http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

แนะงดทานสุก ๆ ดิบ ๆ เสี่ยงป่วยโรคหูดับ

แนะงดทานสุก ๆ ดิบ ๆ เสี่ยงป่วยโรคหูดับ

“จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้หูดับในประเทศไทย ตั้งแต่ 1 ม.ค. - 22 มี.ค. 64 มีรายงานผู้ป่วยทั้งหมด 46 ราย เสียชีวิต 3 ราย กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยสูงสุด คือ กลุ่มผู้สูงอายุและวัยทำงาน ได้แก่ อายุ 55-64 ปี รองลงมาคือ อายุมากกว่า 65 ปี และอายุ 45-54 ปี ภาคที่พบผู้ป่วยมากที่สุดคือภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจังหวัดที่พบผู้ป่วยมากที่สุดคือ ลำปาง จันทบุรี และพิจิตร ตามลำดับ”

“การพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพของสัปดาห์นี้ คาดว่าในช่วงนี้มีโอกาสจะพบผู้ป่วยโรคไข้หูดับเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจัยแวดล้อมและวัฒนธรรมการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะงานเลี้ยงในช่วงเทศกาลต่างๆ จึงขอเตือนให้ประชาชนระมัดระวังการป่วยด้วยโรคไข้หูดับ โดยเฉพาะในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งผู้ที่มีโอกาสติดเชื้อโรคไข้หูดับ ได้แก่ ผู้ที่สัมผัสกับหมูที่ติดโรคโดยตรง เช่น ผู้เลี้ยงสัตว์ คนทำงานในโรงฆ่าสัตว์ ผู้จำหน่ายเนื้อสัตว์ คนชำแหละเนื้อหมู และผู้ที่รับประทานเนื้อหมูดิบ เป็นต้น  นอกจากนี้ กลุ่มเสี่ยงที่เมื่อได้รับเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง ผู้มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไต มะเร็ง หัวใจ เป็นต้น

โรคไข้หูดับ ติดต่อผ่านทางบาดแผล รอยถลอก และทางเยื่อบุตา จากการรับประทานเนื้อหมูดิบ ปรุงไม่สุกหรือเลือดหมูดิบ โดยจะเริ่มมีอาการหลังได้รับเชื้อไม่กี่ชั่วโมงถึง 5 วัน จะมีไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง เวียนศีรษะจนทรงตัวไม่ได้ อาเจียน ถ่ายเหลว คอแข็ง ผู้ป่วยส่วนใหญ่สูญเสียการได้ยิน ถึงขั้นหูหนวกถาวร ข้ออักเสบ เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังติดเชื้อ รุนแรงถึงติดเชื้อในกระแสเลือดจนเสียชีวิตได้ 

กรมควบคุมโรค จึงขอแนะนำวิธีป้องกันโรคไข้หูดับ คือ 1.ผู้ที่เลี้ยงสุกร ควรใส่รองเท้าและถุงมือทุกครั้งเมื่อเข้าไปทำงานในคอกสุกร ล้างมือทุกครั้งหลังสัมผัสสุกร และหลีกเลี่ยงการจับซากสุกรที่ตายด้วยมือเปล่า 2.ผู้ที่ทำงานในโรงงานฆ่าสัตว์ ควรสวมใส่เสื้อและกางเกงที่ปกปิดมิดชิด ใส่รองเท้าบู๊ทและถุงมือ เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสุกรโดยตรง และไม่หยิบจับอาหารเข้าปากขณะปฏิบัติงาน 3.ผู้จำหน่ายเนื้อสัตว์ ควรจำหน่ายเนื้อหมูที่มาจากโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐาน ทำความสะอาดแผงด้วยนํ้ายาฆ่าเชื้อทุกวันหลังเลิกขาย และเก็บเนื้อหมูที่จะขายในอุณหภูมิที่ตํ่ากว่า 10°C 4.ผู้บริโภคควรรับประทานหมูที่ปรุงสุกเท่านั้น และเลือกซื้อเนื้อหมูที่ไม่มีกลิ่นคาวหรือสีคล้ำ ล้างมือด้วยน้ำสบู่ทุกครั้งหลังสัมผัสกับเนื้อหมู

ทั้งนี้ หากมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง เวียนศีรษะจนทรงตัวไม่ได้ อาเจียน คอแข็ง หูหนวก ท้องเสีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หลังสัมผัสหมูที่ป่วยหรือรับประทานอาหารที่ปรุงมาจากเนื้อหมูไม่สุก ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีและแจ้งประวัติการรับประทานหมูดิบให้แพทย์ทราบ เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยลดอัตราการหูหนวกและการเสียชีวิตได้

https://www.thaihealth.or.th/Content/54391


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,744,184
Page Views2,009,355
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view