http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

แนะอ่านฉลาก GDA ก่อนซื้อ ลดเสี่ยงเบาหวาน

แนะอ่านฉลาก GDA ก่อนซื้อ ลดเสี่ยงเบาหวาน

14 พ.ย.ของทุกปีเป็นวันเบาหวานโลก แนะผู้บริโภคควรเช็คข้อมูลโภชนาการบนฉลาก GDA ศึกษาปริมาณความหวานมันเค็มก่อนซื้อ ควบคุมปริมาณน้ำตาลที่ร่างกายได้รับในแต่ละวัน เพื่อลดความเสี่ยงป่วยเป็นโรคเบาหวาน

นายแพทย์วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า 14 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันเบาหวานโลก ซึ่งโรคเบาหวานถูกจัดให้เป็นหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่คุกคามประชากรทั่วโลก อาการเบื้องต้นของโรคเบาหวาน เช่น ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย กินจุแต่น้ำหนักลด เป็นแผลหายยาก ชาปลายมือ ปลายเท้า ตาพร่ามัว ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่มักพบในผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ คือ การมีพฤติกรรมทางสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงเป็นประจำ โดยเฉพาะเครื่องดื่ม อาหารสำเร็จรูป และขนมขบเคี้ยว บริโภคผัก ผลไม้ น้อย รวมไปถึงขาดการออกกำลังกาย

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสุขภาพที่เกิดจากโรคเบาหวาน จึงได้รณรงค์ให้ประชาชนลดการบริโภคอาหารหวาน ส่งเสริมให้อ่านและใช้ประโยชน์จากข้อมูลบนฉลาก หวาน มัน เค็ม (GDA) เพื่อช่วยควบคุมพลังงาน ปริมาณน้ำตาล ไขมัน โซเดียม ที่จะได้รับจากการบริโภค นอกจากนี้ ยังช่วยในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมกับตนเอง เช่น ผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลหรือต้องการลดปริมาณน้ำตาล เพื่อลดความเสี่ยงของโรคเบาหวาน ควรเลือกบริโภคอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลน้อย

ทั้งนี้ บนฉลาก GDA ให้ข้อมูลที่สำคัญ ได้แก่ (1) จำนวนครั้งที่แนะนำให้บริโภค (ควรแบ่งรับประทาน) (2) ปริมาณของพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม ที่จะได้รับเมื่อบริโภคอาหาร ทั้งบรรจุภัณฑ์ (3) ปริมาณของพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมที่ได้รับ คิดเป็นร้อยละเท่าใดของปริมาณสูงสุดที่แนะนำให้บริโภคได้ต่อวัน การอ่านฉลาก หวาน มัน เค็ม ช่วยให้เราสามารถควบคุม การบริโภค หรือ เลี่ยงอาหาร หวาน มัน เค็ม ได้

รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า ขอแนะผู้บริโภคอ่านฉลาก หวาน มัน เค็ม โดยพิจารณาปริมาณน้ำตาลที่จะได้รับจากการรับประทานผลิตภัณฑ์อาหาร และควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค หันมารับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพิ่มการรับประทาน ผัก ผลไม้ที่หวานน้อย เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนที่ร่างกายต้องการ รวมทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อห่างไกลจากโรคเบาหวาน

https://www.thaihealth.or.th/Content/55551


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,744,182
Page Views2,009,353
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view