http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ตั้งเป้าตรวจโควิด-19 เชิงรุกทั่วประเทศ 1 แสนราย ภายใน มิ.ย.นี้

ตั้งเป้าตรวจโควิด-19 เชิงรุกทั่วประเทศ 1 แสนราย ภายใน มิ.ย.นี้

เน้นเชิงรุกตั้งเป้าตรวจโควิด-19 ทั่วประเทศ 1 แสนราย ภายใน มิ.ย.นี้

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ดำเนินการทางห้องปฏิบัติการอย่างเข้มข้น โดยแบ่งกลุ่มในการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกคือกลุ่มผู้ที่เข้าข่ายสอบสวนโรค กลุ่มที่ 2 คือผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ และกลุ่มที่ 3 คือการค้นหาเชิงรุก โดยเบื้องต้นต้องตรวจอย่างน้อย 100,000 ตัวอย่าง ภายในเดือนมิถุนายน 2563 นี้

ที่ผ่านมาได้ดำเนินการไปแล้วบางส่วนในหลายจังหวัด เช่น นครราชสีมา สุราษฏร์ธานี ปัตตานี เป็นต้น คาดว่าจะใช้เวลาไม่นานเพราะทำพร้อมกัน และมีห้องปฏิบัติการครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งฐานข้อมูลที่ได้จะนำไปสู่การจับสัญญาณการระบาดของโรคได้

สำหรับการเฝ้าระวังเชิงรุกจะประเมินอยู่ 2 อย่าง อย่างแรกคือประชาชนกลุ่มเสี่ยง คือผู้ที่ทำงานต้องสัมผัสกับบุคคลจำนวนมากหรือทำงานในที่สาธารณะมีโอกาสที่จะพบผู้ป่วยมาก เช่น บุคลากรสาธารณสุข คนที่ขับรถสาธารณะ เป็นต้น และสถานที่ที่มีการรวมคนกันอยู่อย่างหนาแน่นและทำเรื่องเว้นระยะห่างหรือ Social Distancing ได้ยาก เช่น แรงงานที่อยู่กันอย่างแออัดในบางกลุ่ม อย่างเช่น ที่จังหวัดสมุทรสาคร หรือบางกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้ต้องหาซึ่งได้ร่วมมือกับกรมราชทัณฑ์ เป็นต้น

ซึ่งกลไกสำคัญในการเฝ้าระวังเชิงรุกคือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ทางส่วนกลางจะให้นโยบายว่าจะตรวจกลุ่มไหน สถานที่ไหน และทางคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด จะพิจารณาจากข้อมูลของจังหวัดว่าพื้นที่ไหนและกลุ่มไหนเป็นกลุ่มเสี่ยง ซึ่งเป็นข้อดีทำให้พื้นที่สามารถปรับนโยบาย นำไปสู่ภาคปฏิบัติของตนเองและกำหนดออกมาว่าจะตรวจกี่คน

“สำหรับกรณีผลตรวจไม่ตรงกัน สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นตัวเลข เป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ การแปลผลต้องร่วมกับอาการผู้ป่วย ร่วมกับข้อมูลทางระบาดวิทยา ที่ผ่านมาแล็ปที่เป็นแล็ปอ้างอิง เช่น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บางครั้งผลการทดสอบก็รายงานไม่ตรงกันพอไม่ตรงกันก็จะมีการตรวจซ้ำมีการตรวจสอบจนผลออกมาได้ตรงกัน ผู้ที่เอาไปใช้ก็สามารถเอาไปใช้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ในการวินิจฉัยโรค ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางระบาดวิทยา เพื่อไปสอบสวนสวนโรค ควบคุมโรค ซึ่งตอนนี้ประเทศไทยตรวจไปแล้วกว่า 400,000 ตัวอย่าง ทำให้ประเทศไทยเราสามารถควบคุมโรคและควบคุมการระบาดของโรคได้เป็นอย่างดี” นพ.โอภาส กล่าว

https://www.thaihealth.or.th/Content/52444-ตั้งเป้าตรวจโควิด-19%20เชิงรุกทั่วประเทศ%201%20แสนราย%20ภายใน%20มิ.ย.นี้.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,746,856
Page Views2,012,040
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view