http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

อย. ชี้แจงกฎกระทรวงการอนุญาตจำหน่ายหรือครอบครอง ยาเสพติด

อย. ชี้แจงกฎกระทรวงการอนุญาตจำหน่ายหรือครอบครอง ยาเสพติดให้โทษประเภท 2 เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์เท่านั้น

อย. ชี้แจงกฎกระทรวงการอนุญาตจำหน่ายหรือครอบครองยาเสพติดให้โทษประเภท 2 เป็นการปรับปรุงกฎหมายเดิมที่มีอยู่ให้ทันสมัยขึ้น เพิ่มช่องทางการยื่นคำขอทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ ผู้มีสิทธิขออนุญาตต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น เช่น ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม สัตวแพทย์ หรือเภสัชกร และจะต้องมีวัตถุประสงค์การนำไปใช้ประโยชน์ที่ชัดเจน ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถจำหน่ายหรือครอบครองยาเสพติดได้ ย้ำ กฎกระทรวงฯ ฉบับนี้ยังคงควบคุมอย่างเข้มงวด ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดทำรายงานและถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวด เพื่อไม่ให้เกิดการรั่วไหล ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม หากฝ่าฝืนจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย

           ภญ. สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลของกฎกระทรวงการอนุญาตจำหน่ายหรือมีไว้ในครองครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 พ.ศ. 2563 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 และมีการตีความในข้อกฎหมายที่คลาดเคลื่อนนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอเรียนว่า การออกกฎหมายอนุญาตให้ผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือครอบครองยาเสพติดให้โทษใด ๆ ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์เท่านั้น ซึ่งกฎกระทรวงดังกล่าวออกมาเพื่อปรับปรุงกฎกระทรวงฉบับเดิมที่ใช้บังคับมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 ให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เช่น เพิ่มช่องการทางยื่นคำขออนุญาตทางอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มช่องทางการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เพื่อใช้เป็นสารมาตรฐานในห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้ ประเทศไทยมีการใช้

            ยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ทางการแพทย์เป็นจำนวนมาก โดยใช้ระงับปวด เช่น มอร์ฟีน เฟนทานิล ใช้เป็นส่วนผสมของยาแก้ไอ เช่น โคเดอีน หรือใช้บำบัดผู้ติดเฮโรอีน เช่น เมทาโดน เป็นต้น ซึ่ง อย. เป็นผู้จำหน่ายยาเสพติดทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ให้แก่สถานพยาบาล หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตแต่เพียงผู้เดียว โดยผู้มีสิทธิขออนุญาตต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น เช่น เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม สัตวแพทย์ หรือเภสัชกร สถาบันการศึกษา ห้องปฏิบัติการ ผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศ กระทรวง ทบวง กรม และจะต้องมีวัตถุประสงค์การนำไปใช้ประโยชน์ที่ชัดเจน เช่น ใช้รักษาผู้ป่วย ใช้ในการผลิตยารักษาโรค ใช้ในการศึกษา วิจัย ใช้ตรวจพิสูจน์ของกลางยาเสพติด เป็นต้น

            รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า ขอย้ำว่า กฎกระทรวงฯ ฉบับดังกล่าวยังคงสาระสำคัญในการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์เท่านั้น โดยกำหนดมาตรการควบคุมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการรั่วไหล ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องจัดทำรายงานและถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวด หากฝ่าฝืนจะถูกดำเนินการตามกฎหมายจนถึงที่สุด

https://oryor.com/%E0%B8%AD%E0%B8%A2/detail/media_news/1921

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,743,869
Page Views2,009,035
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view