http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ตั้งโรงพยาบาลสนาม รองรับเด็กพิเศษและครอบครัว

ตั้งโรงพยาบาลสนาม รองรับเด็กพิเศษและครอบครัว

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบกับคนทุกกลุ่ม รวมไปถึงกลุ่มเด็กพิเศษ ดังนั้นเพื่อรองรับปัญหาหากติดโควิด-19 ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงเร่งจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม สำหรับเด็กพิเศษและครอบครัว

แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากรอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และองค์กรเอกชน ร่วมกันจัดตั้งโรงพยาบาลสนามราชานุกูล เพื่อเด็กพิเศษและครอบครัวขึ้น ภายในสถาบันราชานุกูล โดยใช้พื้นที่บริเวณโรงเรียนราชานุกูล 2 อาคาร เบื้องต้นสามารถรองรับผู้ป่วยได้จำนวน 100 เตียง ถือเป็นโรงพยาบาลสนามเฉพาะเด็กพิเศษ และครอบครัวแห่งแรกที่ติดเชื้อโควิดแต่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อยซึ่งจะให้การดูแลเด็กพิเศษอายุ 3-13 ปี พร้อมสมาชิกในครอบครัวที่อายุไม่เกิน 60 ปี

อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาด และการติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย รอบที่ 3 ว่า  มีเด็กและวัยรุ่นติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 14 ของผู้ติดเชื้อทั้งหมดในประเทศไทย สาเหตุมาจากรูปแบบการแพร่ระบาดเปลี่ยนจากคลัสเตอร์สถานบันเทิง คลัสเตอร์แรงงานมาเป็นการติดเชื้อภายในครอบครัวแทน โดยเฉพาะส่วนหนึ่งเป็นเด็กพิเศษ เมื่อเจ็บป่วยต้องได้รับความรักและความใส่ใจจากคนใกล้ชิด ร่วมกับทีมแพทย์คอยดูแล ดังนั้นโรงพยาบาลสนามแห่งนี้จึงมีความพิเศษที่จัดรูปแบบการรักษาใกล้เคียงกับบ้านให้มากที่สุดทั้งด้าน สิ่งแวดล้อมและผู้ที่เด็กคุ้นเคย

ด้านแพทย์หญิงมธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล กล่าวถึงความสำเร็จของการตั้งโรงพยาบาลสนามแห่งนี้ว่า   เป็นการประสานความร่วมมือหลายภาคส่วนประกอบด้วยกรุงเทพมหานคร สนับสนุนด้านอาคารสถานที่และ สิ่งแวดล้อมให้ได้มาตรฐานบับเบิลแอนด์ซีล (Bubble & Sealed) ภาคเอกชนสนับสนุนนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกระหว่างรักษาตัวในโรงพยาบาลสนาม อาทิ โปรแกรมแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ระบบกรองเชื้อระบายอากาศ เครื่องฆ่าเชื้อยูวีซี ประจำห้องเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อและฆ่าเชื้อ และโปรแกรมครอบครัวแห่งสติเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันทางใจ

ขณะที่กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทำหน้าที่ ในการประสานส่งต่อและให้ความช่วยเหลือด้านสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการ ในระหว่างที่เด็กพิเศษและครอบครัวพักรักษาตัว อยู่ในโรงพยาบาลสนามรวมทั้งแผนการให้ความช่วยเหลือและติดตามภายหลัง หายจากอาการป่วยและปลอดเชื้อโควิดเดินทางกลับสู่ชุมชน

กระทรวงสาธารณสุขโดยสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต เข้ามาดูแลผู้ติดเชื้อที่เป็นเด็กพิเศษร่วมกันกับสถาบันเด็กแห่งชาติ มหาราชินี และโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ที่ต้องการบริการแบบพิเศษด้วยการสนับสนุนทีมผู้ดูแลรักษามืออาชีพ ประกอบด้วย จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น กุมารแพทย์ อายุรแพทย์ พยาบาล ทีมสหวิชาชีพและเจ้าหน้าที่พร้อมปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ ทันสมัยเพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด เหมาะกับเด็กพิเศษและติดตามภาพถ่าย เอกซเรย์ปอดอย่างต่อเนื่องเพื่อเฝ้าระวัง อาการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาที่พักรักษาตัว รวมทั้งวางแผนการส่งต่อกรณีฉุกเฉิน

โรงพยาบาลสนามราชานุกูลเพื่อเด็กพิเศษและครอบครัวพร้อม เปิดให้บริการในวันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป ครอบครัวที่มี เด็กพิเศษ (สติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และบกพร่องการเรียนรู้) ที่ผลตรวจโควิดด้วย Antigen Test Kit เป็นบวกสามารถติดต่อสำหรับประสานส่งต่อเข้าโรงพยาบาลสนามฯ ได้ที่ 084-1078129, 065-8850584 และ 097-0780696

https://www.thaihealth.or.th/Content/55152


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 06/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,748,003
Page Views2,013,192
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view