http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

แนะบริการทางไกลผู้ป่วย Telemedicine

แนะบริการทางไกลผู้ป่วย Telemedicine

สปสช. แนะบริการทางไกลผู้ป่วยบัตรทอง Telemedicine ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อทั้งระหว่างการเดินทางหรือการติดเชื้อจากผู้ป่วยด้วยกันเองที่โรงพยาบาล

นพ.จักรกริช โง้วศิริ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ปีงบประมาณ 2564 หนึ่งในรูปแบบบริการที่ สปสช.ได้พัฒนาการจ่ายเงินชดเชยค่าบริการเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเว้นระยะห่างทางกาย ลดการเดินทางและลดความแออัดในโรงพยาบาล คือ บริการสาธารณสุขระบบทางไกล (Telehealth/Telemedicine)

ขณะนี้เริ่มนำร่องให้บริการระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 มีโรงพยาบาลที่มีความพร้อม และสมัครใจเข้าร่วมโครงการขณะนี้ 15 แห่ง ประกอบด้วย โรงพยาบาล (รพ.) ศิริราช รพ.รามาธิบดี รพ.ราชวิถี รพ.ประสาทวิทยา สถาบันมะเร็งแห่งชาติ รพ.กลาง รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ รพ.ตากสิน รพ.หลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ รพ.ราชพิพัฒน์ รพ.สิรินธร รพ.เวชการุณย์รัศมิ์ รพ.ลาดกระบัง รพ.มะเร็งลำปาง และ รพ.ผู้สูงอายุบางขุนเทียน ตลอดจนโรงพยาบาลอื่นๆ ที่มีความพร้อมในเขตสุขภาพที่ 1-12 ประกอบกับในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมาเกิดการระบาดรอบใหม่ ทำให้ระบบดังกล่าวเป็นทางเลือกช่วยสนับสนุนให้มาตรการควบคุมโรคมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ดังนั้น ขอแนะนำให้ผู้ป่วยใช้สิทธิบัตรทองติดต่อสอบถามโรงพยาบาลที่ตนรับบริการ เพื่อสอบถามข้อมูล หรือแสดงความจำนงเข้ารับบริการสาธารณสุขระบบทางไกลได้ตามต้องการ

"ในส่วนของการบริการสาธารณสุขระบบทางไกล (Telehealth/Telemedicine) นี้ เราเน้นกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายเก่าในหน่วยบริการที่มีอาการคงที่ สามารถควบคุมโรคได้ดี แพทย์สามารถตรวจรักษาผ่านระบบทางไกลได้ ไม่จำเป็นต้องเดินทางมาหาถึงโรงพยาบาล ยิ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นกลุ่มอ่อนไหวจะติดเชื้อโควิด-19 ได้ง่าย การรับบริการผ่านระบบ Telehealth/Telemedicine จะช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องเดินทาง ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อทั้งระหว่างการเดินทางหรือการติดเชื้อจากผู้ป่วยด้วยกันเองที่โรงพยาบาล

ขณะเดียวกัน ยังช่วยลดความแออัด ทำให้การรักษาระยะห่างในพื้นที่โรงพยาบาลมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย" นพ.จักรกริชกล่าว และว่า ส่วนของโรงพยาบาลที่ยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการและมีความสนใจที่จะให้บริการ Telehealth/Telemedicine สปสช.มีแผนในระยะ 2 จะเพิ่มจำนวนหน่วยบริการให้มากขึ้น สปสช.กำหนดอัตราจ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขไว้ที่ 30 บาทต่อครั้ง จะตัดข้อมูลทุกสิ้นเดือนและหน่วยบริการจะได้รับการโอนเงินภายใน 30 วัน หลัง ตัดข้อมูล

https://www.thaihealth.or.th/Content/53846

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 06/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,748,002
Page Views2,013,191
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view