http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ห่วงใช้ยาปฏิชีวนะ เกินจำเป็น

ห่วงใช้ยาปฏิชีวนะ เกินจำเป็น

ยาปฏิชีวนะ หากใช้ไม่เหมาะสม อาจเกิดอาการข้างเคียงตั้งแต่เล็กน้อย จนถึงอาการรุนแรง นอกจากนี้การใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ ทำให้เกิดเชื้อโรคดื้อยา ยากต่อการรักษา

นพ.สุขสันต์ กิตติศุภกร ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กล่าวว่า   องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศ World Antibiotic Awareness Week ระหว่างวันที่ 18-24 พฤศจิกายน 2563 เพื่อสนับสนุนประชาคมโลกเล็งเห็นถึงความสำคัญของการรณรงค์ เรื่องการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในระดับโลก และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาเชื้อดื้อยา ลดปัญหาการเกิดและการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา รวมทั้งสนับสนุนการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในประเทศต่างๆ ทั่วโลก

ในส่วนกรุงเทพมหานครได้กำหนดนโยบายให้ 11 โรงพยาบาลในสังกัด ส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผล ลดปัญหาการเกิดเชื้อดื้อยามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) เป็นยาใช้รักษาโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีหลายชนิด เช่น เพนิซิลลิน อะม็อกซีซิลลิน ร็อกซิโทรมัยซินเตตราไซคลิน นอร์ฟล็อกซาซิน เป็นต้น

แต่ละชนิดใช้รักษาเชื้อแบคทีเรียได้ต่างชนิดกัน ยาปฏิชีวนะต้องใช้เฉพาะเมื่อมีอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น และต้องตรงกับเชื้อที่เป็นสาเหตุ คนไทยทั่วไปมักเรียกยาปฏิชีวนะว่า “ยาแก้อักเสบ” ซึ่งเป็นการเรียกที่ไม่ถูกต้องจนทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า ทุกครั้งที่มีอาการอักเสบไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ต้องใช้ยาปฏิชีวนะรักษาทั้งหมด ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด

นพ.สุขสันต์ แนะโรคที่มักพบได้บ่อย โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ 1.โรคหวัด หลายคนเข้าใจผิดว่า ต้องกินยาปฏิชีวนะ การติดเชื้อที่คอส่วนใหญ่ ร้อยละ 85 ไม่ได้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียแต่เกิดจากเชื้อไวรัส ยาปฏิชีวนะไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัส การรักษาเป็นไปตามอาการ 2.ท้องเสีย ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ การรักษา โดยการดื่มน้ำเกลือแร่ เพื่อทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่เสียไป รับประทานอาหารอ่อนๆ เช่น โจ๊กหรือข้าวต้ม งดอาหารรสจัดย่อยยาก

3.แผลเลือดออก เช่น แผลมีดบาด ถ้าแผลไม่สัมผัสสิ่งสกปรก แผลขอบเรียบ และผู้ป่วยมีสุขภาพแข็งแรงดี ไม่เป็นเบาหวาน ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะเมื่อใดที่แพทย์สั่งให้ใช้ยาปฏิชีวนะ ต้องกินให้ครบตามขนาดและตามกำหนดอย่างเคร่งครัด อย่าแบ่งให้ผู้อื่นเพราะจะทำให้กินยาไม่ครบ อย่าเก็บยาไว้กินครั้งต่อไป เพราะยาอาจหมดอายุหรือเราอาจเป็นเชื้อชนิดอื่นที่ไม่สามารถใช้ยานี้รักษาได้

หากใช้ยาปฏิชีวนะไม่เหมาะสม อาจเกิดอาการข้างเคียงตั้งแต่เล็กน้อย คลื่นไส้อาเจียน จนถึงอาการรุนแรง ตับอักเสบหรืออาจเกิดการแพ้ยา จนทำให้เสียชีวิตได้ นอกจากนี้การใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ ทำให้เกิดเชื้อดื้อยา ทำให้ต้องเปลี่ยนยาไปเรื่อยๆ จนไม่สามารถหายาอะไรรักษาและเสียชีวิตในที่สุด

https://www.thaihealth.or.th/Content/53498

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,744,089
Page Views2,009,259
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view