http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

รู้จักอาการปุ่มกระดูกงอก ในช่องปาก

รู้จักอาการปุ่มกระดูกงอก ในช่องปาก

อาการปุ่มกระดูกหรือกระดูกงอกในช่องปาก พบได้ในบางคนซึ่งสาเหตุของการเกิดนั้นยังไม่แน่ชัด อาจเกิดจากพันธุกรรม เชื้อชาติ เพศ อายุ และมักเกี่ยวข้องกับแรงบดเคี้ยวปริมาณมาก เช่น มีนิสัยขบเค้นฟันในเวลากลางวัน หรือนอนกัดฟันในเวลากลางคืน

ทพญ.เกศนี คูณทวีทรัพย์ ฝ่ายทันตกรรม รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย อธิบายว่า ปุ่มก้อนกระดูกงอกในช่องปากนี้จะค่อยๆ โตขึ้นอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไปตามช่วงอายุ จึงทำให้ไม่พบในเด็ก แต่มักเริ่มพบได้ในวัยหนุ่มสาว ทั้งนี้ ปุ่มกระดูกงอกจะโตช้าลงจนสามารถหยุดโตเองได้ โดยปุ่มกระดูกงอกในช่องปากมีรูปร่างไม่แน่นอนในแต่ละคน มีความแข็ง พื้นผิวปกคลุมด้วยเหงือกสีชมพูที่มีลักษณะเช่นเดียวกับเหงือกบริเวณอื่นๆ ในช่องปาก ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว หากปุ่มก้อนกระดูกงอกนั้นมีขนาดไม่ใหญ่นัก สามารถพบได้ในบริเวณต่างๆ ของช่องปาก ได้แก่

- Torus palatinus ปุ่มกระดูกบริเวณเพดาน เป็นปุ่มกระดูกงอกซึ่งมักจะอยู่บริเวณกึ่งกลางเพดานแข็งในปาก มีขนาดที่แตกต่างกันไป อาจเป็นก้อนเดี่ยวหรือหลายก้อนรวมๆ กัน ทำให้มองดูคล้ายผิวมะกรูด

- Torus mandibularis ปุ่มกระดูกงอกบริเวณขากรรไกรล่าง พบบริเวณสันเหงือกด้านลิ้นของขากรรไกรล่าง สามารถพบได้ทั้งข้างซ้ายและข้างขวา โดยจะอยู่ถัดจากฟันเขี้ยวเข้าไปด้านหลัง

- Exostosis ปุ่มกระดูกผิวขรุขระ พบได้ในบริเวณเหงือกด้านชิดแก้มโดยรอบของขากรรไกร

เนื่องจากปุ่มกระดูกนี้ไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ ดังนั้น ผู้ป่วยจึงมักจะสังเกตเห็นหรือรู้สึกตัวเมื่อปุ่มกระดูกนั้นมีขนาดใหญ่พอสมควร ทำให้ผู้ป่วยเกิดความกังวล บางรายมาพบทันตแพทย์เพราะกลัวเป็นมะเร็งในช่องปาก แต่แท้จริงแล้ว ภาวะปุ่มกระดูกงอกนี้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด หากทำการตรวจด้วยภาพถ่ายรังสีก็จะพบว่าเป็นปุ่มหรือก้อนกระดูกงอกออกมาจากกระดูกปกติ ไม่พบรอยโรคหรือความผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย จึงไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา ยกเว้นบางกรณีมีข้อบ่งชี้ที่ต้องรับการรักษา คือ

1. ปุ่มกระดูกมีขนาดใหญ่มากจนขัดขวางการรับประทานอาหาร มีเศษอาหารติดบริเวณซอกของปุ่มกระดูก ยากแก่การทำความสะอาด ส่งผลต่อการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วย ทำให้เกิดการหมักหมมและการสะสมของแบคทีเรียในช่องปาก ก่อให้เกิดกลิ่นปาก หรือในผู้ป่วยบางรายทำให้เกิดปัญหาด้านการพูด

2. เนื้อเยื่อที่ปกคลุมบริเวณปุ่มกระดูกงอกเกิดเป็นแผลบ่อยครั้ง หรือเป็นแผลเรื้อรังจากการรับประทานอาหาร หรือการแปรงฟันไปกระแทกโดนบริเวณนั้นบ่อยๆ 3.ทันตแพทย์ใส่ฟันพิจารณาแล้วว่าปุ่มกระดูกงอกนั้นขัดขวางต่อการใส่ฟันปลอม เพราะโครงฐานของฟันปลอมต้องพาดผ่านส่วนที่มีปุ่มกระดูกงอกนี้ หากใส่ฟันปลอมทับปุ่มกระดูกไปเลย จะทำให้เกิดการกดทับ เจ็บ และเกิดแผลเรื้อรังได้

สำหรับวิธีการรักษา ได้แก่ การผ่าตัดเอาปุ่มกระดูกงอกออก ถือเป็นการผ่าตัดเล็ก โดยมากสามารถทำได้ด้วยการฉีดยาชาเฉพาะที่ แต่ภายหลังการผ่าตัดอาจเกิดปุ่มกระดูกงอกขึ้นใหม่อย่างช้าๆ เช่นเดิมได้ ดังนั้น ทันตแพทย์จึงพิจารณาผ่าตัดเฉพาะในผู้ป่วยรายที่มีข้อบ่งชี้เท่านั้น หากผู้ป่วยมีปุ่มกระดูกงอกและมีข้อสงสัยถึงความจำเป็นในการรักษา สามารถปรึกษาทันตแพทย์เพื่อรับการตรวจและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

https://www.thaihealth.or.th/Content/55510

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,744,136
Page Views2,009,307
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view