http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เตรียมความพร้อมห้องปฏิบัติการ SARS-CoV-2 รับมือตรวจโควิด-19 ในน้ำลาย

เตรียมความพร้อมห้องปฏิบัติการ SARS-CoV-2 รับมือตรวจโควิด-19 ในน้ำลาย

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 ร่วมกับเขตสุขภาพที่ 5 โรงพยาบาลนครปฐม ประชุมเตรียมความพร้อมตรวจโควิด-19 ในตัวอย่างน้ำลาย เพื่อขยายศักยภาพห้องปฏิบัติการเครือข่าย SARSCoV-2 เขตสุขภาพที่ 5 ทั้งภาครัฐและเอกชน 14 แห่ง ให้สามารถตรวจคัดกรองโควิด-19 ด้วยวิธี Real-time RT-PCR จากตัวอย่างน้ำลายได้

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมด้วยแพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 5 ร่วมพิธีเปิดการประชุมการตรวจสารพันธุกรรมไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยวิธี Real-time RT-PCR จากตัวอย่างน้ำลาย ทั้งนี้ภายหลังเปิดการประชุม นายแพทย์โอภาส เปิดเผยว่า ในการค้นหาผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วิธีการเก็บตัวอย่างที่เป็นวิธีมาตรฐานที่ยอมรับว่ามีโอกาสพบเชื้อสูงสุดในการค้นหาผู้ติดเชื้อและผู้ป่วย คือการเก็บตัวอย่างจากระบบหายใจส่วนบน และทางเดินหายใจส่วนล่าง แต่วิธีดังกล่าวมีความเสี่ยงกับบุคลากรทางการแพทย์ และไม่สะดวกในการเก็บตัวอย่างกับกลุ่มคนจำนวนมาก และมีอุปสรรคมากขึ้น หากดำเนินการกับกลุ่มคนที่ต้องเข้าไปค้นหาเชิงรุก เช่น กลุ่มแรงงานต่างด้าว

ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุข จึงได้มอบหมายให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พัฒนาการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในกรณีที่ต้องตรวจคัดกรองคนจำนวนมาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงได้พัฒนาวิธีการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากน้ำลาย แบบรวมตัวอย่างน้ำลาย จำนวน 5-6 คน ต่อการทดสอบ 1 ตัวอย่าง ทำให้มีความคุ้มค่าและเกิดผลลบลวงน้อยที่สุด เพื่อใช้เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในประชากรกลุ่มเสี่ยงที่ต้องคัดกรองคนจำนวนมาก

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่ออีกว่า การใช้ตัวอย่างน้ำลายในการตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 เชิงรุก ช่วยลดความเสี่ยงของบุคลากรทางการแพทย์จากการติดเชื้อ เนื่องจากสังคม-สตรี 3ผู้ป่วยสามารถเก็บตัวอย่างได้เอง และอุปกรณ์ในการเก็บหาง่าย ราคาไม่แพง ลดค่าใช้จ่ายในการค้นหาผู้ติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งวิธีนี้นำไปใช้กับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 14 แห่ง ในการค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกจากกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มแรงงานต่างด้าวทั่วประเทศแล้วมากกว่า 1 แสนราย ทำให้มีแนวความคิดที่จะถ่ายทอดวิธีตรวจนี้ให้แก่ห้องปฏิบัติการเครือข่าย SARSCoV-2 ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์นำไปใช้งานได้

โดยนำร่องในเขตสุขภาพที่ 5 เป็นเขตแรก เนื่องจากเป็นเขตที่มีแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก หลังจากถ่ายทอดวิธีให้แก่ห้องปฏิบัติการเครือข่ายแล้ว กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะจัดส่งตัวอย่างทดสอบความชำนาญการตรวจหาไวรัสโคโรนา 2019 จากตัวอย่างน้ำลายแบบรวมตัวอย่าง ทั้งนี้หากห้องปฏิบัติการที่ดำเนินการผ่านทั้ง 2 ขั้นตอนแล้ว สามารถนำวิธีการตรวจจากน้ำลาย ไปใช้ในการค้นหาผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระบบการสอบสวนโรคในจังหวัดได้ต่อไป

https://www.thaihealth.or.th/Content/52945-%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%20SARS-CoV-2%20%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%94-19%20%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,744,144
Page Views2,009,315
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view