http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน รับมือ PM2.5

เปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน รับมือ PM2.5

สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 เริ่มพบในหลายพื้นที่ ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับปัญหาสุขภาพของประชาชน จึงได้มีการเปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินขึ้น พร้อมแนะกลุ่มเสี่ยงควรเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ได้เตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุขในการเปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินกรณีฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เนื่องจากข้อมูลเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพพบผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวเนื่องจากฝุ่น PM2.5 สูงสุดในช่วงเดือน ธ.ค.-มี.ค.ของทุกปี พื้นที่ที่มีอัตราป่วยสะสมสูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ และภาคกลาง โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล

เมื่อพิจารณาร่วมกับข้อมูลของศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.) และรายงานการติดตามสถานการณ์ประจำวันที่ 13 ม.ค.65 พบว่า ผลการตรวจวัดฝุ่น PM2.5 ภาพรวมประเทศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ (ค่ามาตรฐาน คือ ไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) ยกเว้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดตาก ที่มีแนวโน้มพบค่าฝุ่นเกินค่ามาตรฐาน

สาเหตุสำคัญของการเกิดฝุ่น PM2.5 มาจากการเผาไหม้ท่อไอเสียของเครื่องยนต์ ควันบุหรี่ การเผาขยะ เผาหญ้า กระบวนการเผาไหม้เชื้อเพลิงในโรงงาน เป็นต้น นอกจากนี้ฝุ่น PM2.5 ยังสามารถรวมตัวกับสารมลพิษอื่นๆ เช่น สารไฮโดรคาร์บอน และโลหะหนักได้ ด้วยขนาดที่เล็กมากจึงสามารถลอดผ่านการกรองของขนจมูกไปยังหลอดลมจนถึงถุงลมปอด และซึมเข้าสู่กระแสเลือด ส่งผลกระทบต่อร่างกาย จึงขอเตือนประชาชนเตรียมพร้อมรับมือและงดกิจกรรมในพื้นที่โล่ง

อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า กระทรวงฯ จะบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนภายใต้ 3 มาตรการในการรับมือ PM2.5 ประกอบด้วย 1. การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ 2.การป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่แหล่งกำเนิด และ 3.การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการมลพิษ โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ ลดและป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคจาก PM2.5 ซึ่งกรมควบคุมโรคได้เตรียมความพร้อมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ภายใต้ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขกรณีฝุ่น PM2.5

โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่อาจได้รับผลกระทบโดยตรง ทั้งเด็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีโอกาสในการรับหรือสัมผัสฝุ่น เช่น ตำรวจจราจร คนขับรถสาธารณะ คนกวาดถนน เป็นต้น และผู้ป่วย 4 กลุ่มโรคสำคัญที่ต้องระวังเป็นพิเศษ คือ 1.กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด  2.กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ  3.กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ  4.กลุ่มโรคตาอักเสบ ซึ่งหากได้รับฝุ่นเข้าสู่ร่างกายอาจทำให้เกิดการเจ็บป่วย หรือมีผลต่อสุขภาพรุนแรงกว่าคนทั่วไป ควรสวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่น (N95) หรือหน้ากากที่มีแผ่นกรองคาร์บอน เนื่องจากมีประสิทธิภาพที่สามารถกรองอนุภาคขนาดเล็กได้ ทุกครั้งที่ออกจากบ้านหรือเมื่อไปในพื้นที่ที่มีระดับฝุ่น PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน  หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก ใจสั่น ระคายเคืองตา หรือหากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ทันที

ด้าน พญ.หรรษา รักษาคม ผู้อำนวยการกองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า พ.ร.บ.ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2562 เป็นกลไกสำคัญในการวางระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคจากฝุ่น PM2.5 เมื่อพบจำนวนผู้ป่วยมากผิดปกติในช่วงที่ค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน จะมีการรายงานมายังหน่วยงานปฏิบัติการควบคุมโรคระดับจังหวัด และกทม. หรือหน่วย ENVOCC CU เพื่อลงพื้นที่สอบสวนและควบคุมโรคได้อย่างทันการณ์

https://www.thaihealth.or.th/Content/55770


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,743,971
Page Views2,009,138
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view