http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

นวัตกรรมยาใหม่ รักษามะเร็งตับ

นวัตกรรมยาใหม่ รักษามะเร็งตับ

โรคมะเร็งตับ” ถือเป็นวิกฤติทางสุขภาพอันดับต้น ๆ ของไทยและทั่วโลก คร่าชีวิตประชากรไทยเป็นอันดับ 1 มากกว่า 23,000 คนต่อปี นั่นคือในทุก ๆ ชั่วโมงจะมีคนไทยเสียชีวิตจากมะเร็งตับ 2.6 คน ซึ่งตัวเลขนี้ยังคงมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุก ๆ ปี

ทั้งนี้ โดยส่วนใหญ่พบในเพศชายสูงกว่าเพศหญิงถึง  2.3  เท่า   สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งตับในคนไทยคือ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบทั้งชนิด บี และ ซี2   และอาจเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงอื่น ๆ เช่น การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงจนเกิดภาวะไขมันพอกตับ การดื่มแอลกอฮอล์เกินปริมาณที่เหมาะสมและการบริโภคอาหารที่ไม่ปรุงสุก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ถึงแม้โรคนี้จะทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิต แต่ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าของนวัตกรรมของยา และการรักษาโรคมะเร็งตับ ซึ่งจะสามารถช่วยชะลอการลุกลามของโรคและเพิ่มอัตราการรอดชีวิตโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยได้มากขึ้น

ผศ.นพ.สืบพงศ์ ธนสารวิมล อาจารย์ประจำสาขาวิชาโรคมะเร็ง ภาควิชามะเร็งวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   กล่าวว่า มะเร็งตับชนิดที่พบได้บ่อย คือมะเร็งที่เซลล์ตับ(Hepatocellular carcinoma) ในปัจจุบันวิธีการรักษามะเร็งชนิดนี้ในคนไข้ที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ที่นิยมกัน ได้แก่ การให้ยาเคมีบำบัดทั้งทางหลอดเลือด และการให้ยาเคมีบำบัดที่ก้อนมะเร็งโดยตรง การฉายแสง รวมถึงการใช้ยามุ่งเป้าเพื่อเพิ่มความเฉพาะเจาะจงในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับ ที่เป็นยายับยั้งไทโรซีนไคเนส (Tyrosine kinase inhibitor) ในรูปแบบยาเม็ดสำหรับรับประทาน ในปัจจุบันทางการแพทย์ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อหาวิธีการรักษาที่ดีขึ้น เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต และยืดอายุของคนไข้

แม้โรคมะเร็งตับจะมีอัตราการเสียชีวิตสูง แต่หากได้รับการวินิจฉัยอย่างทันท่วงที ก็สามารถช่วยยับยั้งการลุกลามของโรคและยืดอายุคนไข้ให้นานยิ่งขึ้นได้ สำหรับคนไข้ที่เป็นมะเร็งที่เซลล์ตับ (Hepatocellular carcinoma) และไม่สามารถผ่าตัดได้ ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของประเทศไทย ได้อนุมัตินวัตกรรมยารักษามะเร็งตับแบบใหม่ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยนวัตกรรมยาใหม่นี้นับเป็นครั้งแรกในรอบกว่าทศวรรษ ที่ทางการแพทย์พิสูจน์แล้วว่าช่วยเพิ่มอัตราการรอดของผู้ป่วยได้อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับยายับยั้งไทโรซีนไคเนส (Tyrosine kinase inhibitor)ในรูปแบบยาเม็ดสำหรับรับประทานที่มีอยู่เดิม

นวัตกรรมยาที่ใช้รักษาแบบใหม่ที่กล่าวถึงนี้ คือ การใช้ยากลุ่มภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) ร่วมกับ ยาต้านการสร้างหลอดเลือดที่คอยให้อาหารแก่ก้อนมะเร็ง (Anti-angiogenesis) ซึ่งยาทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ โดยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์บ่งชี้ว่าการใช้ยาทั้ง 2 ชนิด มีผลในการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายในการต่อสู้กับมะเร็ง โดยยากลุ่มภูมิคุ้มกันบำบัดจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายกำจัดเซลล์มะเร็งได้ดียิ่งขึ้น และยาต้านการสร้างหลอดเลือดจะลดปริมาณหลอดเลือดซึ่งเป็นเส้นทางลำเลียงอาหารไปยังเซลล์มะเร็ง มีผลทำให้เซลล์มะเร็งไม่สามารถเจริญเติบโตได้ โดยสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตโดยเฉลี่ยและช่วยควบคุมโรคไม่ให้ลุกลามได้ สูงขึ้นถึง 42% และ 41%  ตามลำดับ เมื่อเทียบกับยายับยั้งไทโรซีนไคเนส (Tyrosine kinase inhibitor)6 ซึ่งการใช้ยาดังกล่าวขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา รวมถึงต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดเพื่อความเหมาะสมและปลอดภัยกับผู้ป่วยมากที่สุด

รศ.นพ. เอกภพ สิระชัยนันท์ นายกมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย (Thai Society of Clinical Oncology: TSCO) กล่าวว่า จากข้อมูลประสิทธิภาพของการใช้ยากลุ่มภูมิคุ้มกันบำบัด(Immunotherapy) ร่วมกับยาต้านการสร้างหลอดเลือด (Anti-angiogenesis) เพื่อการรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับที่ออกมานั้น ถือเป็นข่าวดีที่จะช่วยเพิ่มทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งตับให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และการทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้ต่อไปนั้น ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยในอนาคต

https://www.thaihealth.or.th/Content/53223

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 06/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,903
Page Views2,013,092
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view