http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ย้ำมาตรการ 3 เก็บป้องกัน 3 โรค

ย้ำมาตรการ 3 เก็บป้องกัน 3 โรค

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ย้ำมาตรการ 3 เก็บป้องกัน 3 โรค เร่งป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยเฉพาะกลุ่มเด็กนักเรียน

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2564 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 25 พฤศจิกายน 2564 พบผู้ป่วย 9,084 ราย เสียชีวิต 6 ราย เป็นเพศชาย 5 ราย เพศหญิง 1 ราย อยู่ในกลุ่มอายุ 5-14 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่พบมากที่สุด   และกลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไป โดยมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในเด็ก คือ มีน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน และในผู้สูงอายุคือ การมีโรคประจำตัวเรื้อรัง สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่สำคัญ ได้แก่ ได้รับการวินิจฉัยล่าช้า รวมถึงมีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบริเวณที่พักอาศัย

แม้ว่าในปีนี้ จำนวนคนป่วยจะน้อยกว่าช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา หรือลดลงมากกว่าร้อยละ 80 แต่คาดการณ์ว่าในปี 2565 จะมีการระบาดมากขึ้น เพราะโรคไข้เลือดออกจะระบาดปีเว้นปี หรือปีเว้น 2 ปี เนื่องจากภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติในคนลดลง ปัจจัยจากการเดินทางมากขึ้นในช่วงเปิดประเทศ หรือมีน้ำท่วมขัง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง นอกจากนี้ กลุ่มเด็กวัยเรียนยังเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงสุด เมื่อสถาบันการศึกษาหลายแห่งเริ่มเปิดเรียนแบบออนไซด์ (on site) มากขึ้น

แนะนำให้ใช้มาตรการ 3 เก็บป้องกัน 3 โรค คือเก็บขยะให้เกลี้ยง เก็บบ้านให้ปลอดโปร่ง เก็บน้ำให้มิดชิด โดยการเก็บขยะให้เป็นระบบ ทำให้สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย รวมถึงขอให้โรงเรียนจัดกิจกรรมเสริมในการจัดการสิ่งแวดล้อม กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในโรงเรียน เช่น กิจกรรม BIG CLEANING DAY เก็บให้เกลี้ยงไม่เลี้ยงยุงลาย เพื่อไม่ให้ยุงเกิดและไม่ให้นักเรียนโดนยุงกัดจนป่วยซ้ำเติมสถานการณ์โรคระบาดในปัจจุบัน ซึ่งจะสามารถป้องกันได้ทั้งโรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา

ด้านแพทย์หญิงฉันทนา ผดุงทศ ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อนำโดยแมลง กล่าวเสริมว่า ขอให้สังเกตอาการของคนภายในบ้าน หากมีไข้สูงเกิน 2 วัน เช็ดตัวหรือกินยาลดไข้แล้วไข้ไม่ลดลง ขอให้คิดว่าอาจป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก อีกทั้งหากมีอาการป่วย เช่น มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจเหนื่อยหอบ เบื่ออาหาร ปวดท้อง อาจเป็นการเจ็บป่วยร่วมกันระหว่างไข้เลือดออกกับโรคโควิด 19 เมื่อมีอาการต้องสงสัยให้รีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์หรือสถานบริการสาธารณสุขที่อยู่ใกล้บ้าน หรือโทรปรึกษาสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422https://www.thaihealth.or.th/Content/55609

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,744,127
Page Views2,009,298
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view