารณาคือให้ผู้ป่วยร่วมตัดสินใจเลือกวิธีล้างไต ร่วมกับแพทย์ที่รักษาโดยคำนึงถึงเศรษฐานะ พยาธิสภาพของโรค ปัจจัยทางสังคม และความเหมาะสม ทั้งนี้สามารถเข้ารับบริการได้ทุกหน่วยบริการไม่เฉพาะสถานพยาบาลตามสิทธิเท่านั้นสำหรับปัจจุบันมีผู้ป่วยฟอกไต 30,802 ราย ในจำนวนนี้ 6,546 ราย เป็นกลุ่มที่ไม่สมัครใจล้างไตทางช่องท้อง และเลือกจ่ายเงินเองฟอกไตเอง ส่วนผู้ป่วยล้างทางหน้าท้องมี 32,892 รายในจำนวนนี้มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปใช้วิธีฟอกไตประมาณ 5,000 รายโดยจะใช้งบประมาณเพิ่มขึ้น 1,079.9 ล้านบาท สำหรับการดำเนินการในปีงบประมาณ 2565 ระยะ 8 เดือน จะใช้งบฯ 719.9 ล้านบาท ซึ่ง สปสช. จะนำงบเหลือจ่ายของปี 2564 ที่ไม่มีภาระผูกพันนำมาดำเนินการ

ด้าน รศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวว่า เมื่อ 10 ปีที่แล้วที่ต้องเริ่มนโยบายล้างไตผ่านช่องท้องเป็นทางเลือกแรก เพราะติดข้อจำกัดจำนวนหน่วยบริการไตเทียมและบุคลากรมีไม่เพียงพอ ไม่สามารถรองรับผู้ป่วยที่ต้องการฟอกไตได้ ส่งผลให้มีผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งที่ไม่ต้องการล้างไตผ่านช่องท้องต้องจ่ายค่าฟอกไตเอง แต่ปัจจุบันมีการจัดตั้งหน่วยบริการไตเทียมมากขึ้นน่าจะเพียงพอรองรับดูแลผู้ป่วยได้ และคาดว่าผู้ป่วยไตวายที่จะฟอกไตเพิ่มส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยใหม่ เพราะผู้ป่วยเก่าที่ล้างไตผ่านช่องท้องและสบายดีอยู่แล้ว ก็น่าจะใช้วิธีล้างไตเดิมต่อไป

นายธนพลธ์ กล่าวว่า การเปิดให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางและมีส่วนร่วมกับแพทย์ในการตัดสินใจเลือกวิธีการบำบัดไต รวมถึงยกเลิกเก็บค่าบริการฟอกเลือดนั้นจะช่วยลดภาระให้ผู้ป่วยและครอบครัว เนื่องผู้ป่วยต้องรับบริการฟอกไต 2 -3 ครั้งต่อสัปดาห์ รวมเป็นค่าใช้จ่ายเกือบ 20,000 บาทต่อเดือนถือว่าสูงมากโดยเฉพาะในภาวะเศรษฐกิจขณะนี้ อย่างไรก็ตามมีสิ่งที่กังวลและฝากติดตามคือความเพียงพอของหน่วยฟอกไตเทียมและบุคลากรในการให้บริการ คงต้องตามดูสถานการณ์หลังจากวันที่ 1 ก.พ. แต่เชื่อว่าสธ. และ สปสช. ได้เตรียมความพร้อมของระบบเพื่อรองรับไว้แล้ว ก่อนจะประกาศและเดินหน้านโยบายนี้

https://www.thaihealth.or.th/Content/55816


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,743,876
Page Views2,009,042
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view