http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เนื้อวัว-นมวัว กินได้ ไม่ทำให้เลือดเป็นกรด

เนื้อวัว-นมวัว กินได้ ไม่ทำให้เลือดเป็นกรด

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ย้ำกินเนื้อวัว หรือนมวัวไม่เสี่ยงต่อการที่เลือดเป็นกรด สามารถกินได้ตามปกติ แต่ควรกินให้หลากหลาย รวมทั้งเพิ่มการออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง สามารถต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรียและไวรัสได้

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อออนไลน์ เกี่ยวกับประเด็นด้านสุขภาพเรื่องถ้าหากกินเนื้อวัวหรือนมวัวเป็นประจำ จะทำให้เลือดในร่างกายมนุษย์เป็นกรด  และช่วยให้เชื้อไวรัสโควิด-19 เจริญเติบโตได้เป็นอย่างดีนั้น เป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งความเป็นจริงแล้วความเป็น กรดด่างของเลือด ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงง่ายนักหรือเกิดจากการกินอาหารเพียงอย่างเดียว เนื่องจากระบบการทำงานของร่างกายจะมีกลไกการควบคุมอวัยวะให้ทำงานตามปกติ

ผู้บริโภคยังคงกินเนื้อวัวและนมวัวได้ แต่ต้องรู้จักสังเกตวิธีการเลือกซื้อเนื้อวัวที่สด สะอาด มีลักษณะสีแดงสด เนื้อแน่น ลายเส้นไม่หยาบ โดยให้ใช้นิ้วกดดู เนื้อจะยืดหยุ่น  ไม่มีรอยบุ๋ม รวมทั้งต้องไม่มีเม็ดสีขาวใสคล้ายเม็ดสาคู เพราะเป็นตัวอ่อนของพยาธิตัวตืด สำหรับเนื้อสัน ควรมีสีแดงสดและมีมันปรากฏอยู่เป็นจุดเล็ก ๆ ลักษณะของไขมันแตกง่ายกลิ่นของเนื้อวัวจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากเนื้อหมูไม่มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ไม่มีเมือก เมื่อวางไว้จะมีน้ำสีแดงออกมา เพื่อความปลอดภัยควรเลือกซื้อจากแหล่งที่มีการรับรองมาตรฐานตลาดสดน่าซื้อ หรือสังเกตจากตราประทับบนหนังสัตว์ที่ชำแหละจากโรงฆ่าสัตว์ที่ได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์ หรือร้านที่มีใบรับรองของฮาลาล และขณะเลือกซื้อเนื้อสัตว์ให้สวมถุงมือหรือใช้ที่คีบหยิบจับทุกครั้ง เพื่อไม่ให้มือสัมผัสกับเนื้อสัตว์โดยตรง

สำหรับการเลือกซื้อนมและผลิตภัณฑ์นมควรสังเกตวันหมดอายุ มีเครื่องหมาย อย.รับรองอย่างถูกต้อง และอ่านฉลากข้างผลิตภัณฑ์ว่ามีน้ำนมโคสดแท้กี่เปอร์เซ็นต์ โดยให้เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำนมโคสดแท้ที่เปอร์เซ็นต์สูง  จะได้รับสารอาหารจากนมมากกว่า ภาชนะบรรจุต้องมีสภาพไม่รั่ว ไม่ซึม ไม่บวม ไม่ฉีกขาด เลี่ยงการซื้อนมจากร้านค้า   ที่จำหน่ายแบบไม่เหมาะสม หรือเก็บในตู้แช่ หรือสถานที่เก็บที่ไม่ได้มาตรฐานเพราะอาจทำให้นมบูดได้ง่าย

ทั้งนี้ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อความปลอดภัย อาหารที่ปรุงประกอบจากเนื้อวัวควรปรุงสุกร้อน เช่น อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส นาน 5 นาทีขึ้นไป แต่หากกินไม่หมด ควรอุ่นร้อนเป็นระยะ ๆ และกินอาหารให้ครบ  5 หมู่ และหลากหลาย มีปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม ได้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน เพียงพอ นอกจากนี้ ควรจัดการสุขอนามัยส่วนบุคคลให้สะอาดอยู่เสมอ หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ร่วมกับการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะช่วยส่งเสริมให้ร่างกายมีภูมิต้านทานการต่อสู้เชื้อแบคทีเรียและไวรัสได้

https://www.thaihealth.or.th/Content/55186

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 06/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,711
Page Views2,012,900
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view